28 ต.ค.2566 - นายจตุพร พรหมพันธุ์ วิทยากรคณะหลอมรวมประชาชน เฟซบุ๊กไลฟ์ โดยเชื่อว่า แม้อุ๊งอิ๊ง-แพทองธาร ชินวัตร ลูกสาวทักษิณ ชินวัตร ถูกเลือกให้เป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทย คงไม่อาจทำให้พรรคเปลี่ยนแปลงได้มากนัก เพียงแต่ปรับภาพลักษณ์พรรคใหม่ โดยเอาคนอายุน้อยมาสู้กับพรรคคนอายุน้อยเท่านั้น
นายจตุพร กล่าวว่า การเมืองเป็นภาพมายา ตั้งแต่มีพรรคเพื่อไทยมา หัวหน้าพรรคมีคนเดียวเท่านั้น ที่เหลือเป็นหัวหน้าพรรคสมมุติกันหมด แต่การเลือกอุ๊งอิ๊ง ขึ้นเป็นหัวหน้าพรรคครั้งนี้ เป็นเพียงหัวหน้าพรรคสมมุติเหมือนตัวจริงเพื่อมาพลิกเกมใหม่จากได้เป็นรัฐบาล แต่เสียงเลือกตั้งกลับตกต่ำมากที่สุด
“ผมไม่เชื่อว่า พรรคเพื่อไทยไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง แม้อุ๊งอิ๊งเป็นหรือไม่เป็นหัวหน้าพรรคก็เท่าเดิม เพียงต้องการเอาอายุน้อยไปสู้อายุน้อย แต่สถานการณ์ขณะนี้ พรรคเพื่อไทยเผชิญกับความบอบช้ำทางการเมือง ทั้งคำพูดและการกระทำทั้งหมด จะถูกต่างพรรคนำไปใช้ในการหาเสียงเลือกตั้งครั้งหน้า”
นายจตุพร ย้ำว่า รัฐบาลที่มีพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำเกิดจาก รธน. 60 และพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตนายกฯ ทำให้เกิดขึ้น โดย สว.สาย พล.อ.ประยุทธ์ โหวตให้นายเศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกฯ และมีภาพปรากฎจึงเป็นเพียงมายา แต่ข้างหลังภาพคงซ่อนอะไรไว้ อาจเป็นข้อตกลงแลกประโยชน์กับการโหวตเป็นนายกฯ
นอกจากนี้ นายจตุพร เห็นว่า อีกไม่กี่เดือนข้างหน้านายเศรษฐา จะเป็นคนที่น่าเห็นใจที่สุด โดยจะเจอแรงกดดันทุกทิศทาง เพราะไม่มีองคาพยพทางการเมืองเป็นของตัวเอง และภายในพรรคยังมีแต่มายาภาพแสดงความน่าเชื่อถือ เมื่ออุ๊งอิ๊ง เป็นหัวหน้าพรรคยิ่งทำให้มายาภาพคนในพรรคกระทำต่อนายกฯ ค่อยๆ เลื่อนลางไป
"อุ๊งอิ๊งได้เป็นหัวหน้าวันนี้ ไม่เห็นมีอะไรแตกต่างไปจากเดิม ซึ่งที่ผ่านมาการเดินงานการเมืองจึงเป็นเพียงกลยุทธ์ และต้องการหลีกเลี่ยงกฏหมายเลือกตั้งที่ควบคุมแต่กรรมการบริหารพรรค อีกอย่างการไปเป็นประธานยุทธศาสตร์ต่างๆ หรือเป็นแคนดิเดตนายกฯ เพื่อหลีกหนีกรณียุบพรรค และกรรมการบริหารพรรคถูกตัดสิทธิทางการเมือง แต่วันนี้เดินมาถึงจุดที่ต้องออกหน้าเอง"
นายจตุพร กล่าวว่า ตั้งแต่ปี 2549 เรื่อยมา คนในตระกูลชินวัตรสามารถเป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทยได้ทุกเมื่ออยู่แล้ว แต่วันนี้ทำไมต้องมาออกตัวกัน อย่างไรก็ตาม ผลพวงจากการการโหวตของ สว.สายพล.อ.ประยุทธ์ จะเป็นคำตอบของทุกสิ่งอย่าง และการโหวตนี้อาจได้ตกลงกันไว้เป็นเวลานานเท่าใดไม่มีใครรู้ ดังนั้น ปลายปีนี้ถึงต้นปีหน้า ไม่รู้การเมืองจะเกิดสถานการณ์อะไรขึ้นมาอีก
"ถ้าคิดเพียงจะเป็นที่หนึ่งในการเลือกตั้งครั้งหน้าแล้ว ไม่จำเป็นต้องเป็นหัวหน้าพรรคในเวลานี้เลย แต่ถึงที่สุดการเมืองไม่แน่นอน สามารถพลิกเปลี่ยนได้เป็นชั่วโมง อีกทั้งการเมืองไม่ใช่เรื่องบังเอิญ และทุกเรื่องไม่ใช่เรื่องง่าย”
นายจตุพร ว่า อุ๊งอิ๊ง ไม่ใช่คนใหม่ทางการเมืองแล้ว แต่เป็นคนเก่าที่อายุน้อย เพราะเคยผ่านมรสุมทางการเมืองมาแล้ว ทั้งขึ้นปราศรัยหาเสียงมากมาย แต่ไม่ได้เป็นไปตามคำพูดเลย แล้วจะฝากความหวังไว้กับนักการเมืองได้อย่างไร ดังนั้น ในเวลาที่เหลือการเลือกตั้งยังยาวไกล การมาเป็นหัวหน้าพรรคจึงอาจรองรับสถานการณ์อื่นในวันข้างหน้า.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
แจกเฟส 2 หวังผลการเมือง ส่อผิดกฎหมายหลายกระทง?
ปี่กลองอึกทึกครึกโครม ในสนามเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น ที่จะมีการเลือกตั้งทั่วประเทศในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 ตามประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ช่วงนี้จึงอยู่ในช่วงงัดไม้เด็ดเดิมพันให้ได้คว้าชัยชนะ เพื่อเป็นอีกก้าวปูทางไปสู่สนามการเลือกตั้งใหญ่
ลุ้นศาลรับคดีล้มล้าง ตุลาการถก6ประเด็น‘ทักษิณ-พท.’/ดันแก้ประชามติไม่รอ180วัน
"ทักษิณ-พท." ระทึก! 9 ตุลาการศาล รธน.ยืนยันนัดประชุมวาระพิเศษ 22 พ.ย.นี้
รองเลขาฯเพื่อไทย ฟาดกลับ 'ไอซ์ รักชนก' แซะแจกเงินหมื่นช่วงเลือกตั้งนายก อบจ.
น.ส.ลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ สส.บัญชีรายชื่อ และรองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย โพสต์ข้อความผ่าน X ว่า ใจเย็นๆ นิดนะคะ รัฐบาลตั้งใจส่งเงินหมื่นกระตุ้นเศรษฐกิจ ถึงมือกลุ่มเป้าหมายให้เร็วที่สุด
ระทึกสุดขีด! 22 พ.ย. ศาลรธน.ลงมติ 'รับ-ไม่รับ' คำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง
คอนเฟิร์ม ศุกร์นี้ 22 พ.ย. 9 ตุลาการศาลรธน.นัดประชุมวาระพิเศษ หลังงดมาสองรอบ เตรียมนำหนังสือ-ความเห็นอัยการสูงสุด กางบนโต๊ะประชุม ก่อนลุ้นโหวตลงมติ”รับ-ไม่รับคำร้อง”คดีทักษิณ-เพื่อไทย โดนร้องล้มล้างการปกครองฯ
'แพทองธาร' โชว์วิชั่น การเมืองมีเสถียรภาพ ประเทศไทยจะดีขึ้น!
นายกฯ โชว์วิชั่น Forbes ไทยสงบ สันติ หวังรัฐบาลเปลี่ยน นายกฯเปลี่ยน แต่นโยบายเพื่อปชช.เดินหน้า บอกต่างชาติเจอคำถามแรกถามพ่อ-อาเป็นอย่างไร ย้ำการเมืองมั่นคง มีเสถียรภาพแน่นอน
ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 48: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)
ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476