กระจ่าง! 'อดีตตุลาการศาล รธน.' ชี้ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจชี้ขาดข้อบังคับรัฐสภา

"จรัญ ภักดีธนากุล" อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ชี้ศาล รธน.ไม่สามารถรับวินิจฉัยข้อบังคับรัฐสภาขัด รธน.ได้ เพราะเป็นเรื่องเสียงข้างมากในสภาตัดสิน และไม่สามารถมีคำสั่งระงับหรือชะลอการดำเนินงานของรัฐสภาได้ เพราะเป็นสถาบันของชาติ ถือเป็นการก้าวก่ายเกินกรอบกฎหมาย ชี้ทางออก "วันนอร์" เรียกประชุมรัฐสภา ถามความเห็นจากที่ประชุมแล้วตัดสิน

24 ก.ค.2566 - นายจรัญ ภักดีธนากุล อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจที่จะรับเรื่องวินิจฉัยกรณีผู้ตรวจการแผ่นดินที่ยื่นเรื่องสู่ศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยกรณีรัฐสภาใช้ข้อบังคับการประชุมรัฐสภาที่ 41 ห้ามนำญัตติใดที่ตกไปแล้วนำมาพิจารณาใหม่ เพราะเรื่องนี้ไม่ใช่ประเด็นการละเมิดขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ เพียงแต่ รธน.มาตรา 149 อนุโลมว่า ข้อบังคับการประชุมรัฐสภาถ้ายังไม่ได้ประกาศใช้ สามารถส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบว่าจะขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือได้ แต่ถ้าเป็นข้อบังคับที่ประกาศใช้แล้ว ให้เป็นเรื่องภายในรัฐสภา ไม่มีเหตุที่จะให้ศาลรัฐธรรมนูญจะไปตรวจสอบว่าจะขัดแย้งรัฐธรรมนูญหรือไม่

ทั้งนี้ ศาลรัฐธรรมนูญไม่สามารถไปตีความ หรือ ตรวจสอบ ข้อบังคับของรัฐสภาได้ เพราะถือเป็นเรื่องภายในของรัฐสภา และพรบ.ประกอบรธน.ว่าด้วยการพิจารณาของศาลรธน.ก็ไม่ได้ให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญรับเรื่องลักษณะนี้มาพิจารณา ฉะนั้น มติของที่ประชุมรัฐสภาวันนั้นจึงเป็นไปตามข้อบังคับการประชุมและถูกต้องตามรธน. โอกาสที่ศาลรธน.จะรับมาพิจารณามองว่า คงสำเร็จน้อยมาก
ส่วนที่ผู้ตรวจการแผ่นดินขอให้ศาลรธน.มีคำสั่งให้รัฐสภารอการดำเนินการเกี่ยวกับการเสนอชื่อบุคคลให้รัฐสภาเห็นชอบเพื่อแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีไว้ก่อนจนกว่าศาลรัฐธรรมนูญมีข้อวินิจฉัยในเรื่องนี้ออกมา จึงไม่สามารถกระทำได้เพราะศาลรธน.ไม่มีอำนาจบังคับสถาบันรัฐสภา วุฒิสภา หรือสภาผู้แทนราษฎรเพราะถือเป็นสถาบันของชาติ ถ้าทำอย่างนั้นถือเป็นการกระทำที่เกินขอบเขตความมุ่งหมายของกฎหมาย และ ศาลรธน.เองก็ไม่มีเคยมีตัวอย่างคำสั่งแบบนี้มาก่อน แต่สามารถมีคำสั่งให้ สส. สว. หยุดปฏิบัติหน้าที่ได้

นายจรัญ กล่าวว่า ทางออกเรื่องนี้จึงอยู่ที่ประธานรัฐสภาที่จะเรียกประชุม และอาจหารือสมาชิกเพื่อเป็นการรับฟังว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อการที่ผู้ตรวจการแผ่นดินส่งเรื่องให้ศาลรธน. จากนั้นก็คงใช้มติของที่ประชุมรัฐสภาเป็นทางออกเพราะเรื่องนี้ถือเป็นกิจการในภารกิจของรัฐสภา เมื่อมีความขัดแย้งก็ให้ที่ประชุมวินิจฉัย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ศาลรธน. มีมติเอกฉันท์ ไม่รับคำร้อง ปมจำกัดสิทธิสมัคร สว.

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์มีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัจฉัย กรณีที่ นายเสฐียร ศรีเมือง (ผู้ร้อง) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 213 ดังนี้ 1.การกระทำของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)​

'นายแบกเพื่อไทย' ตบปาก 'นายกฯว่าว' โทษฐาน แนะ 'นายกฯอิ๊งค์' ใช้เวทีสภาฯ ลบคำครหาเรื่องโพย พึ่งพ่อ

นายอิราวัต อารีกิจ หรือ หมออั้ม นักเคลื่อนไหวทางการเมืองผู้สนับสนุนพรรคเพื่อไทย โพสต์ข้อความว่า พิธา แนะนายกฯอิ๊ง ให้ใช้เวทีสภาฯ แส

'ทักษิณ' เกทับ! เลือกตั้งครั้งหน้า กวาด สส.เชียงใหม่ ครบ 10 ที่นั่ง

นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้ช่วยหาเสียงให้ นายพิชัย เลิศพงศ์อดิศร หรือสว.ก๊อง ผู้สมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เชียงใหม่

47 เก้าอี้นายกฯอบจ. บ้านใหญ่ ลุ้นเข้าวิน-กินเรียบ!

คิกออฟ นับหนึ่งตั้งแต่จันทร์ที่ 23 ธ.ค.ที่เป็นวันแรกของการรับสมัครบุคคลที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งนายกฯ อบจ. 47 จังหวัดทั่วประเทศ รวมถึงที่ลงสมัครเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดทั่วประเทศ 76 จังหวัด

พรรคส้มดาวกระจาย สู้ศึกอบจ. ‘พิธา’ ชน ‘ทักษิณ’ ตรง ‘ประตูท่าแพ-ตลาดวโรรส’ จันทร์นี้

พรรคประชาชน(ปชน.)เตรียมตัวส่งผู้สมัครนายก อบจ.ตามจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ ในวันที่ 23 ธ.ค. โดยส่งระดับแกนนำและผู้ช่วยหาเสียงที่เป็นผู้นำจิตวิญญาณลงประกบตามพื้นที่ต่างๆ