จบแล้ว! 'ชลน่าน' เผยใช้มติประชุมรัฐสภาชี้ขาดโหวต 'พิธา' รอบ 2 เตรียมฉีก MOU พร้อมตั้งรัฐบาลแทน

พรรคเพื่อไทยมีความพร้อม แต่ต้องรอให้ผ่านกระบวนการภายในพรรคฯก่อน ถ้าพรรคเพื่อไทยได้เป็นแกนนำตั้งรัฐบาล หลายเรื่องจะต้องเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะเนื้อหาสาระของ เอ็มโอยู ทั้ง 8 พรรคหลายเรื่องจะต้องเปลี่ยนแปลง แต่ไม่ใช่การยกเลิก เช่น ชื่อของนายพิธา จะต้องเปลี่ยนไปเป็นใคร การเติมเสียงพรรคที่9 พรรคที่10 การหาเสียง สว.มาสนับสนุนเพิ่มเติม

18 ก.ค.2566- รัฐสภา นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน หัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวภายหลังการประชุมวิป 3ฝ่าย ว่า ในการประชุมวันที่ 19 ก.ค. เมื่อเปิดประชุมแล้ว ตามมติ 8 พรรคร่วมรัฐบาลจะเสนอชื่อนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ให้โหวตนายกฯอีกรอบ โดยพรรคเพื่อไทย จะเป็นผู้เสนอชื่อนายพิธา แต่ถ้ามีคนเห็นต่างอยากให้ญัตติดังกล่าวตกไป ก็จะต้องมาอภิปรายถกเถียงกัน สุดท้ายคงต้องใช้วิธีการลงคะแนนตัดสิน ถ้าญัตติดังกล่าวตกก็ถือว่าจบไป ต้องไปนัดประชุมรอบใหม่

เมื่อถามว่าในกรณีที่ถ้าต้องมีการเสนอชื่อนายพิธาโหวตเป็นนายกฯรอบสาม จะต้องได้คะแนนในรอบสองเท่าไหร่ ถึงจะเสนอชื่อในรอบต่อไปได้ นพ.ชลน่าน กล่าวว่า กรณีนี้ทั้งพรรคเพื่อไทยและพรรคก้าวไกล เคยมีการคุยกัน โดยนายภูมิธรรม เวชยชัย รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ได้ยกตัวอย่างถึงการโหวตรอบสามว่า จะต้องมีแนวโน้มของสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป แต่ยังไม่ได้ข้อสรุป ซึ่งนายพิธาไปบอกว่าควรมีคะแนนเพิ่มขี้น 10 เปอร์เซนต์ หรือ 344-345 คะแนน แต่ถ้าดูคำว่า 10 เปอร์เซนต์ แล้วหมายความว่าจะต้องได้เพิ่มอีก 32 คะแนน เมื่อไปร่วมกับ 324 เสียงเดิมจากรอบแรก ก็จะต้องได้คะแนนถึง 356-360 ถึงจะเป็นไปตามเงื่อนไขที่นายพิธาพูดเอาไว้

นพ.ชลน่าน กล่าวว่า พรรคเพื่อไทยเคารพพรรคที่ได้คะแนนเสียงอันดับหนึ่ง แต่พรรคก้าวไกลยังไม่ประกาศ อย่างเป็นทางการในการให้พรรคอันดับสองขึ้นมาจัดตั้งรัฐบาล เพื่อไทยจะมาทึกทักว่าเป็นโอกาสของตัวเองไม่ได้ โดยความชอบธรรมจะต้องรอให้มีแถลงการณ์จากพรรคอันดับหนึ่ง มอบให้พรรคอันดับสองเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาล พรรคเพื่อไทยจึงจะบอกได้ว่าเสนอชื่อใครเป็นแคนดิเดตนายกฯ

เมื่อถามว่า พรรคเพื่อไทยต้องการเวลาในการหาเสียงสนับสนุนนานเท่าไหร่ เพื่อตั้งรัฐบาลหากชื่อของนายพิธา ยังไม่ผ่านการโหวตในรอบสอง นพ.ชลน่าน กล่าวว่า พรรคเพื่อไทยมีความพร้อม แต่ต้องรอให้ผ่านกระบวนการภายในพรรคฯก่อน ถ้าพรรคเพื่อไทยได้เป็นแกนนำตั้งรัฐบาล หลายเรื่องจะต้องเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะเนื้อหาสาระของ เอ็มโอยู ทั้ง 8 พรรคหลายเรื่องจะต้องเปลี่ยนแปลง แต่ไม่ใช่การยกเลิก เช่น ชื่อของนายพิธา จะต้องเปลี่ยนไปเป็นใคร การเติมเสียงพรรคที่9 พรรคที่10 การหาเสียง สว.มาสนับสนุนเพิ่มเติม ถ้าประธานรัฐสภา จะบรรจุญัตติเลือกนายกฯในสัปดาห์หน้าเราก็มีความพร้อม

ถามว่า สว.ยังยืนหลักการว่าถ้ายังมีพรรคก้าวไกลร่วมรัฐบาลก็จะไม่โหวตให้พรรคเพื่อไทย นพ.ชลน่าน กล่าวว่า เป็นแค่สถานการณ์สมมุติ การจะได้ 375 เสียง จะต้องดูว่า 8 พรรคร่วมรัฐบาลเห็นอย่างไร และพรรคเพื่อไทยมีสิทธิ์ที่จะปรับเปลี่ยนอะไรได้บ้าง รวมถึงการฟังเสียงของสว. องค์ประกอบเหล่านี้จะต้องนำมาประกอบกัน ดังนั้นอย่าเพิ่งไปคาดการณ์อะไรถึงขั้นนั้น

หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ยังกล่าวถึงกรณีที่น.ส.แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าครอบคัวเพื่อไทย ระบุว่าจะเสนอชื่อนายเศรษฐา ทวีสิน เป็นแคนดิเดตนายกฯในการเสนอชื่อโหวต หากนายพิธาไปต่อไม่ได้ นพ.ชลน่าน กล่าวว่า เป็นความเห็นของน.ส.แพทองธาร จะต้องนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมพรรคฯก่อน ส่วนชื่อของนายเศรษฐาจะสามารถนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมรัฐสภาในวันที่ 19 ก.ค.ได้ทันทีหรือไม่ หากชื่อของนายพิธาไม่ผ่าน นั้น ในทางปฏิบัติไม่ควรยื่นญัตติซ้อนไป เพราะชื่อของนายเศรษฐาไม่เคยเอาเข้าสู่ที่ประชุมของ 8 พรรคร่วมฯ เพื่อหารือกันมาก่อน อย่างไรก็ตามคงต้องรอดูเหตุการณ์ในวันที่ 19 ก.ค. อีกครั้ง.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘ภูมิธรรม’ รีบออกตัว ‘ชาญ’ ชนะ เหตุ พท.ปรับการทำงาน ไม่เกี่ยวมนต์ขลังทักษิณ

‘ภูมิธรรม’ ชี้ ‘ชาญ’ ชนะนายกอบจ.ปทุมธานี เหตุ พท.ปรับกระบวนการทำงาน แต่ขออย่าหลงระเริง บอกไม่เกี่ยวมนต์ขลัง ‘ทักษิณ’ แซะ ‘นิด้าโพล’ ให้คะแนนนิยมก้าวไกลนำ เหมือนฟันธงให้ ‘บิ๊กแจ๊ส’ เข้าวิน ลั่น ถ้าทำตามโพล ประเทศล่มสลายแน่

‘อุ๊งอิ๊ง’ แสดงความยินดี ‘ลุงชาญใจดี’ ได้เป็น นายก อบจ.ปทุมธานี

อิ๊งค์และพรรคเพื่อไทยยินดีอย่างยิ่งที่ได้ทำงานร่วมกัน และเชื่อว่าชาวปทุมจะได้รับการดูแลจากคนที่ตั้งใจทำงานจริง

‘ชาญ’ ขอบคุณ ‘ทักษิณ-พท.’ สนับสนุน บอกชาวปทุมฯ จากนี้จะเห็นการเปลี่ยนแปลง

การเมืองต้องมีแพ้มีชนะ 4 ปีจากนี้ไปพี่น้องชาวจังหวัดปทุมธานีต้องเห็นการเปลี่ยนแปลงและการศึกษาของลูกหลานชาวจังหวัดปทุมธานีต้องมาเป็นอันดับแรก

ดัชนีการเมืองไทยร่วง! ปากท้องฉุดเรตติ้งรัฐบาล 'เศรษฐา' ตามหลัง 'พิธา'

วนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “ดัชนีการเมืองไทย ประจำเดือนมิถุนายน 2567” กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2,367 คน