5 ต.ค.2566 - สืบเนื่องจากรณี ส.ส.พรรคก้าวไกล นำโดยนายชุยธวัชย ตุลาธน ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคก้าวไกล ยื่นร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่บุคคลซึ่งได้กระทำความผิดอันเนื่องมาจากเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองพ.ศ. ....ต่อนายนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร
ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่บุคคลซึ่งได้กระทำความผิดอันเนื่องมาจากเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองพ.ศ. .... มีรายละเอียดเนื้อหาดังนี้
โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยนิรโทษกรรมแก่บุคคลซึ่งได้กระทำความผิดอันเนื่องมาจากเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่บุคคลซึ่งได้กระทำความผิดอันเนื่องมาจากเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง พ.ศ. ....”
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ บรรดาการกระทำใด ๆ ของบุคคลผู้เข้าร่วมเดินขบวนและชุมนุมประท้วงทางการเมือง ที่ได้กระทำขึ้นระหว่างวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙ จนถึงวันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ตลอดจนการกระทำใด ๆ ของบุคคลซึ่งไม่ได้เข้าร่วมเดินขบวนและชุมนุมประท้วงทางการเมือง ที่ได้กระทำขึ้นระหว่างวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์พ.ศ. ๒๕๔๙ จนถึงวันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ แต่การกระทำนั้นมีมูลเหตุเกี่ยวข้องหรือเกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งทางการเมืองอันเป็นความผิดตามประกาศที่คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดการกระทำความผิดเพื่อการนิรโทษกรรมกำหนด หากการกระทำดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นการกระทำทางกายภาพหรือการแสดงความคิดเห็นเป็นความผิดตามกฎหมายอันผู้กระทำได้กระทำไปโดยมีมูลเหตุจูงใจทางการเมือง ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิด และความรับผิดโดยสิ้นเชิง ทั้งนี้เท่าที่ไม่ขัดกับพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศ
ประกาศของคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดการกระทำความผิดเพื่อการนิรโทษกรรมกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๔ ภายใต้บังคับมาตรา ๓ มิให้บรรดาการกระทำดังต่อไปนี้ได้รับการนิรโทษกรรม
(๑) การกระทำของบรรดาเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องในเหตุการณ์ชุมนุมประท้วงตลอดจนการสลายการชุมนุม ไม่ว่าจะได้กระทำการในฐานะเป็นผู้สั่งการหรือผู้ปฏิบัติการ และไม่ว่าจะกระทำในขั้นตอนใด ๆ อันเป็นการกระทำเกินสมควรแก่เหตุ
(๒) การกระทำความผิดต่อชีวิตตามประมวลกฎหมายอาญา เว้นแต่เป็นการกระทำโดยประมาท
(๓) การกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๓
บทบัญญัติในวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับกับบุคคลที่เป็นตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุนในความผิดนั้น
มาตรา ๕ ให้มีคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดการกระทำความผิดเพื่อการนิรโทษกรรมอันประกอบด้วยกรรมการจำนวน ๙ คน ซึ่งประธานรัฐสภาเป็นผู้แต่งตั้งจากบุคคลดังต่อไปนี้
(๑) ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานกรรมการ
(๒) ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร เป็นรองประธานกรรมการ
(๓) บุคคลซึ่งได้รับเลือกโดยคณะรัฐมนตรีจำนวน ๑ คน
(๔) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรจำนวน ๒ คน โดยต้องมาจากพรรคการเมืองที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัดของพรรคดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีจำนวน ๑ คน และต้องมาจากพรรคการเมืองที่จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัดของพรรคมากที่สุดซึ่งมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีจำนวน ๑ คน
(๕) ผู้พิพากษาหรืออดีตผู้พิพากษาในศาลยุติธรรมซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา จำนวน ๑ คน
(๖) ตุลาการหรืออดีตตุลาการในศาลปกครองซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด จำนวน ๑ คน
(๗) พนักงานอัยการหรืออดีตพนักงานอัยการซึ่งได้รับเลือกโดยคณะกรรมการอัยการจำนวน ๑ คน
(๘) เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เป็นกรรมการและเลขานุการ
ให้เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งข้าราชการในสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่เกินสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ
ให้ดำเนินการเลือกกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดการกระทำความผิดเพื่อการนิรโทษกรรมตามวรรคหนึ่งให้แล้วเสร็จภายใน ๖๐ วัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัติมีผลใช้บังคับ
ในกรณีที่มีกฎหมายห้ามมิให้บุคคลใดดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการหรือห้ามการปฏิบัติหน้าที่อื่นใดในการดำรงตำแหน่ง มิให้นำกฎหมายนั้นมาใช้บังคับแก่การได้รับเลือกและการปฏิบัติหน้าที่เป็นกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดการกระทำความผิดเพื่อการนิรโทษกรรม
การพ้นจากตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรในกรณีกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดการกระทำความผิดเพื่อการนิรโทษกรรมตามวรรคหนึ่ง (๑) หรือการพ้นจากตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรในกรณีกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดการกระทำความผิดเพื่อการนิรโทษกรรมตามวรรคหนึ่ง (๒)หรือการพ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในกรณีกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดการกระทำความผิดเพื่อการนิรโทษกรรมตามวรรคหนึ่ง (๑) (๒) และ (๔) หรือการพ้นจากตำแหน่งผู้พิพากษาในศาลยุติธรรมในกรณีกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดการกระทำความผิดเพื่อการนิรโทษกรรมที่ได้รับเลือกตามวรรคหนึ่ง (๕) หรือการพ้นจากตำแหน่งตุลาการในศาลปกครองในกรณีกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดการกระทำความผิดเพื่อการนิรโทษกรรมที่ได้รับเลือกตามวรรคหนึ่ง (๖) หรือการพ้นจากตำแหน่งพนักงานอัยการในกรณีกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดการกระทำความผิดเพื่อการนิรโทษกรรมที่ได้รับเลือกตามวรรคหนึ่ง (๗) ไม่เป็นเหตุให้การปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดการกระทำความผิดเพื่อการนิรโทษกรรมสิ้นสุดลง
ให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรรับผิดชอบงานด้านธุรการของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดการกระทำความผิดเพื่อการนิรโทษกรรม และปฏิบัติหน้าที่ตามที่คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดการกระทำความผิดเพื่อการนิรโทษกรรมมอบหมาย
มาตรา ๖ ในกรณีที่ประธานกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดการกระทำความผิดเพื่อการนิรโทษกรรมหรือกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดการกระทำความผิดเพื่อการนิรโทษกรรมพ้นจากตำแหน่ง ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีที่เป็นกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดการกระทำความผิดเพื่อการนิรโทษกรรมซึ่งได้รับเลือกโดยคณะรัฐมนตรีให้ดำเนินการตามมาตรา ๕ วรรคหนึ่ง (๓) ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับจากวันที่พ้นจากตำแหน่ง
(๒) ในกรณีที่เป็นกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดการกระทำความผิดเพื่อการนิรโทษกรรมซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ให้ดำเนินการตามมาตรา ๕ วรรคหนึ่ง (๔) ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับจากวันที่พ้นจากตำแหน่ง
(๓) ในกรณีที่เป็นกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดการกระทำความผิดเพื่อการนิรโทษกรรมซึ่งได้รับเลือกจากผู้พิพากษาหรืออดีตผู้พิพากษาในศาลยุติธรรมโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ให้ดำเนินการตามมาตรา ๕ วรรคหนึ่ง (๕) ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับจากวันที่พ้นจากตำแหน่ง
(๔) ในกรณีที่เป็นกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดการกระท าความผิดเพื่อการนิรโทษกรรมซึ่งได้รับเลือกจากตุลาการหรืออดีตตุลาการในศาลปกครองโดยที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดให้ดำเนินการตามมาตรา ๕ วรรคหนึ่ง (๖) ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับจากวันที่พ้นจากตำแหน่ง
(๕) ในกรณีที่เป็นกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดการกระทำความผิดเพื่อการนิรโทษกรรมซึ่งได้รับเลือกจากพนักงานอัยการหรืออดีตพนักงานอัยการโดยคณะกรรมการอัยการ ให้ดำเนินการตามมาตรา ๕ วรรคหนึ่ง (๗) ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับจากวันที่พ้นจากตำแหน่ง
ในกรณีที่ประธานกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดการกระทำความผิดเพื่อการนิรโทษกรรมหรือกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดการกระทำความผิดเพื่อการนิรโทษกรรมพ้นจากตำแหน่ง ให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดการกระทำความผิดเพื่อการนิรโทษกรรมประกอบด้วยกรรมการเท่าที่มีอยู่แต่ต้องไม่น้อยกว่าสามคน
มาตรา ๗ คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดการกระทำความผิดเพื่อการนิรโทษกรรมมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) วินิจฉัยการกระทำความผิดตามกฎหมายอันผู้กระทำได้กระทำไปโดยมีมูลเหตุจูงใจทางการเมือง ซึ่งได้รับนิรโทษกรรมตามมาตรา ๓
(๒) วินิจฉัยกรณีที่มีข้อสงสัยว่าการกระทำใดตกอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัตินี้อันทำให้การกระทำดังกล่าวได้รับนิรโทษกรรมตามมาตรา ๓
ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดการกระทำความผิดเพื่อการนิรโทษกรรมตาม (๑) หรือ (๒) จะดำเนินการทางกฎหมายกับผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้ในกรณีที่มีการฟ้องร้องเป็นคดีและคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล ให้ศาลระงับการดำเนินกระบวนพิจารณา และให้ปล่อยตัวจำเลยไป ในกรณีที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษแล้ว ให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดการกระทำความผิดเพื่อการนิรโทษกรรมมีคำสั่งปล่อยตัวผู้ต้องขังไป ทั้งนี้จนกว่าคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดการกระทำความผิดเพื่อการนิรโทษกรรมได้มีคำวินิจฉัย
ในกรณีที่คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดการกระทำความผิดเพื่อการนิรโทษกรรมวินิจฉัยว่าการกระทำใดไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัตินี้อันทำให้การกระทำดังกล่าวมิได้รับการนิรโทษกรรมตามมาตรา ๓ หรือวินิจฉัยว่าการกระทำความผิดใด ผู้กระทำไม่ได้กระทำไปโดยมีมูลเหตุจูงใจทางการเมือง ซึ่งมิได้รับการนิรโทษกรรมตามมาตรา ๓ ให้ดำเนินการกับบุคคลที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดตามกระบวนการยุติธรรมต่อไป
(๓) มีอำนาจในการออกระเบียบกำหนดการทั้งหลายอันจำเป็นแก่การปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้
(๔) มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการอื่นใดเพื่อบังคับการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
ให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดการกระทำความผิดเพื่อการนิรโทษกรรมดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ให้เสร็จสิ้นภายในสองปีนับตั้งแต่คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดการกระทำความผิดเพื่อการนิรโทษกรรมเริ่มปฏิบัติหน้าที่ กรณีคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดการกระทำความผิดเพื่อการนิรโทษกรรมดำเนินการดังกล่าวไม่แล้วเสร็จในกำหนดเวลาสองปี ก็ให้ขยายกำหนดเวลาดังกล่าวออกไปได้อีกไม่เกินสองคราว คราวละไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวัน
มาตรา ๘ ในกรณีที่คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดการกระทำความผิดเพื่อการนิรโทษกรรมมิได้วินิจฉัยชี้ขาดการกระทำความผิดตามกฎหมายอันผู้กระทำได้กระทำไปโดยมีมูลเหตุจูงใจทางการเมือง ซึ่งได้รับนิรโทษกรรมตามมาตรา ๓ หรือมิได้วินิจฉัยชี้ขาดกรณีที่มีข้อสงสัยว่าการกระทำใดตกอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัตินี้อันทำให้การกระทำดังกล่าวได้รับนิรโทษกรรมตามมาตรา ๓ ของบุคคลใดตามมาตรา ๗ (๑) และ (๒) ให้บุคคลนั้น หรือบุคคลที่เป็นหรือเคยเป็นคู่หมั้นหรือคู่สมรสหรือผู้ซึ่งอยู่กินกันฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส บุคคลที่เป็นหรือเคยเป็นผู้ซึ่งอยู่กันกับคู่กรณีที่เป็นบุคคลเพศเดียวกันโดยกำเนิดในลักษณะเดียวกันกับชายหญิงที่อยู่กินกันฉันสามีภริยา บุพการีหรือผู้สืบสันดานในความเป็นจริงไม่ว่าชั้นใด ๆ พี่น้อง ลูกพี่ลูกน้องในความเป็นจริงนับได้เพียงภายในสามชั้นบุคคลที่เป็นหรือเคยบุตรบุญธรรม ญาติเกี่ยวพันทางแต่งงานนับได้เพียงสองชั้น บุคคลที่เป็นหรือเคยเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้พิทักษ์หรือผู้แทนหรือตัวแทน บุคคลที่เป็นหรือเคยเป็นนายจ้างหรือลูกจ้าง มีสิทธิยื่นคำร้องเสนอให้คณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดว่าการกระทำใดตกอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัตินี้อันทำให้การกระทำดังกล่าวได้รับนิรโทษกรรมตามมาตรา ๓
มาตรา ๙ ในกรณีที่บุคคลใดซึ่งอยู่ในข่ายได้รับการนิรโทษกรรมตามพระราชบัญญัตินี้สละสิทธิ์การได้รับนิรโทษกรรม ให้ทำเป็นหนังสือยื่นต่อพนักงานสอบสวนในกรณีที่คดีอยู่ระหว่างการสอบสวน หรือพนักงานอัยการในกรณีที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของพนักงานอัยการ หรือศาลในกรณีที่คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาล ก่อนที่พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ หรือศาลจะมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา ๑๐
เมื่อพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ หรือศาล ได้รับหนังสือสละสิทธิ์ตามวรรคหนึ่งให้แจ้งคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดการกระทำความผิดเพื่อการนิรโทษกรรมทราบภายใน ๑๕ วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือนั้น
มาตรา ๑๐ ผู้ซึ่งได้รับการนิรโทษกรรมตามมาตรา ๓ ผู้ใด ยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาลหรืออยู่ในระหว่างการสอบสวน ให้พนักงานสอบสวนผู้ซึ่งมีอ านาจสอบสวนหรือพนักงานอัยการระงับการสอบสวนหรือการฟ้องร้อง ในกรณีที่มีการฟ้องร้องเป็นคดีต่อศาล และคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาล ให้ศาลระงับการดำเนินกระบวนพิจารณา จำหน่ายคดีและให้ปล่อยตัวจำเลยไป ในกรณีที่ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษบุคคลใด ให้ถือว่าบุคคลนั้นไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิด ถ้าผู้นั้นอยู่ระหว่างการรับโทษ ให้ปล่อยตัวผู้นั้นไป
มาตรา ๑๑ การนิรโทษกรรมตามพระราชบัญญัตินี้ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้ได้รับนิรโทษกรรมในอันที่จะเรียกร้องสิทธิหรือประโยชน์ใด ๆ ทั้งสิ้น
มาตรา ๑๒ การดำเนินการใด ๆ ตามพระราชบัญญัตินี้ไม่เป็นการตัดสิทธิของบุคคลซึ่งไม่ใช่องค์กรหรือหน่วยงานของรัฐในการเรียกร้องค่าเสียหายในทางแพ่ง จากการกระทำของบุคคลใดซึ่งพ้นจากความรับผิดตามพระราชบัญญัตินี้และทำให้ตนต้องได้รับความเสียหาย
มาตรา ๑๓ ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง คำวินิจฉัย มติหรือการกระทำของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดการกระทำความผิดเพื่อการนิรโทษกรรมตามพระราชบัญญัตินี้ไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
ผู้ใดได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้อันเนื่องจากระเบียบ ประกาศ คำสั่ง คำวินิจฉัย มติหรือการกระทำของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดการกระทำความผิดเพื่อการนิรโทษกรรมตามพระราชบัญญัตินี้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองสูงสุดและให้ศาลปกครองสูงสุดพิจารณาวินิจฉัยโดยเร่งด่วน ทั้งนี้ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวัน
มาตรา ๑๔ ให้ประธานรัฐสภารักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
..........................................
นายกรัฐมนตรี
บันทึกหลักการและเหตุผล
ประกอบร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้บุคคลซึ่งได้กระทำความผิดอันเนื่องมาจากเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองพ.ศ. ....
หลักการ
ให้มีกฎหมายว่าด้วยนิรโทษกรรมแก่บุคคลซึ่งได้กระทำความผิดอันเนื่องมาจากเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง
เหตุผล
โดยที่ได้ปรากฏความขัดแย้งทางการเมืองอันเป็นเหตุให้มีการเดินขบวนและชุมนุมประท้วงทางการเมืองของประชาชนตลอดจนมีการกระทำอื่นใดไม่ว่าจะเป็นการกระทำทางกายภาพหรือการแสดงความคิดเห็นอันเนื่องมาจากเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองอย่างรุนแรงนับตั้งแต่การชุมนุมประท้วงของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเมื่อวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์๒๕๔๙ การยึดอำนาจรัฐโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเมื่อวันที่ ๑๙กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ และการยึดอำนาจรัฐโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติเมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ สืบเนื่องจนถึงปัจจุบันอันนำไปสู่การกล่าวหาและดำเนินคดีกับประชาชนจำนวนมาก ทั้งนี้เมื่อได้คำนึงว่าบรรดาการกระทำต่าง ๆ ของประชาชนนั้นได้กระทำไปเพื่อแสดงออกซึ่งความคิดเห็นทางการเมืองอันเป็นสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน จึงสมควรให้มีการนิรโทษกรรมแก่ประชาชนในกรณีดังกล่าวเพื่อขจัดความขัดแย้งที่ยังคงปรากฏอยู่ในปัจจุบัน นอกจากนี้องค์กรในกระบวนการยุติธรรมใช้และตีความการกระทำความผิดแต่เพียงตามองค์ประกอบทางกฎหมาย โดยไม่คำนึงถึงมูลเหตุจูงใจของการกระทำอันเนื่องมาจากเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง ดังนั้นภายใต้โครงสร้างแห่งระบบกฎหมายปกติตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้จึงไม่สามารถขจัดความขัดแย้งทางการเมืองที่ดำรงอยู่ได้ เพราะการแสดงออกของประชาชนอันมีมูลเหตุจูงใจทางการเมืองนั้นมีความสัมพันธ์โดยตรงกับความขัดแย้งทางการเมือง จึงจำเป็นต้องจัดตั้งคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดการกระทำความผิดเพื่อการนิรโทษกรรม เพื่อให้วินิจฉัยกรณีการกระทำความผิดอันผู้กระทำได้กระทำไปโดยมีมูลเหตุจูงใจทางการเมืองจึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ซูการ์โน มะทา' ยัน 'วันนอร์' ไม่เกี่ยวร่างกฎหมายกาสิโน วอนหยุดบิดเบือน
นายซูการ์โน มะทา เลขาธิการพรรคประชาชาติ และ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดยะลา เขต 2 ออกมาชี้แจงกรณีที่มีบุคคลบางกลุ่มพยา
งงในงง! 'ภูมิธรรม' ยันสัมพันธ์ 'พท.-ภท.' เหมือนเดิม แต่ภูมิใจไทยต้องไปถามกันเองในพรรค
ที่ทำเนียบรัฐบาล นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ในฐานะแกนนำพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงกระแสปรับค
ถ้าเลือกทุกคน อาจไม่เหลือใครเลย: เกมนิรโทษกรรมกับ 'เส้นแดง' ที่รัฐไม่มีวันถอย
หลังสงกรานต์ ปี 2568 การเมืองไทยเดินเข้าสู่ช่วงพักหายใจระหว่างสมัยประชุมสภาแต่ในความเงียบ กลับมีแรงกระเพื่อมจาก ร่างกฎหมายนิรโทษกรรม ที่ถูกบรรจุไว้ถึง 4 ฉบับ บนโต๊ะสภา
ประธานสภาบอกต้องวางตัวเป็นกลางปัดคอมเมนต์กาสิโน
'วันนอร์' เลี่ยง ให้ความเห็น พ.ร.บ.เอ็นเตอร์เทนเมนท์ฯ- ชี้เสถียรภาพรัฐบาลขึ้นอยู่กับสถานการณ์
‘ชัยธวัช’ จี้อย่าปัดตกนิรโทษกรรม หวั่นเว้น ม.112 คลี่คลายขัดแย้งไม่จริง
อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล หวังสภาสมัยหน้าเปิดกว้างถกร่างนิรโทษกรรมทุกฉบับ ถามกลับหากเว้น ม.112 จะถึงเป้าหมายสมานฉันท์หรือไม่ ยกกรณี ‘พอล แชมเบอร์ส’ สะท้อนปัญหาตัวบท–การบังคับใช้ หวั่นซ้ำเติมคดีการเมืองให้แย่ลง
'ม็อบเสื้อขาว' มาตามนัดย้ำจุดยืนให้ยกเลิก 'กาสิโน' ไม่ใช่เลื่อน
'คปท.-ศปปส.-กองทัพธรรม' รวมตัวบุกรัฐสภา เดินหน้าคัดค้านกฎหมาย 'เอนเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์' แม้ 'นายกฯ' แถลงเลื่อนออกไปก่อน แต่จุดยืนมวลชนต้องการให้ 'รัฐบาล' ยกเลิก