'เศรษฐา' พอใจร่วมเวทีสมัชชาสหประชาชาติ ลั่นประกาศให้โลกรู้ว่าไทยเปิดแล้ว


23 ก.ย.2566 - เมื่อเวลา 14.30 น. วันที่ 22 ก.ย. ตามเวลาท้องถิ่น ที่นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้สัมภาษณ์สรุปภารกิจในการเข้าร่วมประชุมสมัชชาสหประชาชาติเป็นครั้งแรก ว่า มีภารกิจที่หลากหลาย ไม่ใช่เฉพาะตนเองอย่างเดียว แต่ทั้ง นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรีและรมว.การต่างประเทศ และนายจักพงษ์ แสงมณี รมช.การต่างประเทศ ซึ่งต่างมีภารกิจมาก ซึ่งตนเองมีโอกาสได้พูดในหลายเวที เรื่องของโลกร้อน เรื่องสันติภาพ อากาศบริสุทธ์ ความมั่นคงทางอาหาร ปรัชญาเศรฐกิจพอเพียง และอาริยะเกษตร รวมถึงมีโอกาสได้พบปะกับผู้นำประเทศ รวมถึงประเทศเพื่อนบ้านสำคัญๆ เช่น ประเทศมาเลเซีย ซึ่งได้พูดคุยเรื่องความมั่นคงทางชายแดน และส่งเสริมการค้าระหว่างกันให้สูงขึ้น

นายกฯ กล่าวว่า ส่วนวันนี้ถือเป็นไฮไลต์ของงานที่ได้กล่าวถ้อยแถลง ประมาณ 10 กว่านาที ได้มีการพูดถึงปัญหาของโลกที่เกิดจากอากาศร้อน ที่ไม่ใช่แค่โลกร้อน แต่เป็นโลกเดือด หลายประเทศก็ยังมองไปข้างหลังเรื่องของตัวเลขดัชนีชี้วัดต่างๆ เราก็ต้องรวมพลัง และทำให้มันเกิดขึ้นได้ ตนเคยบอกไปหลายเวทีแล้วว่าการประชุมของสหประชาชาติครั้งนี้มีเรื่องของปัญหาที่ต่างกันหลายเรื่อง แต่เรื่องนี้เรื่องเดียวที่เห็นตรงกัน เรื่องความมั่นคงทางอาหารก็เป็นเรื่องสำคัญ โลกร้อน โลกเดือดก็ทำให้ไม่แน่นอนทางด้านภูมิอากาศที่เหมาะกับการทำเกษตรกรรม ประเทศเราเองเหมาะกับเกษตรกรรม มีความมั่นคงทางอาหารสูง แต่ลดลงเพราะเรื่องน้ำท่วม น้ำแล้ง ที่เกิดจากสภาพภูมิอากาศผันผวนอย่างมาก ทำให้เราต้องกลับมาดูเรื่องนี้ว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง ทั้งเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และเรื่องอารยเกษตร ซึ่งต้องใช้พื้นที่ให้เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่การเพาะปลูก รวมถึงการใช้หนองน้ำเป็นที่เลี้ยงปลา หลายอย่างตนเชื่อว่า สามารถปรับมาใช้ได้

นายกฯ กล่าวว่า ส่วนเรื่องปัญหาสุขภาพที่มีโรคเพิ่มมากขึ้น เป็นเหมือน wakeup call หลังมีโรคระบาดทำให้เรารู้ว่าสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของมนุษยชนถูกจำกัด หรือได้รับการดูแลเยียวยาอย่างไม่ทั่วถึง แต่ประเทศไทยโชคดีที่มีระบบสาธารณสุขที่แข็งแกร่ง แต่ว่ามีสาธารณสุขที่แข็งแกร่ง แต่มีการเคลื่อนไหวของประชากรเยอะ ดูแลดีอย่างไรก็ตามยังไม่เพียงพอ ถ้าประเทศอื่นไม่ดูแลเพียงพอ ฉะนั้นสหประชาชาติเองก็ควรเข้ามาเป็นเจ้าภาพ เพื่อเป็นแน่ใจว่าทุกๆประเทศ มีระบบ health care ที่ดีเหมือนประเทศไทย ขณะที่ไทยเองยังไม่หยุดยั้ง ยังยกระดับ 30 บาทรักษาทุกโรค เพื่อทำให้คนไทยสบายมากขึ้นในการเข้าถึงระบบสาธารณสุขที่จะเข้าที่ตัวเองอยากจะเข้า

เมื่อถามว่าหลายประเทศต้องการสันติภาพที่ยั่งยืน ในความหมายของนายกรัฐมนตรีที่นำเสนอเป็นอย่างไร นายกฯ กล่าวว่า สันติภาพที่ยั่งยืนเป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก ประเทศไทยเรามีความเชื่อเรื่องความสงบ มีความเชื่อเรื่องการเจริญที่ยั่งยืน โดยไม่เข้าไปก้าวก่ายกิจการภายในของแต่ละประเทศ

