'พิธา' อ้าง 27 ล้านเสียงมัด 'ก้าวไกล-เพื่อไทย' ตั้งรัฐบาลสกัดสืบทอดอำนาจ

22 ก.ค.2566 - นาย​พิธา​ ลิ้ม​เจริญ​รัตน์​ หัวหน้า​พรรค​ก้าวไกล​ โพสต์​คลิปผ่านเฟซบุ๊ก​ส่วนตัว ระบุว่า วันนี้ชัดเจนแล้วว่าองคาพยพฝั่งอนุรักษนิยมทั้งหมดไม่ยอมให้เราเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลโดยเอาเรื่องการแก้ไขมาตรา 112 มาเป็นเงื่อนไขข้ออ้าง แต่การที่ผมไม่สามารถเป็นนายกได้ ไม่ได้หมายความว่าความหวังของพวกเราในการเปลี่ยนแปลงประเทศจะสิ้นสุดลงเพียงเท่านี้

สิ่งสำคัญที่สุดไม่ใช่การที่ผมได้เป็นนายก แต่คือการจัดตั้งรัฐบาลตามเจตนารมณ์ของประชาชนที่ต้องการเปลี่ยนขั้วพลิกข้างหยุดยั้งการสืบทอดอำนาจของขั้วรัฐบาลเดิม

พิธาเป็นหรือไม่เป็นนายกไม่สำคัญ พรรคก้าวไกลเป็นหรือไม่เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลไม่สำคัญ แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือเสียงของประชาชน 27 ล้านเสียงที่แสดงออกผ่านการเลือกตั้งต้องมีความหมาย

พรรคก้าวไกลพร้อมสนับสนุนพรรคอันดับสองคือพรรคเพื่อไทยในการจัดตั้งรัฐบาลของประชาชนให้ได้ ตราบใดที่เรายังจับมือกันแน่น การสืบทอดอำนาจของกลุ่มขั้วอำนาจเดิมจะไม่มีวันสำเร็จ

ขอให้ประชาชนอย่าหมดหวัง ประเทศไทยวันนี้เดินมาไกลและจะไม่มีวันถอยกลับ เราจะไม่ปล่อยให้พวกเขาหมุนเวลาพาประเทศกลับสู่อดีตอีกต่อไป.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สส.เพื่อไทย ดี๊ด๊า ประเทศไทยมีระบบที่เป็นมาตรฐาน!

นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่าประชาชนที่ติดตามเรื่องนี้คงสบายใจขึ้นที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับ

'อิ๊งค์' ยิ้มรับ 'พ่อ-เพื่อไทย' รอดล้มล้างปกครอง ชาวเน็ตชี้จากนี้ไป 'ทักษิณ' ใส่เกียร์เหลิง

จากกรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย คำร้องที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ

ระทึกสุดขีด! 22 พ.ย. ศาลรธน.ลงมติ 'รับ-ไม่รับ' คำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง

คอนเฟิร์ม ศุกร์นี้ 22 พ.ย. 9 ตุลาการศาลรธน.นัดประชุมวาระพิเศษ หลังงดมาสองรอบ เตรียมนำหนังสือ-ความเห็นอัยการสูงสุด กางบนโต๊ะประชุม ก่อนลุ้นโหวตลงมติ”รับ-ไม่รับคำร้อง”คดีทักษิณ-เพื่อไทย โดนร้องล้มล้างการปกครองฯ

'แพทองธาร' โชว์วิชั่น การเมืองมีเสถียรภาพ ประเทศไทยจะดีขึ้น!

นายกฯ โชว์วิชั่น Forbes ไทยสงบ สันติ หวังรัฐบาลเปลี่ยน นายกฯเปลี่ยน แต่นโยบายเพื่อปชช.เดินหน้า บอกต่างชาติเจอคำถามแรกถามพ่อ-อาเป็นอย่างไร ย้ำการเมืองมั่นคง มีเสถียรภาพแน่นอน

ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 48: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)

ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476

ปักธง1ภาค1เก้าอี้นายกอบจ. ส้มเก็บชัยหรือระเนระนาด

นับถอยหลังสู่โค้งสุดท้ายของการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) อุดรธานี ซึ่งจะเกิดขึ้นในวันที่ 24 พ.ย.นี้ ระหว่าง นายคณิศร ขุริรัง ผู้สมัครจากพรรคประชาชน และนายศราวุธ เพชรพนมพร ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย