ดีอี-กสทช. ทดลองใช้แล้วระบบยิงข้อความเตือนเหตุฉุกเฉิน แต่อีกระบบเป็นเต่า!

5 ต.ค.2566 - เมื่อเวลา 12.55 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(ดีอี) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีการจัดทำระบบแจ้งเตือนเหตุฉุกเฉินผ่านข้อความว่าก่อนอื่นแสดงความเสียใจกับครอบครัวผู้สูญเสียในเหตุการณ์โศกนาฏกรรมที่พารากอนเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้มีความห่วงใยและสั่งการให้ดำเนินการโดยเร่งด่วน

ทั้งนี้ตนและนายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รักษาการเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทสช.) ขอชี้แจงดังนี้ หนึ่ง หลังจากนายกรัฐมนตรีสั่งการให้เร่งดำเนินการแก้ไขเรื่องนี้โดยด่วน ทางกระทรวงฯ ได้ดำเนินการทำ อีเมอร์เจนซี่ โมบายล์ อะเลิร์ท ซึ่งช่วงเช้าวันนี้ได้มีการทดลองใช้ในบริเวณทำเนียบรัฐบาลก่อน ทางเอไอเอสและทรูได้ทดสอบระบบโลเคชั่น เบส เซอร์วิส (แอลบีเอส) เข้าสู่ระบบแล้ว ซึ่งหากเกิดเหตุฉุกเฉิน รวมทั้งภัยพิบัติ ระบบแจ้งเตือนภัยผ่านข้อความ สามารถดำเนินการได้ทันทีในพื้นที่ใกล้เคียงที่เกิดเหตุได้ตั้งแต่วันนี้

นายประเสริฐ กล่าวต่อว่า ส่วนการทำเซลล์ บรอดแคสต์ ต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการ ซึ่งหากดำเนินการทำเซลล์ บรอดแคสต์ได้ จะเป็นระบบเตือนภัยที่มีความเสถียร และสามารถแจ้งเตือนประชาชนครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ซึ่งตนได้ประสานงานไปยังกทสช. และเครือข่ายโทรศัพท์มือถือทั้ง 2 ค่ายแล้ว ส่วนเรื่องคอมมานด์ เซ็นเตอร์ เราจะเร่งรับเพื่อดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อหารือกับนายกรัฐมนตรีเพื่อจัดตั้งศูนย์นี้ต่อไป

ขณะที่นายไตรรัตน์ อธิบายว่า ระบบเตือนภัยจะแบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะแรก แอลบีเอส จะเป็นการแจ้งเตือนผ่านเอสเอ็มเอส แต่จะใช้เวลาประมวลผลนาน แต่เป็นการแจ้งเตือนเบื้องต้นที่ไวที่สุด ระยะที่สอง เซลล์ บรอดแคสต์ ทางประธานกสทช. จะนำเรื่องเข้าที่ประชุมเพื่อขออนุมัติโครงการ ซึ่งโครงการนี้มีลักษณะที่ไม่ว่ามือถือเครื่องไหนผ่านบริเวณที่เกิดเหตุ ก็จะสามารถส่งข้อความเข้ามือถือได้ทันที

ผู้สื่อข่าวถามว่า หากผู้ก่อเหตุได้รับข้อความแจ้งเตือนจะดำเนินการอย่างไร นายประเสริฐกล่าวว่า เป็นหน้าที่ของกระทรวงดีอีเอสที่จะต้องดำเนินการตัดสัญญาณในบริเวณที่คนร้ายอยู่ ซึ่งสามารถทำได้อยู่แล้ว

เมื่อถามว่ามีการ ประเมินหรือไม่ว่าแต่ละเหตุการณ์ควรแจ้งเตือนเหตุไม่เกินนาที นายประเสริฐกล่าวว่า ระบบเอสบีเอส ค่ายโทรศัพท์ทั้งสองค่ายยืนยันว่าสามารถทำได้ทันที ส่วนระบบเซลล์ บรอดแคสต์ ต้องใช้เวลาพัฒนาไม่เกิน 1 ปี อย่างเร็วที่สุดภายใน 6 เดือน แต่ในระบบนี้มีความเร็ว สามารถส่งข้อความเตือนเป็นล้านข้อความภายใน 10 วินาที แต่สิ่งที่เราทำได้ขณะนี้ คือการส่งข้อความเฉพาะพื้นที่ที่เกิดเหตุ

ถามว่า ในระยะเวลาที่ผ่านมามีอุปสรรคอะไรกับโครงการเซลล์ บรอดแคสต์ หรือไม่จึงทำให้ยังไม่สามารถดำเนินการได้ นายประเสริฐ กล่าวว่า ตนไม่อยากกล่าวถึงเรื่องที่ผ่านมา เราพูดถึงอนาคตดีกว่าว่าจะดำเนินการอย่างไร ซึ่งทางกทสช. และทางเครือข่ายโทรศัพท์ยินดีที่จะให้ความร่วมมือ

ผู้สื่อข่าวถามอีกว่า มีคำสั่งปิดเว็บไซต์ขายปืนในโลกออนไลน์แล้วหรือยัง นายประเสริฐกล่าวว่า สั่งการแล้ว เดิมทีต้องใช้อำนาจศาล แต่ตอนนี้ทางกระทรวงฯ สามารถสั่งปิดได้เลย อย่างวานนี้ก็สามารถปิดเว็บไซต์ผิดกฎหมายได้ 500 เว็บไซต์ จากเดิมที่สั่งปิดได้เพียงไม่กี่เว็บไซต์ ซึ่งมาจากการแก้ไขกฎระเบียบบางอย่าง รวมทั้งในเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ ทางกระทรวงฯ ก็ได้ประสานงานขอความร่วมมือไปแล้ว แต่ตัวเลขในส่วนเว็บไซต์ที่ขายปืนผิดกฎหมายต้องรอทางฝ่ายข้อมูลแจ้งมาก่อน.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กรมอุตุฯ เตือนฉบับ 4 ร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่าน 61 จว. ส่งผลฝนตกหนักถึงหนักมาก

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศฉบับที่ 4 เรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทยและคลื่นลมแรงบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบน

ดีอี เตือน ข่าวปลอม โรงพยาบาลดังเปิดให้ลงทุนหุ้น อย่าเขื่อเสี่ยงสูญเงิน

ดีอี เตือน ข่าวปลอม “โรงพยาบาลดังเปิดให้ลงทุนหุ้น กำกับดูแลโดย ก.ล.ต.” อย่าเชื่อ-แชร์ เสี่ยงสูญเงิน-ข้อมูลส่วนบุคคล

'ปกรณ์วุฒิ' ข้องใจ 'ดีอี' จัดงบซ้ำซ้อน ปภ. ทำระบบเตือนภัยผ่านมือถือ

นายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน (ปชน.) อภิปรายว่า แม้ตนจะเคยอภิปรายไว้ในวาระ 1 แล้วว่างบประมาณในส่วนของโครงการแจ้งเตือนฉุกเฉินแห่งชาติหรือเซลล์บรอดแคสต์ ซ้ำซ้อนกับกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ของกระทรวงมหาดไทย