
24 ก.ค.2566-นายสมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา(สว.) โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวหัวข้อ “เปลือยธาตุแท้:แนวทางอุดมการณ์ก้าวไกล” ตอนที่1 แก้รัฐธรรมนูญลดพระราชสถานะพระราชอำนาจพระมหากษัตริย์ และตอนที่2 พระมหากษัตริย์ถูกลดพระราชอำนาจต้องขอความเห็นชอบจากสภาผู้แทน
ตอนที่1 แก้รัฐธรรมนูญลดพระราชสถานะพระราชอำนาจพระมหากษัตริย์ ระบุว่า จากที่ผมเคยแสดงหลักฐานร่างแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา112 ของพรรคก้าวไกลที่เคยเสนอเข้าสภาผู้แทนราษฎร2ครั้งว่า เป็นการลดฐานะกฎหมายคุ้มครองพระมหากษัตริย์ในฐานะพระประมุขแห่งรัฐ เอาออกจากหมวดความผิดต่อความมั่นคง และลดโทษจนบางเบาต่ำกว่ากฎหมายหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดา อันเป็นที่มาส่วนหนึ่งทำให้สส.สว.ที่รู้เท่าทันจึงไม่ไว้วางใจให้นายพิธา จากพรรคก้าวไกลเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่30 แล้ว
หากยังพบความเคลื่อนไหวและการดำรงความมุ่งหมายที่กังวลยิ่งกว่า!!!
คือ ร่างเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ ของนายปิยะบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า คีย์แมนคนสำคัญ ปรมาจารย์ทางความคิดและอุดมการณ์การเมืองผู้ก่อตั้งพรรคอนาคตใหม่ คณะก้าวหน้า และผู้ช่วยหาเสียงพรรคก้าวไกล ที่น่าจะยังดำรงความมุ่งหมายเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญหมวด2 พระมหากษัตริย์ ที่เคยเผยแพร่ต่อสาธารณะเมื่อ2564 และอาจเตรียมยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญหมวดพระมหากษัตริย์ในอนาคตอันใกล้
โดยนายปิยะบุตร ได้เสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้ น่ากังวลใจอย่างยิ่ง ดังนี้ ร่างแก้ไขในมาตรา 3ให้ยกเลิกหมวด2
พระมหากษัตริย์ของรัฐธรรมนูญ2560 ตั้งแต่มาตรา6ถึงมาตรา24และใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา 6 พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศ ทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของปวงชน ชาวไทย และทรงเป็นกลางทางการเมือง การสืบทอดตำแหน่งพระมหากษัตริย์เป็นไปตามหลักการสืบราชสมบัติ ทางสายโลหิตตาม ที่ กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญนี้และกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์”
โดยผมจะค่อยๆทยอยอธิบายรายละเอียดรายมาตราให้พี่น้องประชาชนทราบ เพื่อให้เข้าใจถึงเจตนารมณ์อย่างแท้จริงว่า แนวทางอุดมการณ์ก้าวไกล ที่อ้างนั้น พวกเขาคิดแก้ไขรัฐธรรมนูญหมวดพระมหากษัตริย์เพื่อส่งเสริมหรือลดพระราชสถานะพระราชอำนาจ กันแน่? เพราะนับแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ได้เทอดทูนให้พระมหากษัตริย์ทรงอยู่เหนือความขัดแย้งทางการเมืองให้เป็นที่เคารพสักการะผู้ใดจะละเมิดมิได้ จะกล่าวหาหรือฟ้องร้องมิได้ เช่นระบุไว้ในมาตรา6 ของรัฐธรรมนูญปัจจุบัน
แต่ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของนายปิยะบุตร ผู้ช่วยหาเสียงพรรคก้าวไกล ได้ยกเลิกความทั้งหมดทิ้งและแก้ไขให้พระมหากษัตริย์ยังทรงต้องเป็นกลางทางการเมือง น่าจะถือว่าเป็นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่มีเจตนาแฝงเร้นและส่งผลลดทอนพระราชสถานะและพระราชอำนาจพระมหากษัตริย์ลง
