สนจ.จัดงาน “ปิยมหาราชานุสรณ์ 2566” รวมพลังชาวจุฬาฯ ชวนคนไทยจุดพลังเพื่อโลกยั่งยืน

“จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” ได้ก่อตั้งมา 106 ปี และในวันที่ 23 ตุลาคม ของทุกปี สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) จะมีการจัดงานปิยมหาราชานุสรณ์ขึ้น เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระปิยมหาราช พระผู้พระราชทานกำเนิดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ทางสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) จึงได้จัดงานแถลงข่าว “ปิยมหาราชานุสรณ์ 2566” ภายใต้แนวคิด “จุดพลังเพื่อโลกยั่งยืน” น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณสมเด็จพระปิยมหาราช  พระผู้พระราชทานกำเนิดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายในงานมี ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ นายกสมาคมฯ และ นายณัฐพล รังสิตพล  ประธานคณะกรรมการดำเนินงานปิยมหาราชานุสรณ์ 2566 ร่วมแถลงข่าว ณ สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ

โดยงานปิยมหาราชานุสรณ์เป็นกิจกรรมที่ สนจ.จัดขึ้นในวันที่ 23 ตุลาคมของทุกปี เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระปิยมหาราช พระผู้พระราชทานกำเนิดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทรงเล็งเห็นว่าประเทศไทยจำเป็นต้องปรับตัวให้ทันสมัยเทียบเท่าอารยประเทศ  จึงทรงจัดตั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศไทย โดยถือกำเนิดจากโรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน และเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนมหาดเล็ก เมื่อ 1 เมษายน  2445   ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเล็งเห็นว่าภาคราชการและเอกชนมีความต้องการบุคลากรทำงานในสาขาวิชาต่างๆ กว้างขวางมากขึ้น  จึงทรงมีพระราชดำริขยายการศึกษาสู่ประชาชนทั่วไปที่ต้องการการศึกษาขั้นสูง และทรงโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ ขึ้นเป็น “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เมื่อ 26 มีนาคม 2459 การก้าวสู่ศตวรรษที่ 2 ของจุฬาฯ มหาวิทยาลัยได้น้อมนำระบบบริหารราชการแผ่นดินที่จำเป็นต้องผลิตบุคลากรที่มีความเป็นเลิศ โดยได้วางรากฐานสำคัญด้าน Future Leader หรือผู้นำแห่งอนาคต ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญในยุคนี้ พร้อมนำพาประเทศก้าวไปแข่งขันได้บนเวทีโลก และด้าน Impactful Research & Innovations ที่ต้องควบคู่ไปกับการสร้างความยั่งยืนหรือ Sustainability

ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี จุฬาฯ  เปิดเผยว่า งานปิยมหาราชานุสรณ์จัดขึ้นประจำทุกปี เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระผู้พระราชทานกำเนิดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งจุฬาฯ ยังคงสืบสานพระราชปณิธานด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จ  พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จวบจนปัจจุบันได้น้อมนำเป็นแนวทางในการวางยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนจุฬาฯ ไว้   3 ด้าน คือ Future Leaders ผู้นำแห่งอนาคต Impactful Research & Innovation งานวิจัยและนวัตกรรมที่มีประโยชน์สูงเพื่อสังคม และ Sustainability การพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับธีมการจัดงานในปีนี้ ภายใต้แนวคิด จุดพลังเพื่อโลกยั่งยืน โดยจุฬาฯ ตั้งเป้าหมายเป็นมหาวิทยาลัยที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี 2050 ผ่าน 5 กลยุทธ์ ประกอบด้วย Energy Transition ปัจจุบันมีการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์บนหลังคาของอาคารกว่า 30 แห่งในมหาวิทยาลัย Improving Energy System Resilience ติดตั้งระบบบริหารจัดการพลังงานในอาคารอัจฉริยะ Creating Green Growth พื้นที่กว่า 50% เป็นพื้นที่สีเขียว มีการสำรวจและประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ Lifestyle Transition รณรงค์ให้นิสิตและบุคลากรใช้รถบัสไฟฟ้า รถสามล้อไฟฟ้า จักรยานภายในมหาวิทยาลัย โครงการ Chula Zero Waste ดูแลจัดการเรื่องขยะตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง และ Social Transition Social Support System กับกิจกรรม  Chula SDG : Beyond Leading Change  เสริมสร้างทักษะและองค์ความรู้ทางด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนให้กับบุคลากรจุฬาฯ

นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ นายกสมาคมนิสิตเก่า จุฬาฯ เปิดเผยว่า ในวันที่ 23 ตุลาคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ชาวจุฬาฯ ต่างน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ น้อมใจแสดงความจงรักภักดีอย่างพร้อมเพียงกัน โดยปีนี้ งานปิยมหาราชานุสรณ์ 2566 “จุดพลังเพื่อโลกยั่งยืน” จัดขึ้นเพื่อน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงมีสายพระเนตรที่ยาวไกล ทรงวางรากฐานงานด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน ในหลากหลายมิติ อาทิ ด้านสาธารณูปโภคพื้นฐาน ด้านคมนาคม รวมถึงด้านสิ่งแวดล้อมที่มีการจัดตั้ง  กรมป่าไม้ขึ้น เพื่อป้องกันการตัดไม้ทำลายป่า ทำให้ประเทศไทยมีความมั่นคงสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

ทั้งนี้ งานปิยมหาราชานุสรณ์ 2566 ภายใต้แนวคิด “จุดพลังเพื่อโลกยั่งยืน” นำพาคนไทยย้อนกลับไปซึมซับพระราชกรณียกิจแห่งการวางรากฐานและพระราชทานกำเนิดกิจการต่างๆ จนรุ่งเรืองจวบจนถึงปัจจุบัน  โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงาน องค์กรต่างๆ มาร่วมเทิดพระเกียรติผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย อีกทั้งยังเป็นโอกาสที่ดีในการเชิญชวนชาวจุฬาฯ ทั้งนิสิตเก่า และนิสิตปัจจุบันผู้มีจิตศรัทธา ร่วมกันสมทบทุนจุฬาสงเคราะห์ และทุนอาหารกลางวัน ให้กับนิสิตที่มีความประพฤติดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ รวมทั้งสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมของสมาคมฯ ที่เป็นประโยชน์ต่อประชาคมจุฬาฯ และสังคมโดยรวม รวมทั้ง โครงการเลือดชมพู (CU Blood) “เติมเลือดใหม่ ช่วยคนไทย ไม่ขาดเลือด” ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง สนจ. และนิสิตปัจจุบัน ที่จะเชิญชวนและรณรงค์ให้นิสิต นิสิตเก่า อาจารย์ บุคลากรของจุฬาฯ และประชาชนทั่วไป ร่วมบริจาคโลหิตแก่สภากาชาดไทยไม่ให้ขาดเลือดตลอดทั้งปี โดยมีเป้าหมายสำหรับยอด ผู้บริจาคจำนวน 4,000 คน เป็นรายใหม่ไม่น้อยกว่า 800 คน ระหว่างวันที่ 24-29 ตุลาคม 2566

