'ชัยธวัช' ท่องคาถา 8 พรรคร่วมมีภาระต้องจัดตั้งรัฐบาลเพื่อยุติการสืบทอดอำนาจของขั้วเดิม

'ชัยธวัช' ย้ำจุดยืนไม่เห็นด้วยหากศาลรธน.มีอำนาจเหนือรัฐสภา ตอกย้ำ 8 พรรคร่วมยังผนึกตัวเหนียวแน่น ท่องคาถาเป็นภาระฝ่ายประชาธิปไตยจัดตั้งรัฐบาลเพื่อยุติการสืบทอดอำนาจของขั้วเดิม

26 ก.ค.2566 - นายชัยธวัช ตุลาธน ส.ส.บัญชีรายชื่อ ในฐานะเลขาธิการพรรคก้าวไกล (ก.ก.) กล่าวถึงกรณีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา ออกมาระบุว่าอาจสามารถหารือในที่ประชุมรัฐสภาเพื่อทบทวนมติการเสนอชื่อเลือกนายกฯ ซ้ำได้ แต่ให้ยึดตามศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งผลวินิจฉัยของศาลมีผลผูกพันทุกองค์กร ว่าเราไม่เห็นด้วยหากศาลรัฐธรรมนูญจะมีอำนาจเหนือรัฐสภา ยกเว้นในส่วนที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ชัดเจน ว่าอำนาจของศาลอยู่ตรงไหน ดังนั้น จุดยืนของเราคือการนำเสนอทางออกให้กับสภา ว่าเมื่อมีความเห็นของสังคมว่ามติของรัฐสภาขัดต่อรัฐธรรมนูญ น่าจะใช้กลไกของรัฐสภาในการแก้ปัญหาของตนเองได้ ซึ่งควรใช้อำนาจของสภาเองในการแก้ไขปัญหานี้ ไม่เช่นนั้นเราที่ถือว่าเป็นตัวแทนของอำนาจอธิปไตย จะทำอะไรได้หรือไม่ได้ต้องไปถามศาลรัฐธรรมนูญทุกอย่าง มันไม่ควรจะเป็นแบบนั้น ซึ่งข้อเสนอในเรื่องนี้คงต้องเอาไปหารือกัน

เมื่อถามว่า พรรคก้าวไกล​ จะมีโอกาสพลิกในการกลับมาเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลหรือไม่ นายชัยธวัชกล่าวว่า คิดว่าทุกอย่างเป็นไปได้หมด แต่สิ่งที่เราอยากจะผลักดันตอนนี้ คือควรจะมีการปลดล็อกมติซึ่งขัดต่อรัฐธรรมนูญ ที่ทำให้การเสนอชื่อแคนดิเดตนายกฯ ซ้ำไม่ได้ หรืออาจจะทำได้แต่ก็เป็นไปด้วยความยากลำบาก ในส่วนนี้จะเป็นนเงื่อนไขที่บีบในการจัดตั้งรัฐบาลมีปัญหาได้ของ 8 พรรคร่วม ไม่ว่าจะเป็นแคนดิเดตนายกฯ จากพรรคใดก็ตาม เรื่องนี้คงไม่ใช่เรื่องของแคนดิเดตนายกฯ พรรคก้าวไกล​พรรคเดียว

เมื่อถามต่อว่า หากปลดล็อกเรื่องนี้ได้ พรรคก้าวไกล​ และ 8 พรรคร่วมจะสามารถเสนอชื่อนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล​ ซ้ำอีกครั้งหรือไม่ นายชัยธวัชกล่าวว่า ยังไม่ได้คุยกัน เบื้องต้นพรรคก้าวไกล​ได้ส่งไม้ต่อให้พรรคเพื่อ​ไทย​เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล

เมื่อถามว่า การประชุมร่วมกันของ 8 พรรคร่วมจะมีการนัดหมายอีกครั้งในวันไหน นายชัยธวัชกล่าวว่า ยังไม่ได้รับการประสานงานจากพรรคเพื่อ​ไทย​เนื่องจากมีการงดการประชุมสภาไปด้วย พรรคเพื่อ​ไทย​น่าจะต้องการระยะเวลาพอสมควรที่จะนำข้อเสนอเข้าที่ประชุม 8 พรรคอีกครั้ง

