แฟ้มภาพ
14 ธ.ค.2564 - นายจรัญ ภักดีธนากุล ผู้อำนวยการหลักสูตรนิติศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ให้สัมภาษณ์ผ่าน FM101 ต่อกรณีที่กรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม เสนอลดโทษนักโทษในคดีทุจริต คอร์รัปชัน ว่า เป็นเรื่องใหญ่ที่กระทบต่อกระบวนการยุติธรรมของประเทศ เพราะกว่าจะตัดสินคนที่ทำผิดต้องตรวจสอบ ไต่สวน สืบสวนนานหลายปี เพื่อไม่ให้กล่าวหาใส่ร้ายคนที่สุจริต
นายจรัญ กล่าวว่าต้องรู้ธรรมชาติของคนเกเร หากไม่จำนนด้วยหลักฐานจะมีช่องทางหาทางออกไปเรื่อย ต้นเหตุมาจากการบริหารโทษ ไม่ว่าบริหารอะไร ไม่ใช่ทำตามใจชอบต้องทำให้ถูกกฎหมาย จึงอ้างกฎหมาย และระเบียบ การบริหารกิจการใดไม่ใช่เอากฎหมายอย่างเดียว แน่นอนต้องไม่ผิดกฎหมายเป็นสำคัญ พวกฉลาดทำถูกกฎหมาย แต่ระบบคุ้มครองสังคมต้องดูต่อไปว่า ฝ่าฝืนสำนึกของสุจริตของสังคมหรือไม่ มีที่ไหนในโลก จำคุกมา 4 ปี 4 เดือนขออภัยโทษให้ 4 รอบ
อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงการยกร่าง พระราชกฤษฎีกาอภัยโทษ ไม่ต้องโทษหน่วยงาน เพราะรัฐมนตรีเป็นคนยกร่าง เสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) และให้ความเห็นชอบ แต่ยอมรับว่า ครม. ต้องพิจารณาเป็นร้อยเรื่อง พิจารณาแบบไฟลนก้น เมื่อพิจารณาเรื่องการขอพระราชทานอภัยโทษเห็นว่าเป็นเรื่องดี เพราะปล่อยคนจน คนยาก เป็นทานบารมี แต่กรณีที่จะขอพระราชทานอภัยโทษ คือ นำพระราชอำนาจมาใช้ ควรตรวจสอบรายละเอียดไม่ใช่ ขอเป็นการทั่วไป และต้องกลั่นกรอง และตรวจสอบในเหตุผลที่สมควร
“คดีทุจริตโกงบ้านกินเมืองที่ทำลายประเทศมากกว่าคดียาเสพติด และทำให้ประชาชนทุกยากแสนเข็ญมากกว่า ดังนั้นคดีทุจริต คอร์รัปชันต้องเคร่งครัดมากกว่าคดียาเสพติดที่มีเงื่อนไข อย่างคดียาเสพติดยังมีการขอรอบเว้นรอบ แต่คดีทุจริตนี้ ทุกรอบ คนที่โกงและจับได้ชัดๆ มีโทษจำคุก 50 ปี แต่ลดเหลือ 6 ปี 10 ปี แบบนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ต้องแก้ไข ไม่ปล่อยให้เป็นแบบนี้ ไม่เช่นนั้นจะมีแต่คนแย่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมกันหมด ผมมองว่าเรื่องดังกล่าว พล.อ.ประยุทธ์ ต้องดูแล เพราะคนที่เป็นนายกรัฐมนตรี ไม่ว่าจะมาจากการเลือกตั้งหรือมาจากการรัฐประหารต้องดูแลประเทศ” นายจรัญ กล่าว
นายจรัญ กล่าวด้วยว่า การแก้ไขเรื่องดังกล่าวมีช่องทางที่ทำได้ คือ ใช้ช่องทางผู้ตรวจการแผ่นดินตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 230(1) เพื่อส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษ นั้นขัดกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 50 (10) และมาตรา 63 โดยกรณีดังกล่าวศาลรัฐธรรมนูญต้องรับ เพราะเป็นการออกพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 175 และหากศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่าขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญจริงจะถูกตีตก แต่กรณีดังกล่าวหากใช้ตามช่องทางและศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาอย่างไรต้องเคารพในอิสระและความเป็นกลางของสถาบันตุลาการของชาติ
“ที่ผ่านมาศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยว่ากฎหมายในชั้นพระราชกฤษฏีกา ขัดกับรัฐธรรมนูญ เช่น พระราชกฤษฏีกาเลือกตั้ง หลายครั้งขัดรัฐธรรมนูญ ทำให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ ดังนั้นช่องทางนี้เป็นไปได้ และไม่กระทบกระเทือนพระองค์ เพราะไม่ใช่กระแสรับสั่ง เป็นการบริหารโทษของฝ่ายบริหารที่คานอำนาจของฝ่ายตุลาการ ผมเชื่อว่าคำวินิจฉัยดังกล่าวจะกลายเป็นบรรทัดฐานเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นอีกในอนาคต แต่ผลที่เกิดขึ้นแล้วตามพระราชกฤษฎีกาที่ประกาศใช้ไม่สามารถแก้ไขอะไรได้ เพราะตามกฎหมายห้ามย้อนหลังในทางที่เป็นโทษ” อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ระบุ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'แก้วสรร' แนะ 'ธีรยุทธ' ปรับยุทธวิธี เสริมความแกร่งของสำนวนมุ่งไปที่ กกต.-ปปช.
หลังตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย กรณีที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ
แก้วสรร : ประเมินคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ
แก้วสรร อติโพธิ เผยแพร่บทความเรื่อง "ประเมินคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ" โดยมีเนื้อหาดังนี้
ศาลรธน.ยกคำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง เอกฉันท์ 5 ประเด็นเว้นประเด็น 2
จากกรณีที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 10 ต.ค. ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย
'รังสิมันต์' ลั่นกมธ.มั่นคงฯมีอำนาจตรวจสอบเทวดาชั้น 14 ท้า 'ทักษิณ' บริสุทธิ์จริงต้องมาชี้แจง
'รังสิมันต์' ลั่นกมธ.มั่นคงฯมีอำนาจตรวจสอบเทวดาชั้น 14 ยันไม่ซ้ำซ้อนคณะอื่น รับทำงานลำบากหน่วยงานไม่ให้ข้อมูล ท้า 'ทักษิณ' บริสุทธิ์จริงต้องมาชี้แจง วอนขรก.น้ำดีหากพบพิรุธส่งมาให้กมธ.
'จตุพร' ตอกย้ำศาลรธน.รับคำร้องคดีล้มล้าง เพื่อหยุดอหังการอำนาจ เริ่มจุดเปลี่ยนบ้านเมือง
ลุ้นศาล รธน.พิจารณาคำร้อง 'จตุพร' เชื่อรับไว้วินิจฉัยเพื่อหยุดอหังการอำนาจ ลั่นจะเริ่มจุดเปลี่ยนบ้านเมือง เปิดความหวังประเทศก้าวเดินสู่ผลประโยชน์ชาติ
ระทึกสุดขีด! 22 พ.ย. ศาลรธน.ลงมติ 'รับ-ไม่รับ' คำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง
คอนเฟิร์ม ศุกร์นี้ 22 พ.ย. 9 ตุลาการศาลรธน.นัดประชุมวาระพิเศษ หลังงดมาสองรอบ เตรียมนำหนังสือ-ความเห็นอัยการสูงสุด กางบนโต๊ะประชุม ก่อนลุ้นโหวตลงมติ”รับ-ไม่รับคำร้อง”คดีทักษิณ-เพื่อไทย โดนร้องล้มล้างการปกครองฯ