นายกฯ เผยสะเทือนใจเหตุโจมตีโรงพยาบาลในฉนวนกาซา

18 ต.ค.2566 - นายสัตวแพทย์ชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้รับทราบการโจมตีโรงพยาบาลอัล-อะห์ลี อัล-อาระบี แบปทิสต์ (al-Ahli al-Arabi Baptist Hospital) ณ ฉนวนกาซา เมื่อคืนวันที่ 17 ตุลาคม ซึ่งมีผู้เสียชีวิตหลายร้อยราย และมีผู้บาดเจ็บจำนวนมาก พร้อมกล่าวแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้ง ในนามรัฐบาลและประชาชนชาวไทยกับความสูญเสียต่อครอบครัวของเหยื่อ และขอให้ผู้บาดเจ็บฟื้นตัวโดยเร็ว

โฆษกประจำสำนักนายกฯ กล่าวอีกว่า นายกรัฐมนตรียังได้เผยแพร่ข้อความผ่าน X (ทวิตเตอร์) ว่า "รู้สึกสะเทือนใจและเสียใจอย่างยิ่งที่ได้ทราบข่าวโศกนาฏกรรมที่โรงพยาบาล อัล อาห์ลี อาหรับ ทางตอนเหนือของฉนวนกาซาเมื่อคืนนี้ ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งไปยังครอบครัวผู้สูญเสียจากเหตุการณ์นี้ พลเรือนผู้บริสุทธิ์ในความขัดแย้งต้องได้รับความคุ้มครอง ภายใต้กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ"

โฆษกประจำสำนักนายกฯ กล่าวด้วยว่า การโจมตีโรงพยาบาลอัล-อะห์ลี อัล-อาระบี แบปทิสต์ (al-Ahli al-Arabi Baptist Hospital) ถือเป็นการผิดกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศอย่างรุนแรง เนื่องจากเป็นการโจมตีโรงพยาบาล ซึ่งตามหลักสงครามจะไม่โจมตีโรงพยาบาล โรงเรียน และไม่มีพลเรือนเป็นเป้า โดยกระทรวงต่างประเทศได้ออกแถลงการณ์มีเนื้อความดังนี้ ประเทศไทยรู้สึกสะเทือนใจและเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อเหตุการณ์การโจมตีโรงพยาบาล Al Ahli Arab ทางตอนเหนือของฉนวนกาซา ซึ่งส่งผลให้มีพลเรือนผู้บริสุทธิ์บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก และขอไว้อาลัยแก่ผู้เคราะห์ร้ายและแสดงความเสียใจกับครอบครัวผู้สูญเสีย ประเทศไทยขอวิงวอนให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องดำเนินความพยายามเพื่อยุติวัฏจักรความรุนแรงและความโหดร้ายทั้งปวงโดยทันที ยิ่งไปกว่านั้น ประเทศไทยเรียกร้องให้มีการเคารพและปกป้องพลเรือน โรงพยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ภายใต้กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ

โฆษกประจำสำนักนายกฯ กล่าวว่า สำหรับประเทศไทย ขณะนี้พบผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 1 ราย รวมเป็น 30 ราย ซึ่งสูงที่สุดในบรรดาต่างประเทศ บาดเจ็บ 16 ราย (ไม่เปลี่ยนแปลง) ถูกจับเป็นตัวประกัน 17 ราย (ไม่เปลี่ยนแปลง) และคนไทยที่เดินทางกลับประเทศไทยแล้วจาก 7 เที่ยวบิน จำนวน 926 คน และมีอีกจำนวนหนึ่งที่เดินทางกลับมาเอง (ณ วันที่ 18 ตุลาคม 2566 เวลา 15.00 น.) โดยเที่ยวบินล่าสุดที่เดินทางมาถึงประเทศไทยเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2566 ด้วยสายการบินอิสราเอล จำนวน 162 คน และสายการบินไทยเดินทางถึงช่วงเช้าวันที่ 18 ตุลาคม 2566 จำนวน 266 คน ซึ่งจำนวนที่ลงทะเบียนกับจำนวนที่เดินทางมาจริงอาจมีความแตกต่างไปบ้าง เนื่องจากลงทะเบียนแล้วเปลี่ยนใจไม่เดินทาง หรือลงทะเบียนไว้แต่ในวันเดินทางไม่สามารถเดินทางออกจากพื้นที่ได้ ซึ่งสถานทูตฯ จะได้ติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไป

“ทุกประเทศมีความคิดไปในทิศทางเดียวกันว่าต้องการเห็นสถานการณ์ความไม่สงบในตะวันออกกลางคลี่คลายโดยเร็ว โดยยุติการใช้ความรุนแรง เพื่อลดความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินของผู้บริสุทธิ์ทุกคน” นายสัตวแพทย์ชัย กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ชัยชนะยกแรก“ทักษิณ” บ้านป่าฯแตก-ผู้เฒ่ากระอัก

พลิกสถานการณ์กลับมาชนะสำหรับ “นายใหญ่เพื่อไทย”-ทักษิณ ชินวัตร หลังจาก “เศรษฐา ทวีสิน” อดีตนายกฯ ถูกสอยปมตกเก้าอี้ จากการขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 160 ในเรื่องความซื่อสัตย์และจริยธรรม

'อนาคตไกล' เตือนนายกฯอิ๊งค์ ระวังซ้ำรอย 'เศรษฐา' แนะต้องรอบคอบแต่งตั้งรมต.

นายภูษิต มิ่งขวัญ รักษาการเลขาธิการพรรคอนาคตไกล หยิบยกคดีนายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยเมื่อวันที่ 14 ส.ค.ที่ผ่านมา ในสาระสำคัญเรื่องของความซื่อสัตย์สุจริต

'เศรษฐา' เข้าตึกชิน 3 ส่งมอบงานนายกฯอุ๊งอิ๊ง รูดซิปปากเหมือนเดิม

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ได้มีบรรดา สส.และรัฐมนตรี อาทิ นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา , นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง

รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ พูดถึง 'อาจเป็นโอกาสสุดท้าย' สำหรับข้อตกลงเรื่องตัวประกัน

แม้จะมีความพยายามระหว่างประเทศอย่างแข็งขัน แต่การหยุดยิงในสงครามฉนวนกาซายังไม่บรรลุผลสำเร็จ ระหว่าง

'ทักษิณ' เป็นประธานพิธีปลงศพมารดาจักรภพ 'เศรษฐา' ร่วมพิธีด้วย

นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีปลงศพ นางณัฐวรรณ เพ็ญแข มารดานายจักรภพ เพ็ญแข อดีตรมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และอดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โดยมีรัฐมนตรี นักการเมืองมาร่วมงาน