‘ปธ.วันนอร์’ สั่งปิดประชุมรัฐสภา ยังไม่ทันถกปิดสวิตซ์ สว. เจอ ‘โรม’ ชงญัตติทบทวนมติห้ามเสนอชื่อบุคคลซ้ำเป็นนายกฯ ‘สว.’ ค้านทำไม่ได้
4 ส.ค. 2566 – ที่รัฐสภา ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา ออกหนังสือนัดประชุมในเวลา 09.30 น. โดยมีวาระพิจารณาการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ มาตรา 272 ยกเลิกอำนาจ สว. ในการเลือกนายกรัฐมนตรี แต่ปรากฎว่าเมื่อถึงเวลาดังกล่าวไม่สามารถเปิดประชุมได้ เพราะมีสมาชิกมาลงชื่อเพียง 239 คน ยังไม่ครบองค์ประชุม ซึ่งนายวันมูหะมัดนอร์ แจ้งว่าจะรอสักครู่
จากนั้นนายรังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวว่า ขอให้ประธานรอสมาชิกจนกว่าจะสามารถเปิดประชุมได้ และไม่เชื่อว่าจะมีสมาชิกไม่มาประชุม เพื่อให้องค์ประชุมล่ม แต่คิดว่าที่สมาชิกยังไม่มาครบเพราะการจราจรรอบๆรัฐสภาติดขัด เนื่องจากมีการปิดถนนฝั่งถนนสามเสน และมีตู้คอนเทนเนอร์วางกีดขวางอยู่
ต่อมาเวลา 10.08 น. นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวว่า ขณะนี้มีสมาชิกเข้าประชุม 345 คน แต่อยากให้ประธานกำชับเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกให้ สว. ลงชื่อเข้าร่วมประชุม เนื่องจากเห็นว่ามี สว.จำนวนมากรออยู่หน้าห้องประชุม ทุกคนกินเงินเดือน อุตส่าห์มาแล้วก็ขอให้ลงชื่อ ตนได้ยินเขากระซิบกันด้วยว่าลงชื่อไปแล้ว ทำไมอย่างไรดี ซึ่งอยากบอกว่าลงชื่อแล้วจะถอนชื่อไม่ได้ หรือจะให้ตนและส.ส.ก้าวไกลไปดูแลกำกับแทน แจ้งประชาชนให้ทราบว่า สส. รออะไรทำไมถึงยังไม่ประชุม ขอชี้แจงว่าตอนนี้ ส.ส. รอ สว.อยู่ ซึ่งตอนนี้ สว. มาลงชื่อเพียง 49 คนเท่านั้นเอง
จากนั้นเวลา 10.20 น. นายวันมูหะมัดนอร์ แจ้งต่อที่ประชุมว่าขณะนี้มีสมาชิกครบแล้ว 374 คน โดยนายรังสิมันต์ ลุกขึ้นเสนอญัตติด่วนด้วยวาจา อาศัยอำนาจตามข้อบังคับ ข้อ 32 (1) ขอให้ที่ประชุมรัฐสภาทบทวนมติของรัฐสภา เมื่อวันที่ 19 ก.ค. ห้ามเสนอชื่อบุคคลซ้ำเป็นนายกฯ ในคราวประชุมเดียวกัน
นายวันมูหะมัดนอร์ ชี้แจงว่า เรื่องนี้ที่ประชุมมีมติรัฐสภาเด็ดขาดแล้ว โดยวินิจฉัยตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ข้อ151 และขณะนี้ผู้ตรวจการแผ่นดินได้ส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมูญวินิจฉัยแล้ว ซึ่งศาลได้ชี้แจงไปแล้วว่าจะวินิจฉัยรับคำร้องหรือไม่ ในวันที่ 16 ส.ค. เมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยอย่างไร ก็ทำตามที่นายรังสิมันต์ได้ เรื่องนี้ไม่ควรที่จะพิจารณาตอนนี้ เพราะอาจติดขัดศาลรัฐธรรมนูญ
ขณะที่นายรังสิมันต์ยืนยันต้องพิจารณาญัตติที่เสนอ เพราะมีผู้รับรองถูกต้อง
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวว่า ญัตตินี้ไม่เกี่ยวกับเสนอชื่อบุคคลเป็นนายกฯ แต่ให้ทบทวนมติรัฐสภา อย่างไรก็ตาม อ่านข้อบังคับแล้วไม่มีข้อใดเขียนว่าเมื่อศาลรัฐธรรมนูญรับเรื่องแล้ว จะปิดกันการเสนอญัตติ ญัตตินี้อาจเป็นผลดีในความคลุมเครือที่เกิดขึ้น จึงขอให้เดินหน้าต่อ เพราะญัตติถูกต้องตามข้อบังคับ
ประธานที่ประชุม ชี้แจงว่า มติรัฐสภาเมื่อวันที่ 19 ก.ค. วินิจฉัยตามข้อบังคับการประชุม ข้อ151 ถือเป็นเด็ดขาด ดังนั้น จะทบทวนเรื่องเดิมจึงไม่ได้ ไม่เช่นนั้นการตัดสินของรัฐสภาก็จะทบทวนอยู่ตลอด
นายภราดร ปริศนานันทกุล ส.ส.อ่างทอง พรรคภูมิใจไทย และนายสมชาย แสวงการ สว. กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่ได้หารือ ถือว่าญัตติยังไม่ถูกต้อง ขอให้ประธานเปิดการประชุมเพื่อเข้าสู่ระเบียบวาระ แล้วในช่วงนั้นก็ค่อยเสนอญัตติ
จากนั้นประธานได้สั่งเปิดประชุม ในเวลา 10.38 น. โดยมีสมาชิก 519 คน ซึ่งนายรังสิมันต์ได้เสนอญัตติดังกล่าวอีกครั้ง ขณะที่นายวันมูหะมัดนอร์กล่าวยืนยันคำเดิมว่า นายรังสิมันต์ไม่สามารถทำได้ เพราะเป็นมติของรัฐสภา ตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ข้อ151 เป็นเด็ดขาด การจะมาทบทวนอีกแสดงว่าวันนั้นไม่เด็ดขาด ถ้าวันนี้จะเดินหน้าอีกถือว่าขัดต่อข้อ151
ขณะที่นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย และนพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ยืนยันให้เดินหน้าตามญัตติตามที่นายรังสิมันต์เสนอ ทำให้นายสมชาย แสวงการ สว. เสนอญัตติตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ข้อ 61 ว่า ญัตติของนายรังสิมันต์ไม่สามารถเสนอต่อที่ประชุมได้
จากนั้นสมาชิกหลายคนลุกขึ้นอภิปรายต่ออีก โดยไม่ฟังคำวินิจฉัยของประธานรัฐสภาที่จะให้เดินหน้าพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา272 ส่วนเรื่องการโหวตนายกฯ ให้รอความชัดเจนจากศาลรัฐธรรมนูญเสียก่อน โดยฝั่งพรรคก้าวไกลและพรรคเพื่อไทยยืนยันต้องทบทวนมติรัฐสภาเมื่อวันที่ 19 ก.ค. ส่วน สว. ขอให้ประธานดำเนินการลงมติตามญัตติที่เสนอค้างไว้
กระทั่งเวลา 11.27 น. นายวันมูหะมัดนอร์ ได้ตัดบทและกล่าวสั้นๆ ว่า ขอใช้อำนาจประธานในการวินิจฉัยเลื่อนการประชุมวันนี้ออกไปก่อน และสั่งปิดการประชุม
ทำให้การประชุมวันนี้ ที่ประชุมรัฐสภายังไม่ได้มีการพิจารณาการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ มาตรา 272.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ปธ.วันนอร์' เปิดประชุมร่วมสองสภา ถก 'พิธีสาร-กม.ป.ป.ช.'
'ประธานวันนอร์' เผยถกวิป 3 ฝ่าย ก่อนประชุมร่วมรัฐสภา เลื่อนพิจารณาพิธีสาร-กฎหมายป.ป.ช. พร้อมวางกรอบเวลาอภิปราย
ดร.ณัฏฐ์ ชี้ชัด 'ประชามติชั้นเดียว' แค่ยกแรก 'แก้รธน.ทั้งฉบับ' เจอด่านหิน-นโยบายขายฝัน!
“ดร.ณัฏฐ์” มือกฎหมายมหาชน ชี้ กลไกแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับผ่านด่านหินยาก แม้เพื่อไทยใช้เทคนิคช่องทางพ้น 180 วัน ผ่านร่าง พรบ.ประชามติ เป็นเพียงนโยบายในฝัน
มติ 153 สว. ยืนประชามติ 2 ชั้น! อบรม 'ไอติม' พูดได้ไงจะมีผู้รณรงค์ให้ปชช.นอนหลับทับสิทธิ์
สว. ยกมือพรึ่บ 153 เสียง ผ่านกม.ประชามติ ฉบับกมธ.ร่วมฯ ยึดเสียงข้างมากสองชั้น ก๊วนสว.พันธุ์ใหม่ โวยดัดจริต สองมาตรฐาน โธ่! "ไอติม" โชว์กึ๋นนักเรียนนอก บอกสองชั้นเปิดช่องรณรงค์ให้ประชาชนนอนหลับทับสิทธิ์ สว.สีน้ำเงิน สวนทันควันใครจะกล้าทำแบบนั้น
กกต. ยื้อเชือด 'หมอเกศ' สั่งสอบเพิ่มปมวุฒิการศึกษา
มีรายงานว่าที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีวาระพิจารณารายงานผลการตรวจสอบกรณีพญ.เกศกมล เปลี่ยนสมัย สมาชิกวุฒิสภา ถูกร้องว่ากระทำการหลอกลวงให้ผู้อื่นเข้าใจผิดในคุณสมบัติ
‘สว.เปรมศักดิ์’ โวย ‘รมต.’ เมินตอบกระทู้ ประชดต้องฟ้อง ‘รัฐมนเอก’ ปรับจาก ครม.
รัฐบาลน่าจะแสดงความรับผิดชอบให้รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องมาตอบ ส่วนกระทู้สดไม่ได้ถามเลยแม้แต่กระทู้เดียวโดยรัฐบาลอ้างว่ามอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยกระทรวงมหาดไทยมาตอบ แต่ทางรัฐมนตรีก็เลื่อนออกไปอีก
มติเอกฉันท์! ศาลรธน. ตีตก 7 คำร้อง ขอให้วินิจฉัยเลือก สว. ไม่ชอบ
ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ไม่รับ 7 คำร้องที่มีการร้องขอให้วินิจฉัยเกี่ยวกับการเลือกสมาชิกวุฒิสภา ประกอบด้วยคำร้องของนายสมบูรณ์ ทองบุราณ,นายวัฒนา ชมเชย ,ว่าที่ร.ต.วิชชุกร คำจันทร์ นายจิรัฎฐ์ แจ่มสว่าง,นายปรีชา เดชาเลิศ,นางฤติมา กันใจมา,