ปลุกทุกภาคส่วนผนึกกำลังสร้างโลกที่ดีกว่า น่าอยู่ และยั่งยืน

เมื่อมนุษย์ต่างอาศัยอยู่บนโลกใบเดียวกัน จึงมีความจำเป็นที่ต้องผนึกกำลัง ในการสร้างสังคมที่ดี น่าอยู่ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ช่วยเหลือกันและกันให้เกิดความยั่งยืน โดยในช่วงที่ผ่านมาต้องยอมรับว่าการจัดงาน SX Sustainability Expo ได้กลายเป็นมหกรรมด้านความยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน มีผู้เข้าร่วมงานมากกว่า 2.7 แสนคน กลายเป็นแพลตฟอร์มด้านความยั่งยืนที่เปิดโอกาสให้นานาประเทศได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการเดินหน้าพัฒนาสังคมด้วยความยั่งยืน สำหรับหนึ่งในกิจกรรม SX Talk Series กับหัวข้อ “Sustainability for Better Me Better Living Better Community คิด ทำ อย่างยั่งยืน เพื่อ ทุกสิ่งที่ดีกว่า” เกิดขึ้นเพื่อที่จะนำไปสู่งาน SX Sustainability Expo 2023 ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 กันยายน – 8 ตุลาคม 2566 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

WARRIX สร้างความสุข-สุขภาพดี และความยั่งยืน

นายวิศัลย์ วนะศักดิ์ศรีสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วอริกซ์ สปอร์ต จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า WARRIX เริ่มต้นจากการทำเสื้อผ้ากีฬาที่ไม่มีทุน ตนเองไม่ใช่คนเก่งที่สุด แต่เป็นคนขยันที่สุด มีวินัยมากที่สุดในคนรุ่นอายุเท่ากันกันเพราะฉะนั้นคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิตและมีความสุขอย่างยั่งยืนอาจไม่ใช่คนที่รวยที่สุดก็เป็นได้ ซึ่งสำหรับตนเองนั้นใช้ปรัชญาที่ว่าการมีเพียงพอสำหรับทุกอย่าง คือ มีเพียงที่จะเลี้ยงดูตัวเอง พ่อแม่และครอบครัว โดยตนเองผ่านทุกจุดของความยากลำบากมาแล้ว จนทุกวันนี้สามารถสร้างบริษัทของตัวเองเพื่อเข้าตลาดหลักทรัพย์ได้ ซึ่งปัจจุบันบริษัทมีมูลค่าที่ 6,000 ล้านบาท ทุกวันนี้สามารถใช้ชีวิตอย่างีเพียงพอโดยไม่ต้องกังวลว่าครอบครัวป่วยแล้วจะใช้เงินที่ไหนรักษา ซึ่งสิ่งเหล่านี้จึงเป็นที่มาของความยั่งยืนที่เป็น Brand purpose ของ WARRIX โดยมี 3 แนวคิดหลัก ได้แก่ 1.สุขภาพดี 2.มีความสุขและ3.ความยั่งยืน

ทั้งนี้ WARRIX ทำเรื่องวิทยาศาสตร์การกีฬาเป็นเวลา 10 ปี จากวันแรกที่มีการเปิดตัวแบรนด์เสื้อผ้ากีฬาท่ามกลางแบรนด์คู่แข่งจากทั้งในไทยและต่างประเทศที่มีความแข็งแรงในตลาด ซึ่ง WARRIX มองเห็นโอกาสในการทำตลาดที่เป็นช่องว่างของเสื้อผ้ากีฬา โดยเข้าเจาะตลาดชุดกีฬาฟุตบอลของสโมสรฟุตบอลต่างๆ ในประเทศไทย โดยระยะแรกเริ่มจากสโมสรหลักใน 10 จังหวัด ขยายธุรกิจต่อเนื่องมาจนเป็น 30 จังหวัด และจุดพลิกธุรกิจสำคัญคือชุดกีฬาฟุตบอลของทีมชาติไทยที่ทำให้ยอดขายเติบโตต่อเนื่อง และทำให้บริษัทจึงตัดสินใจเข้าตลาดหลักทรัพย์

ขณะเดียวกันบริษัทฯ ยังได้ปรับเปลี่ยน Brand Position ครั้งสำคัญจากเสื้อผ้ากีฬาฟุตบอลบอล (WARRIX football sportswear) เป็นชุดกีฬาเพื่อสุขภาพ (WARRIX Health Active Lifestyle) โดยใช้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาเป็นส่วนสำคัญในการสร้างแบรนด์ และส่งต่ออกมาในรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่ครอบคลุมไลฟ์สไตล์ โดยขยายธุรกิจในตลาดใหม่ๆ ด้วยการจัดกิจกรรมที่ต่อยอดสู่สุขภาพ เช่น การจัดงานวิ่ง กิจกรรมที่สอดรับกับการสวมใส่เสื้อยืด เป็นต้น