"แต่เป็นที่ทราบดีว่า เรื่องความระหองระแหง ระหว่างประเทศมีหลายคู่ ส่วนประเทศเราแม้จะเป็นประเทศเล็ก ไม่ได้ใหญ่มาก แต่เราภูมิใจในเอกราชที่เรามีมาตลอด เราเองมีความภูมิใจ และมีความสบายใจในการที่เราอยู่ในภูมิศาสตร์ที่เป็นที่ยอมรับของทุกประเทศ จึงเป็นหน้าที่ของผู้นำประเทศและรัฐบาลนี้ที่จะต้องดำรงไว้ซึ่งความเป็นเอกราชและไม่เข้าข้างใคร เรามีความเชื่อในเรื่องสันติสุขและความเจริญที่ยั่งยืน" นายกรัฐมนตรี กล่าว

ถามว่า เรื่องสิทธิมนุษยชน ในปีนี้ที่เราสมัครเป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ด้วย นายกฯ กล่าวว่า ถือเป็นเรื่องที่สำคัญไม่ใช่แค่ดูแลสิทธิมนุษยชนเพียงในประเทศอย่างเดียว เรามีประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศ ไม่ว่ามาเลเซีย ลาว กัมพูชา และที่ละเอียดอ่อนที่สุดคือ เมียนมา ถือเป็นเรื่องใหญ่ที่เราต้องดูแลหากมีผู้อพยพเข้ามา หรือมีผู้ที่เดือดร้อนบริเวณชายแดน เพราะเรามีชายแดนกับเมียนมากว่า 1,000 กิโล จะต้องดูแล

ผู้สื่อข่าวถามว่ามองความสำเร็จในการร่วมเวทีโลกครั้งแรกในฐานะนายกรัฐมนตรีอย่างไร นายกฯ กล่าวว่า ครั้งแรกก็ต้องขอบคุณ กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ที่ช่วยดูแลและเป็นเจ้าภาพในการนำนักธุรกิจเก่งๆ และสนใจมาร่วมทุนในประเทศไทยมาพบปะตนและทีมงาน ถือเป็นนิมิตหมายอันดีและจุดเริ่มต้นที่ดี 4 วันที่ผ่านมาได้ทำหน้าที่ ถือเป็นก้าวแรกในการประกาศให้ชาวโลกรู้ว่าประเทศไทยเปิดแล้ว เราพร้อมที่จะมีการลงทุนข้ามชาติ ทั้ง 2 ทาง ไม่ใช่แค่ให้เขามาลงทุนเราอย่างเดียว เอกชนไทย ที่แข็งแกร่งหลายราย พร้อมลงทุนในต่างประเทศด้วย

เมื่อถามว่า การได้พบผู้นำหลายชาติ ตอบรับกับรัฐบาลใหม่และนายกรัฐมนตรีใหม่อย่างไร นายกฯ กล่าวว่า ดีครับ ทุกคนก็ยินดีด้วย และเข้าใจว่าถึงเวลาแล้วที่เราต้องมีผู้นำและออกมาค้าขายกันอีก.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แผ่นดินไหวญี่ปุ่นเขาทำกันอย่างไร หากเกิดใกล้กรุงเทพ เราจะรับมือไหวหรือ?

อดีตนายกวิศวกรรมฯ แชร์โพสต์เก่าเมื่อ 2 มกราคม 2567 หลังแผ่นดินไหวใหญ่ที่อิชิกาวะ พร้อมเผยวิธีการรับมือของญี่ปุ่น และตั้งคำถามหากเกิดใกล้กรุงเทพฯ เราจะรับมือไหวหรือ?

บทเรียนจากญี่ปุ่นในการรับมือสังคมสูงวัยสำหรับประเทศไทย

ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างรวดเร็ว โดยคาดว่าในปี 2035 ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปจะเพิ่มเป็น 28% ของประชากรทั้งหมด สถานการณ์นี้คล้ายคลึงกับประเทศญี่ปุ่นที่เริ่มเข้าสู่สังคมสูงวัยตั้งแต่ทศวรรษ 1970 และปัจจุบันมีสัดส่วนผู้สูงอายุมากกว่า 28% ของประชากรทั้งหมด (World Bank, 2021) อย่างไรก็ดี ประเทศญี่ปุ่นได้พัฒนากลยุทธ์และนโยบายหลายด้านเพื่อรับมือกับความท้าทายนี้

รัฐบาลโวไทยคว้ารางวัลจุดหมายปลายทางยอดเยี่ยมกลุ่ม LGBTQ 

นายอนุกูล พฤกษานุศักดิ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ประเทศไทยสร้างชื่อเสียงระดับโลกอย่างต่อเนื่อง ด้วยการได้รับรางวัล “Best LGBTQ Destination” จากผลโหวตของผู้อ่าน Spartacus Magazine นิตยสารท่องเที่ยวและไลฟ์สไตล์ชื่อดังของเยอรมนีสำหรับกลุ่ม LGBTQ+  

'วราวุธ' สรุปผล ร่วมประชุม กมธ.ว่าด้วยสถานภาพสตรี ที่ UN แลกเปลี่ยนประสบการณ์ หลายประเทศชื่นชม พม.-ขอนำตัวอย่างไปขยายผล

นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เปิดเผยถึงผลการนำคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการว่าด้วยสถานภาพสตรีสมัยที่ 69 (Commission on the Status of Women) หรือการประชุม CSW 69 ซึ่งปี 2568 เป็นวาระครบรอบ 30 ปี ปฏิญญาปักกิ่ง ที่สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ (UN) นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา