ในงานเปิดมหกรรมความยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน กับงาน Sustainability Expo 2023 (SX2023) ครั้งที่ 4 ภายใต้แนวคิดร่วมสร้าง “สมดุลที่ดี เพื่อโลกทีดีกว่า” Good Balance, Better World ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 2 ต.ค.2566 ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กรรมการและเลขามูลนิธิชัยพัฒนา ได้กล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ "หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ Decace of action" โดยตอกย้ำว่า หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในหลวงรัชกาลที่ 9 มีแค่ 13 บรรทัด ที่เป็นหลักวิทยาศาสตร์และเป็นสากล สามารถนำไปปฏิบัติได้
เริ่มจาก การก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ อันเกิดจากความเปลี่ยนแปลง ซึ่งในหลวงทรงเตือนไว้ตั้งแต่ปี 2542 ถ้าหากต้องการเอาชนะความเปลี่ยนแปลง หมายถึงว่าเรา "ต้องเปลี่ยนแปลงก่อน" จะเกิดความเปลี่ยนแปลง หากเปลี่ยนแปลงตามปกติ เราก็แค่เสมอตัว หากเปลี่ยนแปลงไม่ทันเราก็ต้องพบกับการ disruption เราต้องถามตัวเองว่า มาจนถึงปี 2566 นี้เราลงมือทำกันหรือยัง ในขณะที่โลกเปลี่ยนแปลงไปมากมาย โดยเฉพาะสภาพแวดล้อมที่ต่างกังวลถึงปัญหาโลกร้อน และทรัพยากรธรรมชาติที่ถูกทำลาย
ดร.สุเมธ ได้ตีโจทย์ ความพอเพียงให้เข้าถึงเข้าใจด้วยว่า พอเพียงคือพอประมาณ ซึ่งก็คือ เรามีทุนทรัพย์ ทุนกำลังกาย ทุนปัญญา เท่าไร แต่ละคนแต่ละองค์กรต้องรู้ ก็จะไม่ทำอะไรที่เกินพอดี เกินตัว งบประมาณของคนหนึ่งอยู่ระดับหนึ่ง งบประมาณของอีกคนก็อีกระดับหนึ่ง งบประมาณของแต่ละคนมีขีดทุนของตัวเองไม่จำเป็นต้องอยู่เท่ากัน ในระดับประเทศก็เหมือนกัน ทำอะไรเกินทุนเมื่อไหร่ เกินแรงเมื่อไหร่ อันตรายเกิดขึ้น ความสมดุลจะไม่มา หลังจากรู้ทุนแล้ว ประเมินเรียบร้อยแล้ว ในหลวงท่านก็ให้ใช้คำว่าเหตุผลในการตัดสินใจ ความมีเหตุผล ต้องมีสติ ปัญญา ตบท้ายด้วยเหตุผลทั้งสิ้น ไม่งั้นกิเลสและ ตัณหา จะนำเรา เป็นเหมือนทุกวันนี้ อะไรดีหน่อย ก็แห่ตามไป สุดท้ายขายไม่ออก ปัญญาจะหายไป ความกระหาย ตัณหาจะมาแทนที่
อีกเรื่องหนึ่งมีภูมิคุ้มกัน หรือที่เรียกว่า รู้จักบริหารความเสี่ยงให้ดี ทุกอย่างมีความเสี่ยงหมด ทุกจังหวะจะโคนของชีวิตในการเดินต้องระวัง อย่าประมาท นอกจากนั้นอย่าไปปฏิเสธโลก ตามโลกให้ทัน ตามข่าวสารให้ทัน ต้องรอบรู้รอบคอบ ระมัดระวัง และสุดท้ายเรื่องคุณธรรม คือ "อย่าโกง" แปลภาษาชาวบ้านง่ายๆ
"ท่านทั้งหลายพระองค์ท่านสอนง่ายๆ จะทำอะไร ขอให้ผ่านขั้นตอนความคิดต่างๆ คิดเสียก่อน ประเมินก่อน ดูทุนก่อน แต่ละประเทศมีทุนไม่เหมือนกัน ไม่ต้องเดินตามแนวเดียวกัน ใครอยู่ตรงไหนก็ทำงั้นแหละ ใช้เหตุผลอย่าโลภ ป้องกันความพินาศตลอดเวลา มีเหวดัก กับดัก อยู่ตลอด ผลลัพธ์สุดท้าย 3 คำที่ได้ อาจตรงกับคำว่า Sustainability ความสมดุล มั่นคง ยั่งยืน"
ดร.สุเมธย้ำว่า "จะทำอะไรก็แล้วแต่ Sustainability ผมคิดว่าต้องยึดคำว่าประโยชน์เป็นหลัก ถ้ายึดความร่ำรวย ความมั่งคั่ง ทำลายทันที สิ่งที่เกิดความร่ำรวย เกิดประโยชน์ไหม ทุกบาททุกสตางค์จะมีเท่าไหร่ก็แล้วแต่ ไม่ใช่เรื่องสำคัญ สำคัญเราใช้อย่างไร เราใช้เงินสิ่งสมมุติอย่างไร ถ้าเราใช้เกิดประโยชน์ย่อมเกิดความสุข ถ้าคนทั้งโลกคิดอย่างนี้ หยุดกระหาย กลับมาดู ยุคเราจะอยู่ได้ตลอดรอดฝั่งไปได้ และเราต้องรักษาโลกใบนี้ส่งต่อให้ลูกเราด้วย ต้องช่วยกันคิดว่าเขาจะอยู่อย่างไร ลูกเราจะเหลืออะไรให้เขา ถ้าเราทำลายโลกใบนี้ เขาจะอยู่อย่างไร ฉะนั้น ลงมือทำวันนี้และเดี๋ยวนี้ เมื่อเราเข้าใจเข้าถึงและพัฒนา"
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
“ยลสายน้ำ ยินทำนอง” Melodies of the River ประมวลภาพความประทับใจในงาน River Festival 2024 สายน้ำแห่งวัฒนธรรมไทย ปีที่ 10 สืบสานประเพณีลอยกระทงแบบรักษ์โลก ใส่ใจสิ่งแวดล้อม
สืบสานประเพณีและวัฒนธรรมไทย กับประเพณีลอยกระทงแบบรักษ์โลกในงาน River Festival 2024 สายน้ำแห่งวัฒนธรรมไทย ปีที่ 10 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 14 – 16 พฤศจิกายน
ชัยพัฒนาแฟร์ สัญจร นครนายก น้อมรำลึก ร.9
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี นายกกิตติมศักดิ์และประธานกรรมการมูลนิธิชัยพัฒนา พระราชทานพระราชานุญาตให้มูลนิธิชัยพัฒนาจัดงาน “ชัยพัฒนาแฟร์” ขึ้น เพื่อแสดงแนวคิดด้านการพัฒนา
นุ่งโจงห่มสไบลอยกระทง ยลวิถีคืนเพ็ญที่ ’สุขสยาม’
Bangkok River Festival 2024 เทศกาลสายน้ำแห่งวัฒนธรรมไทย ปีที่ 10 “ยลสายน้ำ ยินทำนอง” ที่เชิญชวนมาร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทงริมสองฝั่งสายน้ำเจ้าพระยา
โครงการ ไทยเบฟ…รวมใจต้านภัยหนาว สานต่อปณิธานแห่งการ “ให้” ปีที่ 25 “มากกว่าความอบอุ่น คือสังคมแห่งการให้ที่ยั่งยืน”
จากความผันผวนของสภาพภูมิอากาศ อีกทั้งภัยพิบัติรุนแรงหลายรูปแบบที่ต้องเผชิญในยุคของ Global Boiling (สภาวะโลกเดือด) กระทบต่อหลายพื้นที่ตอนบนของประเทศไทยในแถบภาคเหนือ
4 CEO ชั้นนำ เปิดแนวคิดฝ่าความท้าทายอนาคตที่ยั่งยืน บนเวที SX2024
ความพยายามของประชาคมโลกที่จะบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDGs 2030 (Sustainable Development Goals) ในอีก 6 ปีข้างหน้า