10 ธ.ค.2564 - นายชูชาติ ศรีแสง อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าศาลฎีกา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Chuchart Srisaeng ระบุว่า .....กรณีการลดโทษผู้ที่ถูกลงโทษจำคุกแต่ได้รับโทษน้อยกว่าโทษตามคำพิพากษามากมายที่สังคมกล่าวถึงโวยวายกันอยู่ในปัจจุบันนั้น
.....เกิดจากปัญหา ๒ ประการคือ
.....๑.การกำหนดชั้นของนักโทษว่าเป็นนักโทษชั้นไหน คือ ชั้นเยี่ยม ชั้นดีมาก ชั้นดี และชั้นกลาง นั้น มีหลักเกณฑ์อย่างไร และใครเป็นผู้กำหนดเพราะในแต่ละชั้นของนักโทษจะได้รับการลดโทษต่างกันมาก กรณีนี้โอกาสที่ผู้มีหน้าที่อาจมีผลประโยชน์มาเกี่ยวข้องได้ ดังที่เคยมีข่าวมีผู้ร้องเรียนว่ามีเจ้าหน้าที่เรือนจำเรียกร้องเงินเพื่อเลื่อนชั้นนักโทษ แต่ข่าวดังกล่าวก็เงียบหายไป
.....๒.การลดโทษในแต่ละครั้ง เป็นการลดโทษจากโทษตามคำพิพากษาของศาล ไม่ใช่ลดโทษจากโทษที่ผู้ถูกจำคุกยังต้องถูกจำคุกอยู่ในขณะมีพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ
.....นาย ก. ถูกศาลพิพากษาลงโทษจำคุก ๔๐ ปี ได้รับการลงโทษมาแล้ว ๓ ปี เหลือต้องรับโทษอีก ๓๗ ปี มีพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ ขณะนั้นนาย ก. เป็นนักโทษชั้นดีมากได้รับการลดโทษ ๑ใน ๓โทษที่ได้ลดคิดจาก ๔๐ ปี ไม่ใช่คิดจาก ๓๗ ปี จึงได้ลด ๑๓ ปี ๔ เดือน(ถ้าลดจากโทษที่เหลือ ๓๗ ปี ได้ลดเพียง ๑๒ ปี ๔ เดือน) เมื่อนำโทษที่ได้ลดไปลบโทษที่เหลือ ๓๗ ปี ก็จะเหลือโทษที่ต้องจำคุกอีก ๒๓ ปี ๘ เดือน
.....นาย ก. ถูกจำคุกต่อมาอีก ๑ ปี ๘ เดือน เหลือโทษที่ต้องจำคุก ๒๒ ปี ก็มีพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษอีก ขณะนั้นนาย ก.ได้เลื่อนเป็นนักโทษชั้นเยี่ยม จึงได้ลดโทษ ๑ใน ๒โทษที่ได้ลดคิดจากโทษตามคำพิพากษาของศาลคือ ๔๐ ปี โทษ ๑ ใน ๒ ของ ๔๐ ปี ก็คือ ๒๐ ปี (ถ้าลดจากโทษที่เหลือ ๒๒ ปี ได้ลดเพียง ๑๑ ปี) เมื่อนำไปลบโทษที่เหลือ ๒๒ ปี ก็จะเหลือโทษที่ต้องจำคุกอีก ๒ ปี
.....รวมแล้วนาย ก. ซึ่งศาลพิพากษาลงโทษ ๔๐ ปี แต่ได้รับโทษจำคุกจริงเพียง ๖ ปี ๘ เดือน ( ๓ ปี + ๑ ปี ๘ เดือน + ๒ ปี ) เท่านั้น
.
.....ถ้าต้องการแก้ไขเรื่องนี้ก็แก้ได้ไม่ยาก ขึ้นอยู่กับผู้มีหน้าที่รับผิดชอบว่าต้องการแก้ไขหรือไม่
.....๑.กำหนดหลักเกณฑ์การเลื่อนชั้นนักโทษให้ชัดเจน โดยป้องกันการวิ่งเต้นหรือหาผลประโยชน์จากผู้มีอำนาจหน้าที่ให้ได้อย่างเด็ดขาด
.....เรื่องนี้สำคัญที่สุด ถ้าไม่แก้ไขหรือแก้ไขไม่ได้ผู้ที่ศาลพิพากษาลงโทษจำคุก ๓๐-๔๐-๕๐ ปี แต่ถูกจำคุกจริงไม่ถึง ๑๐ ปี จะมีให้เห็นกันตลอดไป
.....๒.การลดโทษตามพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษต้องคิดลดโทษจากโทษที่ผู้ต้องโทษยังต้องได้รับโทษอีกต่อไป ในขณะที่มีประกาศพระราชกฤษฎีกาฯไม่ใช่ลดจากโทษตามคำพิพากษาของศาล เช่น ศาลพิพากษาลงโทษ ๒๐ ปี ได้รับโทษมาแล้ว ๔ ปี จึงเหลือโทษ ๑๖ ปี ถ้าได้ลดโทษต้องคิดจาก ๑๖ ปี ไม่ใช่คิดจาก ๒๐ ปี อย่างปัจจุบัน
.....๓.ผู้ที่ถูกลงโทษฐานทุจริตคอร์รัปชันและจำหน่ายยาเสพติดให้โทษไม่ควรได้รับการลดโทษให้ หรือหากจะลดให้ก็ต้องได้รับโทษมาแล้วไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของโทษตามคำพิพากษาของศาลจึงจะมีสิทธิได้รับการลดโทษ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ยธ. มอบเข็มเครื่องหมายยุติธรรมธำรง เชิดชูผู้อุทิศตนทำงานเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน “ภรณี ผู้ช่วยผจก.กองทุน สสส.”
เมื่อเวลา 08.00 น. วันที่ 25 มี.ค. 2568 ที่กระทรวงยุติธรรม นางภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้รับการเชิดชูเกียรติจากกระทรวงยุติธรรม ในฐานะผู้ที่อุทิศตนปฏิบัติหน้าที่ด้วยความทุ่มเท วิริยะ อุตสาหะ ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ช่วยเหลือประชาชนให้เข้าถึงความยุติธรรมและความเป็นธรรมในด้านต่างๆ
ป.ป.ช. รับคำร้องญาติอดีตผกก.โจ้ ปมจนท.กลั่นแกล้ง ต้องสอบก่อนตั้งอนุไต่สวน
นายสาโรจน์ พึงรำพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เปิดเผยความคืบหน้าคดีร่ำรวยผิดปกติ และคดีอาญาของ พ.ต.อ.ธิติสรรค์ อุทธนผล หรือ อดีตผู้กำกับโจ้
เปิดผลโหวต รัฐสภาตีตกร่างกฎหมาย ป.ป.ช. โอนคดีทุจริตกองทัพไปศาลพลเรือน
ผู้สื่อข่าวรายงานผลการลงมติที่ประชุมรัฐสภา มีมติเสียงข้างมาก 415 เสียง ตีตกร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่. ... พ.ศ. ...) ที่คณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว
ยังไม่ชี้ชัด 'อดีตผกก.โจ้' ถูกผู้คุมกลั่นแกล้ง-ทำร้าย สอบเพิ่มเพื่อนผู้ต้องขัง รอผลชันสูตรทางการ
คณะอนุกรรมการอุ้มหาย-ซ้อมทรมาน มีมติชะลอสรุปผลคดีอดีต ผกก.โจ้ ถูกทำร้ายร่างกายในเรือนจำกลางคลองเปรม แจง ขอให้ สน.ประชาชื่น ไปทำการสอบสวนให้ครบถ้วนรอบด้านก่อน เพื่อให้ความยุติธรรมและโปร่งใส พร้อมรอผลชันสูตรพลิกศพทางการจากนิติวิทย์ ยธ. - นิติเวช
'วิโรจน์' อัด 'เพื่อไทย' หงออำนาจลายพราง หลังสภาฯตีตกกม.โอนคดีทุจริตทหารไปศาลพลเรือน
นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาชน ในฐานะประธานคณะกรรมการกรรมาธิการการทหาร สภาผู้แทนราษฎร และ นายเอกราช อุดมอำนวย สส.กทม.พรรคประชาชน ในฐานะเลขานุการ กมธ. ร่วมแถลงภายหลังที่ประชุมรัฐสภา
มติรัฐสภา ตีตก ร่างกม.ป.ป.ช. โอนคดีทุจริตทหารสู่ศาลอาญาทุจริต
เสียงข้างมาก 415 เสียง ลงมติไม่เห็นชอบร่าง พ.ร.บ. ป.ป.ช. ฉบับแก้ไข ที่ให้โอนคดีทุจริตของบุคลากรในกองทัพจากศาลทหารไปยังศาลอาญาคดีทุจริตฯ ขณะเสียงข้างน้อยชี้ ปล่อยให้ศาลทหารพิจารณาคดีต่อ เท่ากับประวิงเวลาและขัดหลักความยุติธรรมสากล