เมื่อถามถึงกระแสข่าวที่จะมีการฉีกเอ็มโอยู พรรคก้าวไกล​ ยังคงย้ำจุดยืนเดิมหรือไม่ นายชัยธวัชกล่าวว่า ต้องรออในที่ประชุม สำหรับพรรคก้าวไกล​จุดยืนเราชัดเจน ว่าพยายามอย่างดีที่สุดเพื่อให้การจัดตั้งรัฐบาลเป็นไปตามผลการเลือกตั้ง

ถามย้ำว่า ยังมั่นใจใช่หรือไม่ว่าจะไม่ไปถึงขั้นฉีกเอ็มโอยู นายชัยธวัชกล่าวว่า อย่าเพิ่งไปประเมิน แน่นอนการเมืองทุกอย่างเป็นไปได้ แต่ขอให้รอการประชุมดีกว่า

เมื่อถามว่า เมื่อการเลื่อนประชุมรัฐสภาเพื่อโหวตนายกฯ ถูกชะลอออกไป พรรคก้าวไกล​ จะช่วยหาเสียงสนับสนุนอย่างไร นายชัยธวัชกล่าวว่า เราพยายามพูดคุยกับ สว. ที่เราสามารถคุยได้ ถึงความเป็นไปได้ที่จะโหวตให้แคนดิเดตนายกฯ จากพรรคเพื่อ​ไทย​ คงต้องช่วยๆ กัน เพราะการจัดตั้งรัฐบาลเป็นภาระหน้าที่ของเราทุกคน

เมื่อถามถึงกรณีที่ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย ออกมาแสดงความคิดเห็นเชิงลบกับพรรคก้าวไกล​ได้มีการพูดคุยกันหรือไม่ว่าเกิดจากสาเหตุอะไร นายชัยธวัชกล่าวว่า ยังคงต้องเคารพความเห็นของทุกคน

เมื่อถามว่า พรรคก้าวไกล​และพรรคเพื่อ​ไทย​ยังมีความสัมพันธ์เป็นข้าวต้มมัดอยู่หรือไม่ นายชัยธวัชกล่าวว่า สิ่งสำคัญคือความต้องการและความคาดหวังจากประชาชน ที่อยากจะเห็นพรรคอันดับหนึ่งและอันดับสอง ซึ่งเป็นฝ่ายประชาธิปไตยจัดตั้งรัฐบาลร่วมกัน เพื่อยุติการสืบทอดอำนาจของขั้วอำนาจเดิม

เมื่อถามถึงกรณีที่หลายฝ่ายมองว่า ควรรออีก 10 เดือนเพื่อให้ สว.หมดวาระ ในทางปฏิบัติสามารถทำได้หรือไม่ นายชัยธวัชกล่าวว่า ในทางปฏิบัติทำได้ แต่อาจนานเกินไป อย่างไรก็ตามเชื่อว่า 8 พรรคการเมือง โดยเฉพาะพรรคอันดับหนึ่งและอันดับสองจับมือกันแน่น รัฐบาลเสียงข้างน้อยเป็นไปได้ยากกว่ารัฐบาลเสียงข้างมาก

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ปธ.'รูทีนตีนตุ๊กแก' ลั่นตำแหน่งนี้ สส. เลือกมา นิติบัญญัติ-บริหารต้องแยกกัน

'วันนอร์' ไม่หวั่นฝ่ายการเมืองเลื่อยขาเก้าอี้ประธานสภาฯ ย้ำเป็นอำนาจสมาชิกรัฐสภา ต้องแยกฝ่ายนิติบัญญัติ-บริหาร ชี้ตำแหน่งนี้ สส. เลือกมา ลั่นหากต้องการเปลี่ยนเสนอญัตติมาได้

'วันนอร์' ลุยถกแก้รธน. 14-15 ม.ค. ถือเป็นข่าวดีปีใหม่ หวังทันเลือกตั้งปี 70

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา กล่าวถึงการพิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ว่า ได้คุยกับวิป 3 ฝ่ายไปแล้วว่าเรามีร่างรัฐธรรมนูญที่แก้รายมาตรา 17 ฉบับ และยังมีร่างที่แก้ทั้งฉบับของพรรคประชาชน(ปชน.)

ศาลรธน. มีมติเอกฉันท์ ไม่รับคำร้อง ปมจำกัดสิทธิสมัคร สว.

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์มีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัจฉัย กรณีที่ นายเสฐียร ศรีเมือง (ผู้ร้อง) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 213 ดังนี้ 1.การกระทำของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)​