'พิชิต-ที่ปรึกษาของนายกฯ' ชี้ช่อง ยกเลิกคำสั่งคสช. อ้าง คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 30/2563 สอดคล้อง รัฐธรรมนูญมาตรา 77 และ มาตรา 279 เปิดช่องยกเลิกกฎหมายที่หมดความจำเป็น
22 ก.ย. 2566 - นายพิชิต ชื่นบาน ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี โพสต์ข้อความผ่านเพจ เฟสบุ๊ค Dr.Pichit Chuenban ถึง ทิศทางการยกเลิกประกาศ หรือคำสั่งคสช. ที่ยังมีผลบังคับใช้ในปัจจุบัน โดยมีเนื้อหา 5 หน้ากระดาษ เอ4
โดยมีเนื้อหาตอนหนึ่ง ระบุว่า โดยแนวทางการพิจารณาทบทวนถึงความจำเป็น ความเหมาะสมของประกาศหรือคำสั่งดังกล่าวสามารถใช้แนวทางตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ที่30/2563 เรื่อง ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 29/2557 เรื่อง ให้บุคคลมารายงานตัวตามคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ลงวันที่ 24 พฤษภาคม2557 และประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 41/2557 เรื่อง กำหนดให้การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม
คำสั่งเรียกบุคคลให้มารายงานตัว เป็นความผิด ลงวันที่ 26 พฤษภาคม 2557 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 4 มาตรา 26 มาตรา 27 และมาตรา 29 หรือไม่ มาเป็นหลักเกณฑ์ได้โดยคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ดังกล่าวนี้ ศาลรัฐธรรมนูญได้วางหลักการที่สำคัญประการหนึ่งว่า "การพิจารณากฎหมายที่จำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญคุ้มครองไว้นั้นย่อมต้องพิจารณาสภาพการณ์ของเหตุการณ์บ้านเมืองตลอดจนวิถีการดำเนินชีวิตของประชาชนในขณะที่มีการตรากฎหมายและในขณะที่ใช้บังคับกฎหมายประกอบกัน ทั้งนี้เมื่อยามที่บ้านเมืองปกติสุข การใช้ชีวิตของปัจเจกบุคคลย่อมแตกต่างไปจากสถานการณ์ดังกล่าว โดยเฉพาะหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เมื่อวันที่ 6 เมษายน2560 รัฐธรรมนูญได้รับรองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลไว้"
นายพิชิต ยังระบุอีกว่า กล่าวโดยสรุป การที่คณะรัฐมนตรีมีแนวทางที่จะทบทวนประกาศหรือคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติและหัวหน้าคณะรักษาความรักษาความสงบแห่งชาติที่ยังมีผลใช้บังคับในปัจจุบันที่จำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองคุ้มครองไว้ โดยหลักการแล้วย่อมเป็นเรื่องที่ดี และมีความชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมายแล้ว เพราะ
1 .รัฐธรรมนูญ มาตรา 77 ที่บัญญัติว่า รัฐพึงจัดให้มีกฎหมายเพียงเท่าที่จำเป็น และยกเลิกหรือปรับปรุงกฎหมายที่หมดความจำเป็น หรือไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ หรือที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิตหรือการประกอบอาชีพ โดยไม่ชักช้า เพื่อไม่ให้เป็นภาระต่อประชาชน และดำเนินการให้ประชาชนเข้าถึงบทกฎหมายต่างๆ ได้โดยสะดวก และสามารถเข้าใจกฎหมายได้ง่าย เพื่อปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างถูกต้อง
2. สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
3. สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 279 วรรคแรก ตอนท้าย "...การยกเลิก หรือแก้ไขเพิ่มเติมประกาศหรือคำสั่งดังกล่าว ให้กระทำเป็นพระราชบัญญัติ เว้นแต่ประกาศ หรือคำสั่งที่มีลักษณะเป็นการใช้อำนาจทาง บริหาร การยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมให้กระทำโดยคำสั่งนายกรัฐมนตรี หรือมติคณะรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี"
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ธนกร' ฟาด 'พิธา' หยุดโยงมั่ว ซัดพรรคการเมืองจะอยู่หรือตายเพราะทำตัวเอง
'ธนกร' ฟาด 'พิธา' ตรรกวิบัติ ชี้ พรรคการเมืองไม่ได้ตายด้วยองค์กรอิสระ แต่ตายเพราะทำตัวเอง ชี้ กกต.-ศาลวินิจฉัย ยึดตามข้อกฎหมาย เชื่อ ถ้าไม่ทำผิดก็ไร้โทษ จี้ หยุดพ่นหลักการพิษ โยงไกลถึงรัฐประหาร ทำปชช.สับสน ไม่เชื่อมั่นกระบวนการยุติธรรมของประเทศได้
ผลสัมฤทธิ์การพัฒนาประเทศไทย ตามยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561- 2580): การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 กำหนดไว้ในหมวด 6: แนวนโยบายแห่งรัฐว่า รัฐต้องจัดให้มียุทธศาสตร์การพัฒนาชาติ โดยมีรายละเอียดตามมาตรา 65
ต้านส.ส.เพื่อไทยแก้ประมวลจริยธรรม เหตุนักการเมืองไทยหน้าด้านไร้จิตสำนึกเยอะ
นายเทพไท เสนพงศ์ อดีตส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า นักการเมืองไทยหน้าด้านเยอะควรมีประมวลจริยธรรมนักการเมือง?
เปิดคำวินิจฉัยส่วนตน ประธานศาลรธน. 1 ใน 4 ตุลาการ : ความเป็นรมต.ของ 'เศรษฐา' ไม่สิ้นสุดลง
สืบเนื่องจาก ศาลรัฐธรรมนูญมีมติ 5 ต่อ 4 วินิจฉัยว่า ความเป็นรัฐมนตรีของนายเศรษฐา ทวีสิน สิ้นสุดลงเฉพา
ปปช.ทยอยเรียก 44 สส.อดีตก้าวไกล แจงปมลงชื่อแก้ ม. 112 แล้ว
รองเลขาฯ ป.ป.ช. เผย ทยอยเรียก 44 สส.ก้าวไกล แจงปมลงชื่อแก้ ม. 112 แล้ว ระบุ เร่งดำเนินการ ไม่ต้องรอตามกรอบ 2 ปี
เหงื่อแตกพลั่ก! ดูชัดๆ 'ครอบงำ' โทษสาหัส 'ยุบพรรค-คุกอ่วม'
สืบเนื่องจากกรณีมีผู้ร้องเรียนต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ให้ยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้มีคำสั่งยุบพรรคเพื่อไทย ซึ่งมีพฤติการณ์เข้าข่ายยิน