'ดร.มานะ' เผยแพร่บทความ 'ราชการไทย : ระบบที่รอวันรื้อแล้วสร้างใหม่'

1พ.ย.2566- ดร. มานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) เผยแพร่บทความผ่านเฟซบุ๊ก เรื่อง ราชการไทย: ระบบที่รอวันรื้อแล้วสร้างใหม่ มีเนื้อหาดังนี้่
..
ทุกข์เมื่อต้องไปติดต่อราชการ เริ่มจากการเตรียมเอกสารมากและหยุมหยิม ต้องเดินเรื่องผ่านหลายโต๊ะ ไปหลายหน่วยงาน เทียวไปเทียวมาส่งเอกสารเพิ่มเติม สับสนไปด้วยเงื่อนไข กฎระเบียบและดุลยพินิจ

หลายคนแก้ปัญหาด้วยการจ่ายใต้โต๊ะเป็น ‘ค่าเร่งเวลา’ ใครเงินมากก็ตัดรำคาญโดยจ้างนายหน้าไปเดินเรื่อง
.
การพัฒนาเพื่อขจัดปัญหา ลดอุปสรรค ลดขั้นตอน..
.
มีความพยายามแก้ที่รากเหง้าของปัญหา โดยหวังว่าเมื่อทุกหน่วยงานเข้าระบบแล้วต่อไปเวลาประชาชนติดต่อใช้บริการก็ไม่จำเป็นต้องไปที่หน่วยราชการก็ได้ การใช้เทคโนโลยี่ที่ดียังเกิดประโยชน์ร่วมกันทุกฝ่าย ช่วยให้งานเร็ว ประหยัดในระยะยาว แม่นยำผิดพลาดน้อย เป็นธรรม ลดการใช้ดุลยพินิจ ลดคอร์รัปชัน ลดความขัดแย้ง โดยผู้เขียนแบ่งภารกิจแก้ไขปัญหาเป็นสองกลุ่มคือ
.
กลุ่มแรก: เปลี่ยนรัฐบาลให้ทันสมัย มุ่งเป้าวางระบบและวางโครงสร้างพื้นฐาน ให้ภาครัฐในแต่ละกรม กระทรวง หรือหน่วยปกครองท้องถิ่น ได้ลงทุนพัฒนาระบบ Information Technology (IT) และก่อตั้งหน่วยงานใหม่หลายแห่ง เพื่อก้าวสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลที่เชื่อมโยง วิเคราะห์และบูรณาการข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ของรัฐ
ช่วยให้ทุกคนเข้าถึงและนำไปใช้ได้ง่าย เข้ากับวิถีชีวิตและความต้องการของคนรุ่นใหม่ มีการเปิดเผยข้อมูลต่อประชาชนผู้มาใช้บริการและเปิดเผยต่อสาธารณชน (Open Data Government) เพื่อประโยชน์ร่วมกัน
สภาพปัจจุบัน กล่าวได้ว่า ‘การลงทุน’ เป็นไปตามเป้าหมาย แต่ ‘ผลที่ได้’ หลายอย่างถือว่าต่ำอยู่ในเกณฑ์วิกฤต เป็นต้นว่า ‘ความพึงพอใจ’ ของประชาชนต่อบริการของรัฐปี 2565 แย่ลงเมื่อเทียบกับสี่ปีก่อนหน้า เนื่องมาจากความพร้อมหน่วยงานระดับกรมซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติการยังต่ำอยู่ การปรับเปลี่ยนการทำงานให้เป็นดิจิทัลได้จริง บุคลากรยึดมั่นการทำงานแบบมืออาชีพ ขาดเจตจำนงค์เพื่อบริการประชาชนล้วนอยู่ในเกณฑ์วิกฤตเช่นกัน (รายงานสรุปผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ 2565, สภาพัฒน์ฯ, น. 802 – 810)
เกิดข้อขัดข้องจากการที่แต่ละหน่วยงานต่างฝ่ายต่างจัดการ ไม่มีมาตรฐานเดียวกัน ทำให้การเชื่อมโยงข้อมูลเป็นไปได้ยาก อีกทั้งหน่วยงานหลายแห่งมีข้อจำกัดตามกฎหมายในการเปิดเผยข้อมูลหรือให้ผู้อื่นนำไปใช้
.
กลุ่มที่สอง: รื้อระบบบริการประชาชนใหม่ เริ่มด้วยการออก พ.ร.บ. การอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตฯ พ.ศ. 2558 ประกอบกับคำสั่ง คสช. และมติ ครม. มี ก.พ.ร. เป็นแม่งานรวบรวม ศึกษา เสนอแนะ และติดตามการปฏิรูปการให้บริการประชาชน เพื่อขจัดความยุ่งยาก ลดขั้นตอน ลดเอกสาร ลดภาระประชาชนและพ่อค้านักธุรกิจ
.
เป็นต้นว่า ส่งเสริมให้หน่วยงานรัฐแต่ละแห่งมี e – Service, e – Payment, e – License, ศูนย์บริการ One stop service เปิดรับจองคิวทางออนไลน์ ประชาชนรู้โดยง่ายว่าต้องใช้เอกสารอะไร มีขั้นตอนอย่างไร จะเสร็จในกี่นาที กี่วัน ติดตามได้ว่าเรื่องของตนไปถึงไหนแล้ว ไม่เรียกเก็บค่าคำร้อง/ค่าธรรมเนียมพร่ำเพรื่อ
.
วางระบบเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานจะได้ไม่ต้องเรียกสำเนาจากผู้มาติดต่อ ลดการใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ ลดขั้นตอนและลดเอกสารลงให้ได้ 35% – 50% ที่สำคัญคือเงื่อนไขกฎระเบียบที่ล้าสมัยก็ต้องยกเลิกหรือแก้ไขเสีย เป็นต้น
.
สภาพปัจจุบัน นักการเมืองและผู้บริหารขาดความเข้าใจเป้าหมายของชาติ ไม่พยายามทำสิ่งใหม่ พัฒนาให้ดีขึ้น แต่กลับตีกรอบสร้างข้อยกเว้นให้ตนเอง ขาดการทบทวนแก้ไขกฎหมาย กฎระเบียบภายในหน่วยงาน
.
บทสรุป..
.
เราหมดงบประมาณไปมากแต่ผลสำเร็จที่ได้ยังน้อยเกินไป เพราะหน่วยงานส่วนใหญ่ยัง ‘หวงอำนาจและผลประโยชน์’ อยู่กันแบบเคยชิน รอแต่คำสั่งว่าต้องทำอะไร ไม่กระตือรือร้นปรับปรุงตัวเอง
ปฏิเสธการทำงานอย่างโปร่งใสโดยอ้าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ พ.ร.บ.ข้อมูลส่วนบุคคล พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารฯ อ้างสิทธิส่วนบุคคล ความลับราชการหรือความลับทางการค้า ที่เพิ่มความงุนงงสงสัยให้ประชาชนทุกข์หนักไปอีก
.
การรื้อแล้ววางระบบใหม่ในการบริหารราชการและบริการประชาชน จะยกระดับประเทศไทยให้ทันโลก ช่วยลดคอร์รัปชันได้ตรงจุดและยั่งยืน
แต่การขับเคลื่อนโดยภาครัฐเพียงลำพังนั้นเป็นไปได้ยาก จำต้องอาศัยความร่วมมือจากประชาชนและภาคเอกชนช่วยกันเสนอแนะ ตรวจสอบ กระตุ้นหน่วยงานรัฐเดินหน้าอย่างถูกต้อง เปิดเผยกว่าที่เป็นอยู่
.
ขอจบบทความนี้ด้วยข้อเรียกร้องขององค์กรต่อต้านคอร์รัปชันฯ ที่ยื่นต่อนายกรัฐมนตรี เมื่อ 6 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา
ข้อแรกและเร่งด่วนคือ ‘กำหนดให้การต่อต้านคอร์รัปชันเป็นวาระแห่งชาติ ตั้งคณะกรรมการที่มีตัวแทนทุกภาคส่วน มีนายกรัฐมนตรีนั่งเป็นประธาน พร้อมมี War Room เพื่อการทำงานอย่างทันเหตุการณ์’ มิเช่นนั้นประเทศไทยจะไม่มีทางหยุดยั้งคอร์รัปชันที่กำลังวิกฤตได้เลย
.
ดร. มานะ นิมิตรมงคล
เลขาธิการ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย)
1 พฤศจิกายน 2566
#CPI #EaseOfDoingBusiness #BEE #WorldCompetitiveness #RegulatoryGuillotine #คอร์รัปชัน #ปฏิรูปประเทศด้านการต่อต้านคอร์รัปชัน
#คอร์รัปชัน
#ACTกันไว้เถิด #watchdog #ปปท #หมาเฝ้าบ้าน #ปปช #สตง #ชมรมSTRONGต้านทุจริตภาคใต้ #ชมรมSTRONGต้านทุจริตภาคตะวันออก #ชมรมSTRONGต้านทุจริตภาคตะวันตก #ชมรมSTRONGต้านทุจริตภาคอีสาน #ชมรมSTRONGต้านทุจริตภาคกลาง #ชมรมSTRONGต้านทุจริตประเทศไทย

