20 พ.ย.2566-น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล โพสต์เฟซบุ๊ก Sirikanya Tansakun – ศิริกัญญา ตันสกุล เรื่อง “GDP ไตรมาส 3 โต 1.5% วิกฤตรึยัง?” ระบุว่า คงต้องย้ำอีกครั้งว่า เราจะไม่ต้องมาเถียงเรื่อง “วิกฤต” หรือ “ไม่วิกฤต” กันเลย ถ้ารัฐบาลไม่เลือกใช้วิธีการ “ออก พ.ร.บ. กู้เงิน 5 แสนล้านบาท” เพื่อมาทำโครงการดิจิทัลวอลเล็ต เพราะการที่จะออก พ.ร.บ. เงินกู้ได้นั้น รัฐบาลจำเป็นต้องพิสูจน์ให้ได้โดยชัดเจนว่า ตอนนี้มี “ความจำเป็น เร่งด่วน เพื่อแก้วิกฤตอย่างต่อเนื่อง และตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีไม่ทัน” จริงหรือไม่
ไม่มีใครเถียงว่าเศรษฐกิจไทยแย่ เศรษฐกิจไทยโตช้า และโตต่ำกว่าที่คาด ดิฉันเองก็เห็นด้วยและพูดเรื่องนี้มาโดยตลอด แต่คำถามที่คาใจใครหลาย ๆ คนในตอนนี้คือ สรุปแล้วเศรษฐกิจไทย “วิกฤต” รึยัง?
วันนี้มีตัวเลขออกมาจากสภาพัฒน์ฯ ว่า GDP ไทยในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ โตขึ้น 1.5% เมื่อเทียบกับปีก่อน ต้องอธิบายก่อนว่า ตัวเลข GDP นั้น วัดได้จากทั้งฝั่งรายจ่าย (expenditure) และฝั่งการผลิต (production) ซึ่งตัวเลขรวมจะต้องตรงกัน
ฝั่งการผลิตอธิบายได้อย่างตรงไปตรงมา ก็คือภาคอุตสาหกรรม (เป็น sector ที่ใหญ่ที่สุด) เกิดหดตัวลง -4% เลยดึงใน GDP ของไทยโตต่ำ ที่ติดลบหนักที่สุดคืออุตสาหกรรม “เพื่อการส่งออก” โดยเฉพาะ Hard Disk Drive และชิ้นส่วนแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนภาคบริการขยายตัวได้ดีมาก ในด้านที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว โรงแรม และร้านอาหาร โตขึ้นถึง 14.9% การค้าปลีกและค้าส่งขยายตัว 3.3% ขนส่งโต 6.8%
ส่วนฝั่งรายจ่ายที่เราคุ้นเคย คำนวณได้ตามสูตร C+I+G+X-M (การบริโภคภาคเอกชน + การลงทุนภาคเอกชน + การใช้จ่ายภาครัฐ + การส่งออก – การนำเข้า) จากตัวเลขวันนี้ เราจะเห็นว่าตัวเลขภาคเอกชนโตขึ้นถึง “8.1%” การลงทุนภาคเอกชนโต 3.1% แต่ stock สินค้าก็ลดลงมาก แสดงว่ายังไม่ได้มีการผลิตเพิ่ม ซึ่งสอดคล้องกับฝั่งการผลิตที่ภาคอุตสาหกรรมหดตัว ภาครัฐหดตัวลงทั้งการบริโภค -4.9% เมื่อเทียบกับปีก่อน (จากการที่ปีก่อนมีการเบิกค่ารักษาโควิด แต่ปีนี้ไม่มี จึงหดตัว) การลงทุนภาครัฐก็หดตัว -2.6% และถึงแม้การส่งออกสินค้าจะหดตัวตามคาดที่ -3.1% แต่การส่งออกภาคบริการกลับโตถึง 23% ส่วนการนำเข้าก็หดตัวแรงที่ -10.2%
สรุปก็คือ ปัญหาของเศรษฐกิจไทยเป็นเรื่องของการส่งออกที่หดตัวตามเศรษฐกิจโลก การลงทุนของรัฐที่หดตัวลง และการลงทุนภาคเอกชนที่ถึงแม้จะโตขึ้น แต่ก็ถือว่าโตน้อยเมื่อเทียบกับการเติบโตของปีก่อน ไม่ใช่ “วิกฤตเศรษฐกิจ” อย่างที่รัฐบาลพยายามประโคมข่าว (ซึ่งก็แปลกดี เพราะไม่เคยเห็นรัฐบาลของประเทศไหนอยากจะให้เกิดวิกฤตขึ้นในประเทศ หรือมีท่าทีดีใจที่เห็น GDP โตต่ำ)
คำถามคือ เมื่อรัฐบาลมองเห็นปัญหาของเศรษฐกิจไทยผ่าน data เหล่านี้แล้ว รัฐบาลจะยังคงฝืนกระตุ้นภาคการบริโภคผ่านโครงการดิจิทัลวอลเล็ตอยู่หรือไม่ ทั้ง ๆ ที่ก็เห็นกันอยู่ว่าภาคการบริโภค โตกว่า 8%
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'นพดล' ฟังทางนี้! 'หมอวรงค์' จับโป๊ะ คำชี้แจง 'MOU 44'
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานพรรคไทยภักดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ "ถึงนพดล ปัทมะ" โดยระบุว่า คำพูดของนายนพดล ปัทมะ ที่ชี้แจงพันธมิตรฯ เรื่อง MOU 44
สั่ง สคบ. คุมเข้มกระเช้าปีใหม่ 'ตรงปก-สินค้าครบ-ราคาชัด'
'จิราพร' สั่ง สคบ. คุมเข้มกระเช้าของขวัญปีใหม่ ต้องตรงปกสินค้าครบราคาชัด ตัดตอนผู้ประกอบการเอาเปรียบผู้บริโภค
'นายกฯอิ๊งค์' มอบคำขวัญวันเด็ก ปี 68 'ทุกโอกาสคือการเรียนรู้'
'นายกฯอิ๊งค์' มอบคำขวัญวันเด็กประจำปี 68 ‘ทุกโอกาสคือการเรียนรู้ พร้อมปรับตัวสู่อนาคตที่เลือกเอง‘ ยันรัฐบาลเห็นคุณค่าเด็กทุกคน มีสิทธิ์ทำให้ประเทศนี้น่าอยู่
กมธ.คุ้มครองผู้บริโภครับลูกเร่งผลักดัน 3 กม.ของภาคประชาชน
'กมธ.คุ้มครองผู้บริโภค' รับหนังสือแก้ไขกฎหมาย 3 ฉบับ เร่งสภาผลักดัน แก้ปัญหาสินค้าไม่ตรงปก - ติดฉลาก -ให้ข้อมูลโภชนาการไม่สมบูรณ์
มีแม้วไม่มีเรา! วัดใจจุดยืน 'พรรคส้ม' หลังทักษิณขีดเส้นแบ่งข้างทุกเวทีแล้ว
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า "พรรคส้มกล้าไหม? มีแม้วไม่มีเรา!
'นักเศรษฐศาสตร์' ชำแหละนโยบายเศรษฐกิจ 'เพื่อไทย' ล้มเหลว เละเทะ ไม่เป็นท่า
รศ.ดร.สุวินัย ภรณวลัย อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊ก หัวข้อ นโยบายเศรษฐกิจของเพื่อไทยที่ล้มเหลว มีเนื้อหาดังนี้