กล่าวคือ 1)อ้างว่า กำหนดพระราชสถานะประมุขของรัฐ ศูนย์รวมจิตใจ และความเป็นกลางทางการเมือง ประเด็นนี้ไม่มีความจำเป็นต้องบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เพราะข้อเท็จจริงรับรู้ในสังคมไทยตั้งแต่ประวัติศาสตร์ชาติและจารีตประเพณีในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนั้น พระมหากษัตริย์เป็นพระประมุขและทรงเป็นศูนย์รวมทางจิตใจของพสกนิกรชาวไทยอยู่แล้วมาตลอด การเสนอเพิ่มเรื่องความเป็นกลางทางการเมืองนั้น เป็นหลักการพื้นฐานที่บังคับใช้ในลักษณะจารีตประเพณีในทางรัฐธรรมนูญ ไม่จำเป็นต้องเขียนไว้เป็นเพิ่มเติมในรัฐธรรมนูญอีกเช่นกัน
การแก้ไขเช่นนี้ จึงอาจเชมีเจตนาแฝงเร้นหรือใช้เพื่อโฆษณาชวนเชื่อว่า ทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์รวมจิตใจของปวงชนชาวไทยและเป็นกลางทางการเมืองอย่างแท้จริงนั้น แต่ในความเป็นจริง “สถาบันพระมหากษัตริย์ตามร่างนี้ จะเหลือเพียงแค่เป็น*สัญลักษณ์ของประเทศเท่านั้น พระราชอำนาจต่างๆที่เคยมีและรัฐธรรมนูญรับรองไว้ถูกจำกัดลงมาก และยังเป็นการนำการเมืองไปเกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์มากขึ้น“ ยังจะนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์และสภาผู้แทนราษฏรที่มาจากการเลือกตั้งได้ในอนาคต
2)รัฐธรรมนูญแก้ไขนี้เป็นการ *ลิดรอนพระราชอำนาจที่มีอยู่เดิม โดยกำหนดให้พระมหากษัตริย์ทรงมีอำนาจเท่าที่รัฐธรรมนูญกำหนดซึ่งย่อมเป็นไปไม่ได้ที่รัฐธรรมนูญจะเขียนได้ครอบคลุมทั้งหมด อีกทั้งยังต้องได้รับคำแนะนำความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีก่อนด้วย และยังถือเป็นการยกเลิก หลักการคุ้มครองสถาบันพระมหากษัตริย์ในรัฐธรรมนูญ ที่ได้วางหลักและกำหนดไว้อย่างชัดเจนแล้วนับตั้งแต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม ฉบับวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2475 ที่มีการคุ้มครองทั้งในส่วนที่เป็นสถาบันและในส่วนพระองค์ไว้
*กระทบกับพระราชสถานะ ความคุ้มครองที่รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบันที่ระบุไว้ในมาตรา 6 ว่า
“องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆมิได้” สอดรับกับแนวทางการเคลื่อนไหวแก้ไขหรือยกเลิกประมวลกฎหมายอาญามาตรา112 ที่มุ่งคุ้มครองสถาบันของพรรคก้าวไกล คณะก้าวหน้าและเครือข่ายมาตลอด
3)*เปลี่ยนกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ ให้เป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์
ในประเด็นนี้นับว่ามีปัญหาอย่างมากเนื่องจาก กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์เป็นกฎหมายเก่าแก่ของไทยที่กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวข้องกับวิธีการเลือกและแต่งตั้งพระรัชทายาท ลำดับการขึ้นครองราชย์สมบัติ ซึ่งเป็นเรื่องในส่วนสถาบันพระมหากษัตริย์ ที่รัฐธรรมนูญที่ผ่านมาและฉบับปัจจุบันได้ใช้ยอมรับกันมาตลอด โดยมีค่าบังคับใช้เท่ากับรัฐธรรมนูญ ไม่เคยเกี่ยวข้องในการกำหนดรายละเอียดต้องตราขึ้นเป็นพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับที่มาและอำนาจขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญหรือวิธีพิจารณาคดีอาญาของศาล
การเปลี่ยนให้กฎมณเฑียนบาลมาเป็นพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ อาจส่งผลร้ายแรงตามมา ที่ฝ่ายการเมืองจะสามารถเข้ามาแทรกแซงในการกำหนดเงื่อนไขหลักเกณฑ์และลำดับการขึ้นครองราชย์ได้อย่างง่ายดายโดยเสียงข้างมากในรัฐสภา อันส่งผลกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์ และถือเป็นการลดทอนพระราชอำนาจพระมหากษัตริย์ในเรื่องการสืบราชสมบัติหรือการสืบราชสันตติวงศ์ที่มีการใช้กฎมณเทียนบาลสืบเนื่องกันมาตลอดทุกรัชกาล
โปรดติดตามรายละเอียดในแต่ละมาตราในตอนต่อไป