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

องค์กรต้านคอร์รัปชัน ยินดี ประกาศใช้มาตรการป้องกันการฟ้องปิดปาก ผู้เปิดโปงการทุจริต

องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน ยินดีที่ประกาศใช้มาตรการป้องกันการฟ้องปิดปาก (Anti-SLAPP law) ผู้เปิดโปง ชี้เบาะแสหรือเป็นพยานในคดีคอร์รัปชัน พร้อมเสนอแนะให้เร่งศึกษาและเดินหน้าต่อใน 3 ประเด็นปัญหาร้อน ได้แก่ สิทธิผู้บริโภค สิ่งแวดล้อม และสิทธิมนุษยชน

ครช.ร้องทุกข์ หน่วยงานรัฐ ผลาญงบฯ ทุจริต ละเว้นหน้าที่ สินค้าจีนยึดตลาด ทำปชช.ล้มละลาย

นายพลภาขุน เศรษฐญาบดี ตัวแทนผู้ประสานงาน คณะราษฎรไทยแห่งชาติ (ครช.) และอดีตผู้สมัครสมาชิกวุฒิสภา(สว.) กลุ่ม 17 จ.นครปฐม ได้ยื่นเรื่อง ข้อร้องทุกข์ ร้องเรียน กรณี กฎหมาย การจัดการ การใช้งบประมาณ การตรวจสอบฯ ขัดรัฐธรรมนูญทำให้ชาติกำลังวิบัติ

ACT ดักคอ ‘นักการเมือง-ขรก.’ สมคบเพิ่มงบผลิตพันธุ์ข้าว หลังนายกฯ บอกข้าวพันธุ์ไม่ดีทำราคาตก

ส่วนใหญ่ชาวนาภาคกลางซื้อเมล็ดพันธุ์จากเอกชน ไม่มีปัญหาคุณภาพ โดยเฉพาะแหล่งที่สังกัดสมาคมผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ ส่วนเมล็ดพันธุ์ข้าวของรัฐ มีคอร์รัปชันในหลายระดับ

จับเครือข่ายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ อ้างเป็นนักการเมืองดัง ลวงเหยื่อ 22 ล้าน

พล.ต.ต.ภูมิพัฒน์ ภัทรศรีวงษ์ชัย ผู้บังคับการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี 5 (ผบก.สอท.5) มอบหมายให้ พ.ต.อ.กฤษดา มานะวงศ์สกุล ผกก.1 บก.สอท.5 สืบสวนจับกุมผู้ต้องหาที่กระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมออนไลน์