'ศิลปินแห่งชาติ' ชี้เสรีภาพในการเลือกสีถุงเท้า ตีนใครตีนมัน แต่ในด้านองค์กรสะท้อนวัฒนธรรม 'อะไรก็ได้'

เราทุกคนย่อมมีเสรีภาพในการเลือกสีถุงเท้า ตีนใครตีนมัน อย่างไรก็ตาม ในด้านองค์กร ก็ควรระวังสักนิดหากเราเป็นตัวแทนของบริษัทหรือองค์กรใดไปติดต่อธุรกิจกับลูกค้า การแต่งกายของพนักงานสะท้อนองค์กรนั้นไปโดยปริยาย การแต่งตัวแบบ “อะไรก็ได้” ก็สะท้อนวัฒนธรรมองค์กรนั้นๆ

24 ต.ค.2566- วินทร์ เลียววาริณ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ โพสต์เฟซบุ๊กว่า สองสัปดาห์นี้มีหลายข่าวที่เกิดขึ้นในช่วงงานหนังสือ ทำให้ผมไม่มีเวลาเขียนถึงทันที จึงขอเขียนย้อนหลัง เรื่องหนึ่งคือสีถุงเท้า

เปล่า! ข้อเขียนนี้ไม่ได้วิพากษ์วิจารณ์สีถุงเท้าของใคร หรือเหมาะสมหรือไม่ แต่เราจะมาคุยถึงเรื่องการเลือกสีถุงเท้าที่ควรจะเป็น เพื่อประโยชน์ของการพัฒนาบุคลิกภาพของตน

นานปีมาแล้ว ผมเคยเข้าเรียนในสถาบันบุคลิกภาพแห่งหนึ่ง ครูผู้สอนวิชาการแต่งกายสอนหลักหนึ่งที่ผมจดจำได้จนวันนี้ นั่นคือ “มันไม่มีการแต่งกายที่สุภาพหรอก มีแต่การแต่งกายที่ดีกับการแต่งกายที่ไม่ดี”

มาคิดดูก็เห็นคล้ายตาม รสนิยมที่ดีไม่ได้มาจากค่านิยมของสังคม ไม่ใช่การใช้ของแพง แต่คือการจัดองค์ประกอบศิลป์ให้ตัวเอง เพื่อให้ “ดูดี”

คำว่า ‘ดูดี’ คือภาพรวมของการแต่งกาย เวลาเรามองคนอื่น เรามองการแต่งตัวในภาพรวมของเขาหรือเธอ ไม่ใช่มองที่จุดใดจุดหนึ่ง นี่ตรงกับหลักของของการจัดองค์ประกอบศิลป์คือไม่ใช้สีจุดใดจุดหนึ่งที่หลุดออกไปจนกลายเป็นจุดเด่นข่มภาพรวม

ในชั้นเรียนเรื่องสีเข็มขัดกับสีถุงเท้า ครูผู้สอนบอกว่า หลักการเลือกสีเข็มขัดคือให้ตรงกับสีรองเท้า เช่น สวมรองเท้าดำ ก็ใช้เข็มขัดสีดำ จะได้ดูแล้วไม่สะดุดหลุดออกมา

ส่วนหลักการเลือกสีถุงเท้าคือให้มันเข้ากับสีรองเท้า มากกว่าสีของกางเกง

ถ้าสวมรองเท้าสีดำ ก็ใส่ถุงเท้าสีดำ ถ้าสวมรองเท้าสีน้ำตาล ก็สวมถุงเท้าสีน้ำตาล

อีกหลักหนึ่งคือเลือกสีถุงเท้าให้เข้าสีกางเกง วิธีการคือเลือกสีถุงเท้าเข้มกว่าสีกางเกงสักสองสามเฉด เช่น สวมกางเกงสีน้ำตาลอ่อน ก็ใช้ถุงเท้าสีน้ำตาลเข้มกว่าสีกางเกง

นี่เป็นหลักสากลที่นิยมใช้กัน ไม่ว่าจะทำงานหรือไปออกงานที่ไหน การแต่งกายที่ดีมักมาจาก “ดูดี” ไม่ใช่ “ดูเด่น”

บางคนอาจอ้าง ไมเคิล แจ็คสัน สวมถุงเท้าขาว รองเท้าดำ นั่นอาจเป็นข้อยกเว้น เพราะ ไมเคิล แจ็คสัน สวมถุงเท้าสีขาวเพื่อให้เท้าของเขาเด่นออกมา เนื่องจากต้องการเน้นลีลาการเต้น เช่น moonwalk ของเขา เขาตั้งใจให้คนมองที่เท้าของเขา

แต่ถ้าไม่เดินตามหลักนี้ ก็ตามสบายอีกนั่นแหละ เพราะมันเป็นแค่เกณฑ์นิยม ไม่ใช่กฎตายตัว เราทุกคนย่อมมีเสรีภาพในการเลือกสีถุงเท้า ตีนใครตีนมัน อย่างไรก็ตาม ในด้านองค์กร ก็ควรระวังสักนิดหากเราเป็นตัวแทนของบริษัทหรือองค์กรใดไปติดต่อธุรกิจกับลูกค้า การแต่งกายของพนักงานสะท้อนองค์กรนั้นไปโดยปริยาย การแต่งตัวแบบ “อะไรก็ได้” ก็สะท้อนวัฒนธรรมองค์กรนั้นๆ

และในด้านปัจเจก “มันไม่มีการแต่งกายที่สุภาพหรอก มีแต่การแต่งกายที่ดีกับการแต่งกายที่ไม่ดี”.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ครูสลา - โอม ค็อกเทล - แม็ก เดอะ ดาร์คเคสท์ โรแมนซ์' คว้ารางวัลอันทรงเกียรติ

ครูสลา คุณวุฒิ ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2564 สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทยสากล - ประพันธ์เพลงไทยลูกทุ่ง) พร้อมด้วย โอม-ปัณฑพล ประสารราชกิจ นักร้องนำวงค็อกเทล (Cocktail) และ แม็ก-ธิติวัฒน์ รองทอง นักร้องนำและมือเบสวง เดอะ ดาร์คเคสท์ โรแมนซ์ (The Darkest Romance) ได้รับรางวัล "เพชรในเพลง" ประจำปี 2567

12 ศิลปินแห่งชาติมือฉมัง ปั้นนักเขียนคลื่นลูกใหม่ก้าวสู่มืออาชีพ

เป็นอีกครั้งที่ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ชื่อดังมาถ่ายทอดความรู้ และแบ่งปันประสบการณ์บนถนนนักเขียนเพื่อจุดประกายให้นักเขียนรุ่นใหม่มีความรู้และแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์วรรณกรรมให้แก่ผู้ที่มีความสนใจในการเขียนทั้งนวนิยาย  เรื่องสั้น  สารคดี และกวีนิพนธ์ กว่า 80 คน

สิ้นศิลปินแห่งชาติ ฤกษ์ฤทธิ์ แก้ววิเชียร

6 มิ.ย. 2567 - นายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) เปิดเผยว่า ตนได้รับรายงานว่า นายฤกษ์ฤทธิ์ แก้ววิเชียร ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรมภายใน และมัณฑนศิลป์) พ.ศ. 2565 ได้ถึงแก่กรรมอย่างสงบ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน 2567

ศิลปินนักร้องชื่อดังหลากรุ่น ร่วมเชิดชู 'สมาน กาญจนะผลิน'

จบลงอย่างสวยงาม กับคอนเสิร์ต เชิดชูครูเพลง 103 ปี ชาตกาล "เพลงคู่...ครูสมาน กาญจนะผลิน" เมื่อวันนี้ บ่ายวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ณ โรงมหรสพหลวงศาลาเฉลิมกรุง เปิดงานช่วงแรกด้วย 2 พิธีกร โกมุท คงเทศ และ ขวัญรวี กาญจนะผลิน ที่ชวน จิรวุฒิ กาญจนะผลิน ทายาทครูสมาน มาเล่าเรื่องราว การประพันธ์เพลงของครูสมาน กาญจนะผลิน ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง(เพลงไทยสากล) ปี 2531ให้ฟังกัน

ศิลปินแห่งชาติ แพร่บทความเรื่องการใช้เงินให้เป็น กรณีสกายวอล์กแยกปทุมวัน

นายวินทร์ เลียววาริณ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ โพสต์เฟซบุ๊กว่า สองวันนี้มีหลายคนถามผมว่าคิดอย่างไรกับงานออกแบบอัตลักษณ์เมือง (พวกเขาใช้คำฝรั่งว่า City Branding) ของกทม. ผมจะไม่แสดงความคิดเห็นในเรื่องการออกแบบ เพราะมันเป็นเรื่อง subjective บางคนชอบ บางคนไม่ชอบ เป็นเรื่องธรรมดา