จากนั้น สว.สมชาย โพสต์เปลือยธาตุแท้:แนวทางอุดมการณ์ก้าวไกล ตอนที่2 พระมหากษัตริย์ถูกลดพระราชอำนาจต้องขอความเห็นชอบจากสภาผู้แทน ระบุว่า มาตรา7ที่นายปิยะบุตรร่างขึ้นใหม่ในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญหมวด2 พระมหากษัตริย์ นั้นบัญญัติให้การกระทำของพระมหากษัตริย์ที่จะเกี่ยวข้องกับรัฐใดๆ จะต้องได้รับความเห็นชอบจากสภา ส.ส. ครม. หรือ
รมต. ก่อน **ชัดเจนมากว่า เป็นการลดทอนพระราชอำนาจอย่างแท้จริง
ตัวอย่าง เช่น หากจะทรงมีรับสั่งหรือให้โครงการพระราชดำริให้ความช่วยเหลือประชาชน จะกระทำมิได้ ต้องขอความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร หรือครม. ก่อน เท่านั้น หมายความว่าต้องขออนุญาตและได้รับอนุญาตก่อนจึงจะทรงทำได้ ? นอกจากนั้นยังเปลี่ยนพระราชโองการต่างๆที่เคยผ่านวุฒิสภาให้ไปใช้ ผ่านสภาเดียวคือสภาผู้แทนราษฎร โดยไม่มีวุฒิสภาอีกต่อไป เช่นเรื่องการประกาศสงคราม ให้ผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสาม การแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์การแต่งตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้พิพากษาศาลฎีกา ตุลาการศาลปกครองสูงสุด และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระให้เป็นอำนาจผ่านสภาผู้แทนราษฎรแทนวุฒิสภาที่จะถูกยกเลิกไป
*แนวคิดดังกล่าวถือเป็นการปรับพระราชสถานะและพระราชอำนาจใหม่ ของพระมหากษัตริย์ชัดเจน มาตรา7นี้เป็นอีก1ในหลายมาตรา ที่นายปิยะบุตร ผู้นำความคิดของกลุ่มพรรคอนาคตใหม่ ก้าวไกล ก้าวหน้า และเครือข่ายดำรงความมุ่งหมายไว้ในร่างรัฐธรรมนูญที่อาจเสนอเข้าสู่การพิจารณาในเร็ววัน ซึ่งเรื่องนี้เป็นการกระทบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างแน่นอน
ติดตามรายละเอียดในแต่ละมาตราในตอนต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'สว.ภิญญาพัชญ์' แนะรัฐบาลตั้งศูนย์บริหารแผ่นดินไหว รวมข้อมูลเป็นชุดเดียว
น.ส. ภิญญาพัชญ์ ศันสนียชีวิน สว. กล่าวถึงการรับมือแผ่นดินไหว ว่า สถานการณ์บานปลายไปมากแล้ว เกี่ยวกับการสื่อสารของรัฐบาลในภาวะวิ
สว. สวมหมวกนิรภัย ยืนไว้อาลัยเหตุตึก สตง.ถล่ม พบรอยร้าวอาคารรัฐสภา ไม่กระทบโครงสร้าง
สว. ยืนไว้อาลัยผู้เสียชีวิต เหตุแผ่นดินไหว พร้อมแจ้งผลตรวจสอบอาคาร มั่นคง-ปลอดภัย พบรอยร้าวไม่กระทบโครงสร้าง พร้อมจัดอุปกรณ์ความปลอดภัยเตรียมพร้อมให้ สว.ใช้ระหว่างอพยพเมื่อมีภัยพิบัติ
'สว.ปู' ออกโรงค้าน 'กาสิโน' กระตุกรัฐบาลอย่ามุ่งรายได้ ไม่สนหายนะ
นายวีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี สมาชิกวุฒิสภา (สว.) และอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทองและสมุทรสาคร โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ข่าวแผ่นดินไหว กลบกระแสข่าว Entertainment Complex หรือกาสิโนเสรี
สว.เปรมศักดิ์ เตรียมตั้งกระทู้สด ถาม นายกฯอิ๊งค์ ประสิทธิภาพแจ้งเตือนแผ่นดินไหว
สว.เปรมศักดิ์ยื่นกระทู้สดถามนายกฯพรุ่งนี้ ถึงความด้อยประสิทธิภาพในการแจ้งเตือนประชาชนรับมือแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงจนเกิดผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินประชาชนครั้งใหญ่ ซัดมีเครื่องมือพร้อมแต่ทำไมการแจ้งเตือนล้มเหลว
ประธาน สว. นำวิศวกรตรวจโครงสร้างอาคารรัฐสภาฝั่งวุฒิสภา ไม่พบรอยร้าว
นายมงคล สุระสัจจะ ประธานวุฒิสภา พร้อมด้วยนายนพดล อินนา สมาชิกวุฒิสภา(สว.) รองคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสมาชิกวุฒิสภาคนอื่นๆ
ศาลรัฐธรรมนูญ ฟัน 'สมชาย เล่งหลัก' พ้น สว.
ศาลรัฐธรรมนูญ ออกนั่งบัลลังก์ อ่านคำวินิจฉัยเรื่องพิจารณาที่ 38/2563 กรณีคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 82 ว่า สมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภาของนายสมชาย เล่งหลัก