20 ต.ค.2566 - ศ.นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส เขียนบทความ เรื่อง แจกงานดีกว่าแจกเงิน สร้างสัมมาชีพเต็มพื้นที่คือจุดคานงัดประเทศไทย มีเนื้อหาดังนี้
นักเศรษฐศาสตร์ค้านกันตรึม ในนโยบายแจกเงินคนละ ๑๐,๐๐๐ บาท เป็นเงิน ๕ แสนกว่าล้านบาท กลัวคนไทยจะเป็นหนี้หัวโต แต่แก้ปัญหาประเทศไม่ได้จริง
ที่แก้ปัญหาได้จริงคือสร้างสัมมาชีพเต็มพื้นที่
เมื่อทุกคนมีงานทำ มีรายได้ หลุดหนี้ มีเงินออม ก็หายจน อยู่ดีมีสุข มีอำนาจซื้อมาก เศรษฐกิจมหภาคก็จะเติบโตและมั่นคง เพราะอยู่บนฐานที่แข็งแรงของเราเองไม่ใช่พึ่งตลาดโลกเป็นหลักซึ่งพลิกผันและวิกฤตง่าย รัฐบาลก็จะเก็บภาษีได้มาก โภคทรัพย์จากเต็มท้องพระคลัง
การสร้างสัมมาชีพเต็มพื้นที่ก็ไม่ยากถ้าเป็นนโยบายของรัฐบาล โดยระดมกำลังของทุกฝ่ายระดมเทคนิคและวิธีการทั้งหมดที่จะสร้างงาน ระดมการจัดการทั้งหมด
นายกรัฐมนตรีต้องเป็นผู้นำทิศทางนโยบาย ให้ทุกองคาพยพของประเทศมีความมุ่งมั่นร่วมกัน คนไทยไม่เคยมีความมุ่งมั่นร่วมกันไปคนละทิศคนละทาง ประเทศจึงติดอยู่ในวิกฤตการณ์เรื้อรัง เมื่อใดคนไทยมีความมุ่งมั่นร่วมกัน จะเกิดพลังประดุจแสงเลเซอร์ทะลุทะลวงอุปสรรคไปสู่ความสำเร็จ
นายกรัฐมนตรีจึงไม่ควรบริหารจิปาถะ ซึ่งจะหมดแรงและไม่สำเร็จ แต่ต้องมีวิสัยทัศน์ว่าอะไรเป็นจุดคานงัดประเทศไทย และเป็นผู้นำที่สื่อสารให้คนไทยทั้งประเทศมีความมุ่งมั่นร่วมกันที่จุดคานงัดนั้น
จุดคานงัดประเทศไทย คือ การสร้างสัมมาชีพเต็มพื้นที่
หายจนถ้วนหน้า ลดความเหลื่อมล้ำ ทุกคนมีเงินในกระเป๋าเพิ่มขึ้น รวมทั้งรัฐบาลด้วย ไม่มีความเสี่ยงต่อการเป็นหนี้หัวโตและความล้มเหลวเหมือนการแจกเงิน
แจกงานดีกว่าแจกเงิน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
การลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา เพื่อการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน
หนึ่งในทรัพยากรที่มีความสำคัญในการดำเนินธุรกิจ และการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ คือทรัพยากรมนุษย์ เนื่องจากประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์
คปท.เดินหน้าสู้ ยื่นผู้ว่าฯสตง.ระงับแจกเงินดิจิทัล แจ้งปปช.-กกต.ให้สอบสวน
คปท.ยื่นผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ให้ระงับโครงการแจกเงินดิจิตอล ชี้เป็นนโยบายที่จะทำให้เกิดความเสียหายต่อการเงินการคลัง มีพฤติการณ์ทุจริตตต่อหน้าที่ ขัดรธน. แนะ แจ้งปปช.-กกต.หรือหน่วยงานอื่นให้สอบสวน
รายชื่อนักวิชาการเพิ่มไม่หยุด ออกมาค้านนโยบายแจกเงินดิจิทัลของรัฐบาล
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่มีนักวิชาการ 99 คน อาทิ นายวิรไท สันติประภพ ดร.ธาริษา วัฒนเกส อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย,
‘เหลียวหลังแลหน้า’ 23 ปี...ก้าวย่างสู่การปฏิรูปขบวนองค์กรชุมชนและ พอช.เป้าหมาย ‘ชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็ง...แก้ปัญหาความยากจน-ลดความเหลื่อมล้ำ’
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ ‘พอช.’ เปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2543 มีภารกิจสำคัญในการเสริมสร้างให้ชุมชนและขบวนองค์กรชุมชนทั่วประเทศเกิดความ
‘ปวิน’ ย้ำ ชุดนักเรียน คือ ความเท่าเทียม เป็นเรื่อง ตอแหล!
ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ นักวิชาการประจำศูนย์วิจัยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยเกียวโต โพสต์ข้อความผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย ระบุว่า ชุดนักเรียนคือความเท่าเทียมและกำจัดความเหลื่อมล้ำหรอ? ตอแหล
'สังศิต' ชี้ 3 ปัจจัยหลัก นำพาจีนพ้นความยากจนสำเร็จ
'สังศิต' ชี้ 3 ปัจจัยหลักสำคัญคือ แนวทางชี้นำของพรรคคอมมิวนิสต์อันเข้มแข็ง ระบบการศึกษา และการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ตั้งแต่ระดับหมู่บ้าน นำพาจีนพ้นความยากจนสำเร็จ