อดีตช่างภาพตามเสด็จ เล่าเรื่อง 'หญ้าแฝก' พลิกผืนดินแห้งแล้ง กลายเป็นสวนเกษตรเขียวขจี

13 ต.ค.2566 - นายนภันต์ เสวิกุล ผู้บันทึกย่างพระบาทที่ยาตรา ช่างภาพผู้ถวายงานการบันทึกภาพพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โพสต์เฟซบุ๊กเผยแพร่ภาพและเล่าเรื่องหญ้าแฝกเนื่องในวันนวมินทรมหาราช ว่า ไม่อยากนึกถึงบรรยากาศวันนั้นเลย ขอก้มหน้าก้มตา และซ่อนน้ำตา ทำงานกับแฝก...แปลงแฝกใหญ่โตของตัวเองที่น้อมนำแนวพระราชดำริ มาปรับปรุงพื้นที่แห้งแล้ง ชะล้างทำลาย ให้กลับมารักษาความชุ่มชื้นในดิน

วันนี้ เวลานี้ (โดยประมาณ) ของเมื่อ 7 ปีก่อน เกือบ 16.00 น. วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ผมขับรถออกจากศิริราชกลับบ้านด้วยหัวใจว้าวุ่น สับสน เป็นที่สุด..ถึงบ้านก็เก็บตัวเงียบ ไม่พูดไม่จา .. แม้เมื่อคุณหมอกลับมาถึงบ้านใกล้จะ 5 ทุ่ม ก็ไม่ได้คุยอะไรกัน .. ต่างก็ร้องไห้กันเงียบๆ

อีก 1 ปีต่อมา หลังจัดงาน "ศิระกรานพระภูบาลนวมินทร" ให้ศิริราชแล้ว ผมก็รอให้คุณหมอจัดแจงเวลาของตัวเอง ให้ว่าง พอที่จะไปหาอะไรทำ อย่างที่ปรึกษากันมาเป็นระยะ

ผม "มั่นใจ" ว่า ตลอดระยะเวลาตั้งแต่ พ.ศ. 2523 ที่ได้ติดตามแนวพระราชดำริ ทั้ง ป่า-น้ำ-ดิน มาจนถึง พ.ศ. 2560 .. ถึงจะไม่แตกฉาน แต่ก็น่าจะพอมีความรู้พื้นฐานให้เกิดความมั่นใจว่า ถ้าได้น้อมนำแนวพระราชดำริ "พอเพียง"​มาเป็นหลักแล้ว ด้วยกำลังที่พอมี .. เราคงจะได้เริ่มต้นทำอะไรสนุกๆ กับการดำเนินชีวิตในบั้นปลายได้

คุณหมอ มีที่ดินอยู่แปลงหนึ่ง แห้งแล้งได้ที่เลย ผมมีประสบการณ์จากการเป็นช่างภาพตามเสด็จฯ ..​และได้เห็นว่า เครื่องมืออย่างหนึ่งที่ทรงใช้ปราบความแห้งแล้งและพิชิตดินมีปัญหา คือ "หญ้าแฝก"

เราใช้เวลา 3 ปีเศษ ..​ก็สามารถเปลี่ยนผืนดินแห้งแแล้ง ให้กลายเป็นสวนเกษตรที่เขียวขจี ต้นไม้ ใบหญ้า พืชผัก งอกงามให้เก็บกินได้ทุกวัน

เมื่อเช้า เช้าวันที่ 13 ตุลาคม 2566 ที่สวน ช่อแฝกชุ่มด้วยน้ำฝนที่ตกลงมาตั้งแต่ใกล้รุ่ง ..พอแดดออก ผมก็เดินลงไปที่แปลงแฝก .. เดินเอามือระดอกแฝกชุ่มน้ำฝนนั้น .. น้ำฝนที่ค้างดอกแฝกร่วงพราวลงมา ..​ คนที่เดินเอามือระดอกแฝก ก็ชุ่มน้ำตาตัวเองเหมือนกัน

#ทรงเป็นยิ่งกว่าพระมหากษัตริย์

3 ปีเต็ม เริ่มตั้งแต่ปลูกแฝกรอบพื้นที่ เพื่อลดการชะล้างทำลายของหน้าดิน .. และเก็บกักความชื้นไว้ในแปลงใช้ปุ๋ยสดที่ทำขึ้นเอง .. ใช้สารเคมีน้อย ถึงน้อยที่สุด
ตอนที่เราเริ่ม "จัดการ" กับแปลงเกษตร ..ก็ใช้หลักการของ "เกษตรทฤษฎีใหม่" อาจจะโชคดีกว่าแปลงเกษตรอื่นๆ ที่เราไม่ต้องแบ่งพื้นที่สำหรับ "บ่อน้ำ" .. แต่เราก็ทำอย่างอื่นครบหมดตามทฤษฎี

 

เมื่อตอนทำนิทรรศการเรื่อง "แฝก ..พืชมหัศจรรย์"​ ในงานฉลองการครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ..ผมอยากรู้ว่าจริงๆแล้ว ที่บอกว่ารากแฝก สามารถนำความชุ่มชื้นลงสู่ดิน ขณะเดียวกัน ผิวแข็งของรากแฝก ก็เป็นดังปราการ ที่จะไม่ยอมให้มีอะไรเจาะเข้าไปในพื้นที่ด้านในได้ ไม่รู้จะทำอย่างให้เห็นจริง จึงตัดรากแฝก ฝากคุณหมอนำไปขยายด้วยกล้องจุลทรรศน์..ได้ภาพออกมาอย่างนี้ ..ทีนี้จึงพอเข้าใจว่า รากแฝก ลำเลียงน้ำลงไปใต้ดินลึกๆ ได้อย่างไร

ขอบคุณภาพและข้อมูลจากเฟซบุ๊ก Napan Sevikul

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ในหลวง พระราชินี ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวันนวมินทรมหาราช 13 ตุลาคม  2567 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวันนวมินทรมหาราช พุทธศักราช 2567

'ไชยชนก' นำกรรมการบริหารพรรค สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พรรคภูมิใจไทย วางพวงมาลาเนื่องใน 'วันนวมินทรมหาราช' 13 ตุลาคม 2567

เมื่อเวลา 08.30 น. วันที่ 13 ตุลาคม 2567 ณ อุทยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ถนนพิษณุโลก เขตดุสิต กรุงเทพฯ นายไชยชนก ชิดชอบ เลขาธิการพรรคภูมิใจไทย พลตำรวจเอกเพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, คณะกรรมการบริหารพรรค สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพรรคภูมิใจไทย ร่วมกันวางพวงมาลาเนื่องในวันนวมินทรมหาราช 13 ตุลาคม 2567 เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้

'กองทัพเรือ' จัดพิธีทำบุญตักบาตร ถวายเป็นพระราชกุศล วันนวมินทรมหาราช

พลเรือเอก ณัฏฐพล เดี่ยววานิช ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ มอบหมายให้ พลเรือโท กรวิทย์ ฉายะรถี รองผู้บัญชาการ กองเรือยุทธการ เป็นประธานในพิธีวางพวงมาลา ถวายราชสักการะ และน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

นวมินทรมหาราช ‘ในหลวง-ราชินี’ เสด็จฯอุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ

"ในหลวง-พระราชินี" เสด็จฯ ทรงวางพวงมาลา ณ พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร