กห.แจงกมธ.ทหาร ผงะ! สัญญาจีทูจีไม่ได้ระบุต้องเป็นเครื่องยนต์ MTU ของเยอรมนี

'สุทิน'ส่งทีมงานกลาโหม ตอบข้อซักถามกมธ.ทหารฯ ปมปัญหาเรือดำน้ำรวม 8 ประเด็น ระบุจะเปิดสัญญาจีทูจีต้องให้จีนอนุญาตก่อน ผงะ! ไม่ได้ระบุต้องเป็นเครื่องยนต์MTU 396 ของเยอรมนี และยังไม่มีแนวทางการเรียกร้องค่าปรับ

10ก.ย.2566- ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 9 พ.ย.ที่ผ่านมา ผู้แทนกระทรวงกลาโหม นำโดย พลเอกอตินันท์ ไชยฤกษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานประมาณกระทรวงกลาโหม เข้าชี้แจงความคืบหน้าโครงการจัดหาเรือดำน้ำ ต่อ คณะกรรมาธิการการทหาร สภาผู้แทนราษฎร โดยนายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ในฐานะประธาน ระบุว่า ทางกองทัพเรือไม่ได้มาชี้แจงเอง เนื่องจากนายสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มอบหมายให้สำนักงบประมาณกลาโหมมาชี้แจงแทน ก่อนที่กรรมาธิการทหาร จะยกคณะไปพบนายสุทิน ที่กระทรวงกลาโหม ในวันที่ 22 พฤศจิกายนนี้

นายวิโรจน์ ระบุว่า กรรมาธิการทหาร ได้สอบถามผู้แทนกลาโหมรวม 8 ประเด็น โดยเฉพาะประเด็นเครื่องยนต์เรือดำน้ำ มูลค่าความเสียหาย รวมทั้งการเรียกร้องค่าปรับ พร้อมชี้ว่า แนวทางเปลี่ยนเรือดำน้ำเป็นเรือฟริเกต ต้องคำนึงถึงผลกระทบตามที่หลายฝ่ายท้วงติง และกรรมาธิการทหารฯ เห็นพ้องว่า หากจะเปลี่ยนโครงการเรือดำน้ำเป็นเรือฟริเกต อาจเข้าข่ายรัฐธรรมนูญมาตรา 178 เกี่ยวกับสัญญาต่างประเทศ และการจัดซิ้อจีทูจี ที่ต้องนำเข้าสภาฯ

ขณะที่พลเอกอตินันท์ ไชยฤกษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานประมาณกระทรวงกลาโหม ชี้แจงรายประเด็น ตามที่กรรมาธิการทหารฯ สอบถาม เริ่มตั้งแต่การขอให้เปิดเผยรายละเอียดข้อตกลงการจัดซื้อแบบรัฐต่อรัฐ หรือ จีทูจี ที่กองทัพเรือจ้างจีนต่อเรือดำน้ำ S-26 T แต่ทางสำนักงบประมาณกลาโหมแจ้งว่า ไม่สามารถทำได้ เพราะติดข้อตกลงห้ามเปิดเผยความลับให้บุคคลที่สาม ต้องรอประสานให้ทางจีนอนุญาตด้วย

พล.อ.อตินันท์ ยังชี้แจงกรณีการเรียกร้องค่าปรับจากจีนว่า ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขการจัดซื้อแบบ จีทูจี โดยใช้หลักการเจรจา และไม่ได้กำหนดค่าปรับเป็นรายงวด ส่วนกรณีเครื่องยนต์เรือดำน้ำ ไม่ได้ระบุชัดเจนว่า ต้องเป็นเครื่องยนต์ MTU 396 ของเยอรมนี แต่มีการระบุไว้ในข้อตกลงว่า จีนจะติดตั้งเครื่องยนต์ดีเซลสำหรับขับเคลื่อนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ซึ่งจีนได้ลิขสิทธิ์จากเยอรมนี ผลิตเครื่องยนต์แบบเดียวกับ MTU 396 และเมื่อเยอรมนี ไม่ให้จีนผลิตใช้เองหรือส่งออก ทำให้ทางจีนเสนอติดตั้งเครื่องยนต์ CHD-620 ของจีนแทน

พร้อมชี้แจงภาพรวมการเบิกจ่ายงบประมาณสร้างเรือดำน้ำ และส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น ท่าจอดเรือ /โรงซ่อมบำรุง และคลังอาวุธ จนถึงขณะนี้รวม 9,500 ล้านบาทจากวงเงิน 17,000 ล้านบาท ซึ่งหากไม่ได้ใช้งานในโครงการเรือดำน้ำก็สามารถดัดแปลงไปใช้ในภารกิจอื่นได้ส่วนการเปลี่ยนเรือดำน้ำเป็นเรือฟริเกตยังไม่ได้ข้อสรุป แต่ในปีงบประมาณ 2567 กองทัพเรือมีแผนจัดหาเรือฟริเกตจำนวน 1 ลำ วงเงิน 17,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นคนละส่วนกัน ปัจจุบันกองทัพเรือมีเรือฟริเกตประจำการ 5 ลำ ในจำนวนนี้เป็นเรือรุ่นใหม่เพียง 1 ลำ คือเรือหลวงภูมิพลฯ ขณะที่ยุทธศาสตร์กองทัพเรือต้องการเรือฟริเกต 8 ลำ ซึ่งหากมีการเปลี่ยนเรือดำน้ำเป็นเรือฟริเกต ก็จะเข้ามาเสริมยุทธศาสตร์นี้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'วิโรจน์' ตอบ 4 ข้อสงสัย ทำไมถึงไม่ค่อยใช้ ดร. นำหน้าชื่อ ทั้งที่่จบ ป.เอก จาก นิด้า

นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก เรื่อง หลายคนสอบถามมาว่า ทำไมผมถึงไม่ค่อยใช้ ดร. นำหน้าชื่อ มีเนื้อหาดังนี้

ผบ.ทร. ลั่นเรือดำน้ำจีนอยู่ในมือรัฐบาล หากไม่ได้ทัพเรือไทยจะรั้งบ๊วยอาเซียน

พลเรือเอกอะดุง พันธ์เอี่ยม ผบ.ทร. ชี้แจงความคืบหน้าเรือดำน้ำ ว่าอยากที่จะชี้แจงมานาน ยืนยันว่าในปีที่เราเซ็นสัญญา จีนมีสิทธิ์ในการผลิตเครื่อง mtu เยอรมันขาย จึงมีการเซ็นสัญญากัน บางคนเข้าใจคลาดเคลื่อนว่าจีนมาหลอกเรา อยากจะเคลียร์ให้ชัดเจน

เอ๊ะยังไง! ’สุทิน’ ยังไม่เซ็นแก้สัญญาเรือดำน้ำจีน รับซื้อแบบจีทูจีห้ามฟ้องร้อง

‘รมว.กลาโหม’ ระบุยังไม่ลงนามแก้สัญญาเรือดำน้ำจีนยังติดข้อกฎหมาย รับซื้อแบบจีทูจี ห้ามฟ้องร้อง ขณะนายกฯ สั่งละเอียด รอบคอบ และอธิบายสังคมได้ บอกไม่ได้ทัน’ยุคบิ๊กดุง’หรือไม่ มั่นใจเหล่าทัพพร้อมแจง กมธ.งบ 68 จัดซื้อเครื่องบินรบ-เรือดำน้ำ ไม่มีอะไรซับซ้อน

'บิ๊กทิน' ชง ครม. แก้ไขสัญญาจัดหา 'เรือดำน้ำ' แล้ว

พลเรือเอกชลธิศ นาวานุเคราะห์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ ในฐานะประธานคณะกรรมการจัดหาเรือดำน้ำ เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการจัดหาเรือดำน้ำจีนของกองทัพเรือ

'ธนกร' ชม 'สุทิน' เข้าใจงานทหาร จวก 'วิโรจน์' พูดเอามัน หนีไม่พ้นพาดพิง 'บิ๊กตู่'

นายธนกร วังบุญคงชนะ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ(รทสช.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล อภิปรายงบประมาณปี 2568 ในส่วนของกระทรวงกลาโหม