นายณัฐพล รังสิตพล ประธานคณะกรรมการดำเนินงานปิยมหาราชานุสรณ์ 2566 เปิดเผยว่า งานนี้จัดขึ้นเพื่อน้อมนำพระราชปณิธานของ  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ด้านการบริหารจัดการเพื่อความยั่งยืน และสาธารณประโยชน์ ที่ทรงวางรากฐานมาเมื่อประมาณ 170 ปี ที่แล้ว มาร่วมสานต่อ โดยกิจกรรมที่จัดขึ้นตลอดงานจะคำนึงถึงการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก ด้วยการทํากิจกรรมชดเชยคาร์บอน หรือเรียกว่าการจัดงานคาร์บอนนิวทรัล อีเว้นท์ (Carbon Neutral Event) เพื่อรับผิดชอบการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อาทิ เน้นใช้วัสดุที่ย่อยสลายได้ง่าย สนับสนุนการเดินทางด้วยรถบัสไฟฟ้า (EV Bus Transportation) ลดการใช้พลาสติกจากภาชนะอาหาร และเครื่องดื่ม เป็นต้น สำหรับกิจกรรมในภาคเช้าจะจัดให้มีพิธีถวายสักการะ ณ พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราช และสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า หน้าหอประชุมจุฬาฯ และพระบรมรูปทรงม้า ลานพระราชวังดุสิต ในภาคค่ำ ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ มาร่วมเทิดพระเกียรติผ่านกิจกรรมในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ การจัด Exclusive Exhibition แสดงภาพถ่าย และเครื่องใช้หาชมยากในสมัยรัชกาลที่ 5 วิดีทัศน์เทิดพระเกียรติ “พระปิยมหาราช ต้นธารสู่ความยั่งยืน” กิจกรรม CU Alumni Talk : “จุดพลังเพื่อโลกยั่งยืน” ละครเวทีเทิดพระเกียรติพระปิยมหาราช ชุด “Net Zero Hero สานต่อพระราชปณิธานความยั่งยืน” การแสดงดนตรีวง CU Band และศิลปินนิสิตเก่าจุฬา รวมถึงกิจกรรมระดมทุนบริจาคทุนจุฬาสงเคราะห์ และทุนอาหารกลางวัน เพื่อสร้างรากฐานทางการศึกษาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของนิสิตที่ประสบปัญหาด้านทุนทรัพย์ ซึ่งการพัฒนาทรัพยกรมนุษย์เป็นปัจจัยสำคัญ ในการขับเคลื่อนประเทศให้เกิดความยั่งยืน

จึงขอเชิญชวนร่วมบริจาค ผ่านการโอนเข้าบัญชี ธนาคารกสิกรไทย เลขที่ 073-3-51890-1 บัญชีชื่อ มูลนิธิสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสำหรับกิจกรรมวันปิยมหาราชานุสรณ์นี้ สามารถติดตามรับชม Live สดได้ทาง FB page : Backbone MCOT, Chulalongkorn University และ Chula Alumni”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จฯ ไปทรงเปิดสวน “เปรมประชาวนารักษ์” แลนด์มาร์กสีเขียวแห่งใหม่ริมคลองเปรมประชากร พระราชทานแก่ประชาชน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ “เปรมประชาวนารักษ์”

เปิดพิกัดเที่ยวพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืนในจุฬาฯ

ปีนี้งาน Night Museum at Chula เที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดภายใต้แนวคิด “เสน่ห์ Science”  ชูเสน่ห์ของวิทยาศาสตร์ที่อยู่ในธรรมชาติรอบตัวเรา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันและเป็นแรงขับเคลื่อนทุกย่างก้าวของคนในปัจจุบัน 

'พีระพันธุ์' สั่ง ปตท. ระดมน้ำมัน-ก๊าซเข้าภาคใต้ป้องกันขาดแคลน

นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมใหญ่ในพื้นที่ภาคใต้ขณะนี้ กระทรวงพลังงานไม่ได้นิ่งนอนใจ และขอเป็นกำลังใจให้พี่น้องประชาชนที่ประสบเหตุอยู่ขณะนี้

กลุ่ม ปตท. และกลุ่มฯ โรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ส.อ.ท. พร้อมเดินหน้าขับเคลื่อนประเทศไทย ด้วยพลังงานสะอาด และคาดการณ์ราคาน้ำมันในปี 68

เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2567 ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า งานสัมมนา The Annual Petroleum Outlook Forum

สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา - ปตท. ขยายความร่วมมือ ต่อยอดพัฒนานวัตกรรมการเกษตรสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่สู่สังคม

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