ล่าสุดได้มีผลิตภัณฑ์ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม โดยชุดฟุตบอลทีมชาติไทยปีนี้ใช้วัตถุดิบที่สามารถรีไซเคิลได้ ตั้งเป้าหมายผลิตเสื้อจากวัตถุดิบรีไซเคิลอย่างน้อย 30,000 ตัว/ปี และตั้งเป้าจะเพิ่มขึ้นทุกๆ ปีโดยร่วมมือกับองค์กรต่างๆ ผ่านการนนำเทคโนโลยีมาบริหารจัดการทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งในการผลิตเสื้อ 1 ตัว ต้องใช้ขวดพลาสติกขนาด 600cc ถึง 20 ขวด เรียกได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและถือเป็นความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งขั้นตอนดังกล่าวจะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากถึง 75% ลดพลังงาน 85% และลดการใช้น้ำ 20% พร้อมยังช่วยประหยัดพื้นที่ในการฝังกลบขยะได้อีกด้วย

ผังเมืองเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

นายอดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ รองผู้อำนวยการศูนย์การออกแบบและพัฒนาเมือง (UDDC-CEUS) Urban Design and Development Center กล่าวว่า ปัจจุบันนี้ทุกคนอยู่สถานการณ์ของยุคที่เรียกว่าศตวรรษของการเป็นเมือง (Urban Century) โดยผู้คนเกินกว่าครึ่งของโลกใบนี้อาศัยอยู่บนพื้นที่ที่เรียกว่าเมือง โดยในอดีตการทำงานเกี่ยวกับการวางผังเมือง เป็นเรื่องจัดทำได้โดยไม่ยาก มีความคงที่ ซึ่งเชื่อว่าไม่เปลี่ยนแปลง แต่ปัจจุบันการวางผังเมืองไม่ต่างจากการทำธุรกิจ ที่จะต้องมีการร่วมกันบริหารจัดการพื้นที่เมือง เพราะฉะนั้นสิ่งที่สำคัญคือการใช้ข้อมูลในการขับเคลื่อน และสร้างความเข้าใจเมืองในรูปแบบใหม่ๆ เพื่อให้เกิดความเป็นอยู่ที่ดีและกิจกรรมทางเศรษฐกิจของเมือง หรือเพื่อให้เกิดเป็น Better life Better City

โดยโจทย์สำคัญของเมือง คือ เมืองต้องการพื้นที่สีเขียวที่เพียงพอ เช่น กรุงเทพฯ ต้องการพื้นที่สีเชียวในจุดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่สาธารณะ พื้นที่สีเขียวของห้างสรรพสินค้า เป็นต้น รวมถึงการวางผังเมืองที่ช่วยแก้ปัญหาการสัญจร เนื่องจากในช่วงโควิด-19 ระบาดนั้น คนซื้อรถใหม่เพื่อใช้ส่วนตัวและภายในครอบครัวมากขึ้น ทำให้เกิดมลภาวะและสภาพการจราจรติดขัด โดยสัดส่วนพื้นที่ถนนในการเชื่อมต่อเพื่อสัญจรที่ดีอยู่ที่ 20-30% ของพื้นที่เมืองทั้งหมด แต่กรุงเทพฯ กลับพบว่ามีสัดส่วนถนนอยู่ที่ 7-8% เท่านั้น

ขณะเดียวกันจะเห็นได้ว่า 90% ของพื้นที่ถนนในกรุงเทพฯ เป็นพื้นที่สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคล และ45% ของถนนในกรุงเทพฯ เป็นซอยตันและลึก ทำให้การสัญจรจำเป็นต้องใช้รถจักรยานยนต์เป็นหลัก แม้ว่าประเทศไทยจะมีรถสาธารณะระบบรางเพื่อบริการ แต่ก็ไม่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตจริงได้ เพราะฉะนั้นการออกแบบระบบการสัญจรที่ดีจะต้องมีระบบขนส่งเสริมที่ดีสำหรับรองรับ โดยการวางผังเมืองหรือบริหารจัดการเมืองให้น่าอยู่เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องได้ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาเมือง

สำหรับค่าเฉลี่ยการเดินของคนไทยอยู่ที่ 800 เมตร ซึ่งการเดินจะช่วยให้คนในกรุงเทพฯ เรียนรู้ที่จะเดินเพื่อไปยังจุดเชื่อมต่อการสัญจร และให้ความสำคัญกับระบบรถสาธารณะมากขึ้น แต่ขณะเดียวกันค่าเฉลี่ยนคนที่อาศัยในกรุงเทพฯ ใช้เวลาอยู่ในรถยนต์ 800 ชั่วโมงต่อปีโดยในย่านเมืองที่เดินเชื่อมต่อกันได้มีโอกาสที่ทำให้เศรษฐกิจเติบโตขึ้น 30-40% เนื่องจากร้านค้าริมถนนมีโอกาสได้ลูกค้าทั้งใหม่และประจำ หากมองในมุมการกระจายเศรษฐกิจไปยังท้องถิ่น เมืองที่เดินได้มีโอกาสกระจายเศรษฐกิจที่สูงกว่า          

ดังนั้น สิ่งที่เมืองจะต้องพัฒนาคือการทำให้เมืองเดินได้ ซึ่งล่าสุด UDDC-CEUS ได้ร่วมกับสำนักเขตกรุงเทพมหานครในการพัฒนาทางเท้าให้มีพื้นที่เพื่อเดินได้อย่างสะดวก โดยเริ่มในพื้นที่ของย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธีในการเชื่อมต่อผู้คนไปยังสถานบริการด้านสุขภาพต่างๆ ในย่านนั้น

อะลูมิเนียม “พระเอกรีไซเคิล” สู่เศรษฐกิจหมุนเวียน

นางสาวกิติยา แสนทวีสุข Head of Sustainability บริษัท ไทยเบเวอร์เรจแคน จำกัด (TBC) กล่าวว่า ตนเองทำงานอยู่ใน TBC เป็นเวลา 26 ปีแล้ว และสิ่งที่เห็นมาตลอดคือการผลิตบรรจุภันฑ์ที่หลากหลาย และส่งต่อไปยังแบรนด์สินค้าจำนวนมากเพื่อจัดจำหน่าย ดังนั้น ความรับชอบขององค์กรต่อสิ่งแวดล้อมจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ โดยบริษัทฯ ได้ผลิตกระป๋องซึ่งเป็นส่วนผสมของอลูมีเนียม ซึ่งอะลูมิเนียมถูกผลิตเริ่มต้นจากอุตสาหกรรมต้นน้ำในเหมืองแร่ผลิตแร่บอกไซด์ โดยการนำแร่บอกไซด์มาถลุงจนได้อลูมิน่าบริสุทธิ์ และนำอลูมิน่าเข้าหลอมเป็นแท่งจนได้แท่งอลูมิเนียมบริสุทธิ์กลายเป็นวัตถุดิบในการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ บริษัทฯ เล็งเห็นถึงความจำเป็นในการนำกระป่องกลับมารีไซเคิลเข้าสู่กระบวนการผลิตใหม่ เพื่อลดการใช้อลูมิเนียมจากเหมืองแร่ลง ด้วยการเพิ่มปริมาณการใช้วัตถุดิบจากวัสดุรีไซด์เคิล

ทั้งนี้ ประเทศที่สามารถนำกระป๋องอลูมิเนียมกลับสู่กระบวนการผลิตใหม่มีเพียง 4 ประเทศในเอเชียเท่านั้น ได้แก่ เกาหลีใต้ จีน ญี่ปุ่นและไทย ซึ่งบริษัทฯ ได้รณรงค์ให้มีการแยกขยะเพื่อให้กระป่องเหล่านี้กลับสู่กระบวนการผลิตใหม่อีกครั้ง เนื่องจากจะช่วยลดพลังงานในการผลิตกระป๋องอลูมิเนียมได้ถึง 95% หากผลิตจากกระป๋องรีไซเคิล โดย 75% ของอลูมิเนียมที่ถลุงตั้งแต่ปี 2431 ยังคงถูกนำกลับมาใช้จนถึงปัจจุบัน และแน่นอนว่ากระป๋องอลูมิเนียมสามารถรีไซเคิลได้โดยไม่เสียคุณภาพ และยังเรียกว่าเป็นกระป๋องบรรจุภัณฑ์ที่ถูกรีไซเคิลมากที่สุดในโลกอีกด้วย เพราะกระป๋องที่ใช้แล้ว ไม่สร้างขยะ แต่รีไซเคิลได้ไม่รู้จบ และกระป๋องอลูมิเนียมใช้แล้วจะกลับมาเป็นกระป๋องใบใหม่ภายในเพียง 60 วัน 

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่องค์กรจะต้องคิดคือ ต้องมีความรับผิดชอบต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม รวมถึงความรับผิดชอบที่จะต้องส่งต่อไปยังสังคมมีอะไรที่ทำได้บ้าง โดยไทยเบเวอร์เรจแคนมีเป้าหมายสำคัญ ได้แก่ 1.การทำให้เกิด Circular economy อย่างแท้จริง 2.เรื่องของ Climate change strategy และ Life Cycle Assessment หรือ LCA เป็นต้น  โดยมีการลงมือทำใน 3 ส่วนสำคัญคือ 1.การทำเครื่องมือจัดเก็บข้อมูลการรีไซเคิล หรือ Data recycling rate ให้เกิดขึ้นในประเทศไทยได้อย่างไร 2.จะทำให้แต่ละพื้นที่มีอัตราการรีไซเคิลเพิ่มขึ้นได้อย่างไร และ 3.การผลิตอลูมิเนียม 100% ทำได้อย่างไร

ทั้งนี้ อลูมิเนียมในไทยสามารถผลิตได้ที่ปริมาณ 70,000 ตัน ส่งออกไปยังต่างประเทศประมาณ 30,000 ตัน มีการใช้ในประเทศ 40,000 ตัน ซึ่งคิดเป็น Collection rate for recycling 88% สะท้อนให้เห็นว่าอลูมิเนียมเก็บกลับมาได้ในจำนวนที่สูง แต่เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลที่เป็นผลิตภัณฑ์กระป๋องในสัดส่วน 79% โดยสิ่งที่บริษัทฯ ตั้งเป้าหมายคือการให้ทุกคนเข้าถึงข้อมูลพื้นที่เก็บกระป๋องกลับเพื่อผลิตใหม่ ซึ่งมีการสร้างความร่วมมือกับบริษัทเอกชน และองค์กรต่างๆ ในการร่วมกันให้ข้อมูลต่อชุมชนในการแยกขยะที่ถูกวิธีเพื่อการเก็บกลับที่มีคุณภาพนำไปผลิตใหม่ได้ 

จะเห็นได้ว่าหลากหลายมุมมองที่กล่าวมาข้างต้น เราทุกคนสามารถเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างเครือข่ายความยั่งยืนได้ โดยภายในงาน SX Sustainability Expo 2023 ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 กันยายน – 8 ตุลาคม 2566 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

ผู้ชมจะได้เห็นภาพรวมในหลากหลายมิติ เพื่อให้องค์กรและประชาชนทั่วไป สามารถนำไปเป็นตัวจุดประกายที่จะเริ่มต้นทำสิ่งต่างๆ จากตัวเอง เพื่อ Good Balance, Better World สมดุลที่ดี เพื่อโลกที่ดีกว่า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Upcycling Waste ไอเดียรักษ์โลกแบบยั่งยืน ใน SX TALK SERIES ครั้งที่ 6 “ชุบชีวิตขยะ เปลี่ยนโลก”

โค้งสุดท้าย..ก่อนมุ่งสู่งาน Sustainability Expo 2024 (SX2024) มารับฟังเรื่องราวของ Upcycling ที่ปัจจุบันได้รับความนิยมและเป็นที่กล่าวถึงในวงกว้างเพราะเป็นกระบวนการที่นำสิ่งของเหลือใช้

โอบรับความหลากหลาย! ค้นพบความสุขทั้งกายและใจด้วยหัวใจที่เท่าเทียม ในงาน SX TALK SERIES #4 HEALTHY PRIDE “หลากหลายอย่างมีสุข”

งานเสวนาที่ชวนคุณมาร่วมเปิดมุมมองกับหลากทัศนะ พร้อมคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ที่จะทำให้ทุกคนเข้าใจความหลากหลายอย่างมีสุข

SX TALK SERIES ครั้งที่ 3 เผยเคล็ดลับการปรับสมดุลชีวิต เพิ่มพลังบวกให้กับสุขภาพจิต

Work-Life Balance หรือ การหาความสมดุลให้ตัวเอง เป็นเทรนด์ที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะการใช้ชีวิตของคนในปัจจุบันทำให้เกิดความเครียดสะสมและส่งผลเสียต่าง ๆ

ผู้นำธุรกิจขานรับเทรนด์ความยั่งยืน ชี้เป็นความเสี่ยงระดับโลก บนเวที 2023

ผู้นำองค์กรธุรกิจใช้เวที “SX Sustainability Expo 2023” มหกรรมด้านความยั่งยืนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอาเซียน ประกาศขานรับเทรนด์ความยั่งยืน

ขอเชิญฟังบรรยายพิเศษเพื่อแรงบันดาลใจแห่งความยั่งยืน

ขอเชิญร่วมฟังบรรยายพิเศษเพื่อแรงบันดาลใจแห่งความยั่งยืน ด้วยแนวคิดหลักของการจัดงาน "พอเพียง ยั่งยืน เพื่อโลก" (Sufficiency for Sustainability)