จบข่าว! ศาลรัฐธรรมนูญตีตกปมเสนอชื่อโหวตนายกฯ ซ้ำ

ศาลรัฐธรรมนูญตีตกปมผู้ตรวจการแผ่นดินชงเรื่องรัฐสภามีมติห้ามเสนอชื่อโหวตนายกฯ ซ้ำขัดรัฐธรรมนูญ ชี้ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง ไม่สามารถใช่ช่องมาตรา 213 ได้

16 ส.ค.2566 - ศาลรัฐธรรมนูญได้ออกเอกสารข่าวกรณีผู้ตรวจการแผ่นดิน (ผู้ร้อง) ส่งคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213 ว่ากรณีรัฐสภา (ผู้ถูกร้อง) มีมติตีความว่าการเสนอชื่อบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีให้รัฐสภาพิจารณาให้ความเห็นชอบในรอบที่สอง เป็นญัตติทั่วไป ต้องห้ามนำเสนอญัตติซ้ำอีกตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ.2563 ข้อ 41 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 272

ข้อเท็จจริงตามคำร้อง คำร้องแก้ไขเพิ่มเติมคำร้อง และเอกสารประกอบ สรุปได้ว่า ผู้ตรวจการแผ่นดิน (ผู้ร้อง) ได้รับเรื่องร้องเรียนจากรองศาสตราจารย์พรชัย เทพปัญญา (ผู้ร้องเรียนที่ 1) และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุญส่ง ชเลธร (ผู้ร้องเรียนที่ 2) ซึ่งเป็นบุคคลผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อและแบบแบ่งเขตเลือกตั้งของพรรคก้าวไกล และนางปัญญารัตน์ นันทภูษิตานนท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล และคณะซึ่งเป็นประชาชนผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งและเป็นสมาชิกพรรคก้าวไกล จำนวน 17 คน (ผู้ร้องเรียนที่ 3)
กับผู้ร้องเรียนเพิ่มเติมอีก 13 คน ซึ่งเป็นประชาชนผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง โดยผู้ร้องเรียนทุกคนกล่าวอ้างว่า การที่รัฐสภามีมติดังกล่าวละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของผู้ร้องเรียนทุกคน ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 วรรคสอง มาตรา 5 วรรคหนึ่ง มาตรา 25 วรรคสาม และมาตรา 27 และขอให้กำหนดมาตรการหรือวิธีการชั่วคราวก่อนการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญโดยให้มีคำสั่งยุติการเลือกนายกรัฐมนตรีไว้ก่อนจนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย

ผลการพิจารณา
ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้ว เห็นว่า รัฐธรรมนูญ มาตรา 213 ประกอบพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2561 มาตรา 46 เป็นบทบัญญัติที่มีเจตนารมณ์ให้ศาลรัฐธรรมนูญคุ้มครองสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลจากการกระทำละเมิดโดยใช้อำนาจรัฐ แต่บุคคลที่จะมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญต้องเป็นบุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพโดยตรง สำหรับกระบวนการได้มาซึ่งนายกรัฐมนตรีรัฐธรรมนูญ มาตรา 272 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 159 วรรคหนึ่ง ให้รัฐสภาพิจารณาให้ความเห็นชอบเฉพาะจากบุคคลที่พรรคการเมืองเสนอและเป็นผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ตามมาตรา 88 เท่านั้น ดังนั้น ผู้มีสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาให้ความเห็นชอบจากรัฐสภาต้องเป็นผู้ที่พรรคการเมืองเสนอตามมาตรา 159 วรรคหนึ่ง อันเป็นสิทธิเฉพาะบุคคลที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ก่อตั้งขึ้นเป็นหลักการใหม่ของการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข นอกเหนือจาก
สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทยที่บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะในหมวด 3 เมื่อผู้ร้องเรียนทุกคนไม่ใช่บุคคลที่
พรรคการเมืองแจ้งรายชื่อไว้ว่าจะเสนอรัฐสภาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี
ทั้งไม่ได้เป็นบุคคลที่พรรคการเมืองเสนอชื่อต่อรัฐสภา ผู้ร้องเรียนทุกคนจึงไม่ใช่บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพโดยตรง ไม่อาจใช้สิทธิยื่นคำร้องเรียนได้ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213 กรณีไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2561 มาตรา 46 วรรคหนึ่ง ประกอบมีช่องทางในการยื่นคำร้องที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญเป็นการเฉพาะแล้ว ดังนั้นผู้ร้องไม่อาจยื่นคำร้องดังกล่าวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213 ได้

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์มีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย เมื่อมีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาแล้ว คำขออื่นย่อมเป็นอันตกไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'เศรษฐา' มองทักษิณ-อนุทิน ร่วมก๊วนกอล์ฟ เป็นเรื่องธรรมดา ไม่รู้ปฏิญญาเขาใหญ่คืออะไร

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงการเตรียมความพร้อมหลังศาลรัฐธรรมนูญนัดวินิจฉัย ปม 40 ส.ว. ยื่นคำร้องการแต่งตั้งนายพิชิต ชื่นบาน เป็นรัฐมนตรี

'อนุทิน' ย้ำไม่เคยคิดแทนที่นายกฯ ลั่นทำวันนี้ให้ดีที่สุด

'อนุทิน' เผย ครม.ทุกคน ให้กำลังใจ 'เศรษฐา' ผ่านเหตุการณ์ 14 ส.ค. ด้วยดี หลังศาล รธน. นัดชี้ชะตา ขออย่ามองผลทางลบ บอกไม่เคยคิดมาแทนนายกฯ ย้ำทุกคนทำงานเข้ากันดี

อึ้ง!ปดิพัทธ์บอกยุบ 'ก้าวไกล' แสดงว่าไทยยังไม่เป็นประชาธิปไตยส่งผลสภานานาชาติ

'ปดิพัทธ์' ยอมรับมีชื่อเป็น กก.บห.ก้าวไกล เสี่ยงพ้น สส. หากพรรคถูกยุบจริง แต่เชื่อมั่นว่าการสู้คดีมีน้ำหนัก ไม่เสียดายตำแหน่งรองประธานสภา ชี้งานที่หาเสียงไว้ทำได้หมดแล้ว