มติ 8 พรรคร่วม ส่งชื่อ "พิธา" ชิงนายกฯต่อ ชี้ยังไม่มีชื่อสำรองหากวืดเก้าอี้ มั่นใจสว.ที่ไม่ได้มาโหวตรอบแรกจะสนับสนุนเสียงเพิ่ม ไม่กังวลศาลตัดสินหุ้นสื่อ
17 ก.ค.2566 - เวลา 18.30 น. ที่อาคารไทยซัมมิท นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรค และแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีพรรคก้าวไกล พร้อมด้วยแกนนำพรรคร่วมอีก 7 พรรค อาทิ นายชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรคก้าวไกล, นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย, นายภูมิธรรม เวชยชัย รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย, นายทวี สอดส่อง เลขาธิการ พรรคประชาชาติ, พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวช พรรคเสรีรวมไทย, นายปิติพงศ์ เต็มเจริญ หัวหน้าพรรคเป็นธรรม, นายสุพันธุ์ มงคลสุธี รองหัวหน้าพรรคไทยสร้างไทย, นายวสวรรธน์ พวงพรศรี หัวหน้าพรรคเพื่อไทรวมพลัง และตัวแทนจากพรรคพลังสังคมใหม่
โดยนายพิธากล่าวภายหลังการหารือของ 8 พรรคร่วมในวันนี้ ว่า การหารือของ 8 พรรคร่วมในวันนี้ มีข้อสรุปอยู่ 3 ข้อ ได้แก่ 1.วันที่ 19 ก.ค.ที่จะถึงนี้ 8 พรรคมีมติส่งตนเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศไทย 2.การหารือในเรื่องเกี่ยวกับการยื่นแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 272 ของพรรคก้าวไกล ซึ่งเป็นสิ่งที่พรรคก้าวไกลได้เสนอเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับอีก 7 พรรคที่เหลือ 3.หารือในข้อบังคับรัฐสภา ข้อที่ 41 ที่มีกระแสข่าวว่าวุฒิสภา (ส.ว.) จะตีความตามข้อบังคับข้างต้น ซึ่งในที่ประชุมมีความเห็นทางกฎหมายว่าไม่น่าจะเข้าข่าย เป็นเรื่องเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ ไม่เกี่ยวกับข้อบังคับแต่อย่างใด ไม่ถือว่าเป็นญัตติ ในการเสนอชื่อผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ที่อาจจะมองเห็นต่างกับส.ว.ในเรื่องนี้ อีกทั้งยังมีการเตรียมการในส่วนของรายละเอียดในการเข้าสู่วันที่ 19 ก.ค.ที่จะถึงนี้
เมื่อถามว่า จะตั้งหลักอย่างไร หากวันที่ 19 ก.ค. มีเสียงสนับสนุนไม่เพียงพอ นายพิธา กล่าวว่า อย่างที่ได้แถลงผ่านวิดีโอไป หากสมรภูมิแรก ถ้าคะแนนไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ เราก็พร้อมที่จะถอยให้กับประเทศชาติ ถอยให้พรรคอันดับ 2 ที่อยู่ใน MOU ร่วม ซึ่งก็คือพรรคเพื่อไทย ขณะเดียวกันยังมีเรื่องของม.272 ที่ได้ยื่นเข้าไปแล้ว และต้องบรรจุภายใน 15 วัน ซึ่งต้องมาดูกันอีกทีว่าเป็นการเสนอของพรรคก้าวไกลเพียงพรรคเดียว ไม่ได้ผูกมัดกับพรรคอื่น
เมื่อถามต่อว่า หากมีการตีความตามข้อบังคับรัฐสภา ที่ทำให้ไม่สามารถเสนอชื่อนายพิธาซ้ำได้ ทาง 8 พรรคจะดำเนินการอย่างไรในวันนั้น นายพิธา กล่าวว่า มีข้อสรุปในทางกฎหมายเพียงฝ่ายของเรา พรุ่งนี้จะมีการประชุมวิปอีกครั้ง ซึ่งถ้ามีการประชุมวิปก็น่าจะเห็นตรงกัน
เมื่อถามถึงความสัมพันธ์ของพรรคร่วม ในขณะนี้เป็นอย่างไรบ้าง นายพิธา กล่าวว่า เป็นไปได้ด้วยดี มีความพยายามที่จะตั้งรัฐบาลของประชาชนให้ได้ จึงมีมติที่จะเสนอชื่อตนเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง
ซักว่า มีความต้องการเสียงสนับสนุนจากพรรคชาติไทยพัฒนา หรือไม่ นายพิธา กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวยังไม่เป็นมติของ 8 พรรค
ถามอีกว่า ได้มีการเตรียมชื่อสำรองไว้หรือไม่ กรณีที่ชื่อของนายพิธาไม่สามารถเสนออีกต่อไปได้ นายพิธา กล่าวว่า ยังไม่มี ยังเป็นชื่อตนเพียงคนเดียวอยู่
เมื่อถามถึงความคืบหน้าของการหาเสียงสนับสนุนจากส.ว. ในการโหวตให้นายพิธาเป็นนายกรัฐมนตรี นายพิธา กล่าวว่า หลังจากวันที่ 13 ก.ค.ที่ผ่านมา ได้มีการพูดคุยกับส.ว. โดยมีทั้งคนที่ไม่ได้มาร่วมโหวตออกเสียงในวันนั้น ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าจะโหวตสนับสนุน
ถามต่อว่านายพิธาได้ต่อสายตรงคุยกับแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลเดิม ท้อเท็จจริงและท่าทีเป็นอย่างไร นายพิธากล่าวว่า เป็นเรื่องปกติที่หารือถึงประเด็นทางการเมืองกับเพื่อนส.ส. และส.ว. ในสภา หรืออยากจะหาข้อมูลก็จะมีการพูดคุยกัน ไม่มีการเชิญเข้าร่วมรัฐบาล ซึ่งที่มีกระแสข่าวออกมาว่าคุยกับทุกพรรค ยกเว้นพรรคลุง ได้มีโอกาสพูดคุยว่าสถานการณ์นี้มีความคิดเห็นอย่างไร เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางการเมือง ไม่มีการโทรไปขอคะแนนเสียง ยืนยันเป็นการพูดคุยแลกเปลี่ยนทางการเมือง ไม่มีการพูดถึงเรื่องการขอเสียงสนับสนุน เป็นเรื่องปกติที่มีการคุยกับหัวหน้าพรรคทุกพรรค ไม่ใช่มาเริ่มพูดคุยสัปดาห์นี้ ส่วนที่มีรายงานข่าวว่านายพิธาโทรไปเพื่อขอคะแนนเสียงนั้น นายพิธากล่าวว่า ยังไม่เห็นรายละเอียด เป็นแค่การหารือประเด็นการเมือง
ซักว่า การโหวตนายกฯ ครั้งที่ 2 หากตัวเลขไม่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญก็จะมีการวางมือให้พรรคอันดับ 2 ส่วนตัวเลขที่มีนัยยะสำคัญจะเป็นตัวเลขที่เท่าไหร่ นายพิธากล่าวว่า ตนคิดว่าถ้าให้เหมาะสมต้องเพิ่มขึ้นเป็น 344-345 เสียง ก็น่าจะเป็นตามลักษณะนี้ ไม่ได้ตั้งใจที่จะกั๊กไว้ว่าเป็นนัยยะสำคัญที่ไม่ได้คิดตัวเลขไว้ในใจ ก็จะเป็นตัวเลขที่ไม่ฝืนสายตาประชาชน ส่วนการโหวตนายกฯ รอบ 2 ที่จะมีการเสนอชื่อนายกฯ แข่ง มีการประเมินเรื่องนี้อย่างไรนั้น จากที่ได้ฟังสัมภาษณ์จากพรรคเสียงข้างน้อย ทุกคนพูดว่ารัฐบาลเสียงข้างน้อยเป็นไปไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นนายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย (ภท.) นายธนกร วังบุญคงชนะ รองหัวหนเาพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) นายอนุชา นาคาสัย ส.ส.ชัยนาท พรรค รทสช. จากที่เห็นในสื่อก็คิดว่าเป็นไปไม่ได้ ส่วนเสียงที่จะได้เพิ่มมาในการโหวตนายกฯ ครั้งที่ 2 จะเป็นทั้งจากส.ว. และส.ส. ก็ต้องรอดูด้วยกัน ตนก็ยังทำงานในช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา ไม่ได้ทิ้งไปและตนยังสู้อยู่
กระแสข่าวว่าจะมีการเสนอชื่อพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) แข่งนายกฯ สามารถรวมเสียงได้หรือไม่ นายพิธากล่าวว่า ต้องฝากนักข่าวไปถามพล.อ.ประวิตร ส่วนที่มีกระแสข่าวว่ามีการเรียกส.ส.ไปพูดคุยเพื่อซื้องูเห่านั้น ทางฝั่งของพรรค ก.ก. ได้ติดตามและคอยเช็กตลอด มั่นใจว่าทุกคนได้รับบทเรียนของการเป็นงูเห่า ยืนยันว่าพรรค ก.ก. ไม่มี และคิดว่าทางพรรค พท. ก็จะเป็นแบบนั้นเช่นกัน
เมื่อถามถึงกรณีหากพรรค ก.ก. ยอมถอยเรื่องแก้ไขมาตรา 112 เพื่อให้พรรคอื่นที่ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขมายกมือโหวตให้ นายพิธากล่าวว่า ในมุมของตน สิ่งที่ตนคิดว่ามาตรา 112 เป็นข้ออ้างที่อยู่ข้างหน้า แต่ว่าข้างหลังก็คงมีหลายเรื่อง ตามที่สื่อมวลชนวิเคราะห์ในหลายรายการ ก็เห็นตรงกันว่าจริง ๆ แล้วมีหลายเรื่องที่จะไปมีผลกระทบต่อสัมปทานและผลประโยชน์การปฏิรูปกองทัพ กอ.รมน. ที่พรรค ก.ก. ต้องการ ที่จะให้ถ่างออกจากการเมืองให้ได้ ซึ่งเชื่อว่ามาตรา 112 ก็เป็นเรื่องที่อ่อนไหว เป็นเรื่องที่สำคัญ แต่ก็ไม่ใช่ทุกอย่าง คิดว่าถ้าเรื่องนี้หายไปเรื่องอื่นก็จะมาอีกทาง เรื่องที่สำคัญคือตนต้องการที่จะรักษาคำพูด ก่อนหาเสียงพูดไปอย่างไร หลังหาเสียงก็ไม่ใช่ว่าต้องการที่จะเข้าสู่อำนาจด้วยทุกวิถีทาง ถ้าเป็นเรื่องที่มีน้ำหนักจริงก็อาจจะคิด แดต่ตนคิดว่าไม่ใช่เรื่องที่มีน้ำหนักเท่ากับเรื่องต่างๆ ที่อาจจะไปกระทบต่อผลประโยชน์ของแต่ละคน
ถามถึงการรับมืออย่างไรหากถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสิน นายพิธากล่าวว่า ผลจะออกมาอย่างไรก็แล้วแต่ ไม่ได้ทำให้ความเป็นแคนดิเดตนายกฯ ของตนหายไป เมื่อเทียบกับกรณีของนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ในขณะนั้น ไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวลใจแต่อย่างใด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
2 ตุลาการศาลรธน.เสียงข้างน้อย รับคำร้อง 'ทักษิณ' สั่งรัฐบาลเอื้อประโยชน์ฮุนเซน น่าจะเกิดผลใช้สิทธิล้มล้างปกครองฯ
จากกรณีนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 10 ต.ค.2567 ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 กล่าวอ้างว่า นายทักษิณ ชินวัตร (ผู้ถูก
'แก้วสรร' แนะ 'ธีรยุทธ' ปรับยุทธวิธี เสริมความแกร่งของสำนวนมุ่งไปที่ กกต.-ปปช.
หลังตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย กรณีที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ
แก้วสรร : ประเมินคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ
แก้วสรร อติโพธิ เผยแพร่บทความเรื่อง "ประเมินคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ" โดยมีเนื้อหาดังนี้
ศาลรธน.ยกคำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง เอกฉันท์ 5 ประเด็นเว้นประเด็น 2
จากกรณีที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 10 ต.ค. ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย
รองเลขาฯเพื่อไทย ฟาดกลับ 'ไอซ์ รักชนก' แซะแจกเงินหมื่นช่วงเลือกตั้งนายก อบจ.
น.ส.ลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ สส.บัญชีรายชื่อ และรองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย โพสต์ข้อความผ่าน X ว่า ใจเย็นๆ นิดนะคะ รัฐบาลตั้งใจส่งเงินหมื่นกระตุ้นเศรษฐกิจ ถึงมือกลุ่มเป้าหมายให้เร็วที่สุด
ระทึกสุดขีด! 22 พ.ย. ศาลรธน.ลงมติ 'รับ-ไม่รับ' คำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง
คอนเฟิร์ม ศุกร์นี้ 22 พ.ย. 9 ตุลาการศาลรธน.นัดประชุมวาระพิเศษ หลังงดมาสองรอบ เตรียมนำหนังสือ-ความเห็นอัยการสูงสุด กางบนโต๊ะประชุม ก่อนลุ้นโหวตลงมติ”รับ-ไม่รับคำร้อง”คดีทักษิณ-เพื่อไทย โดนร้องล้มล้างการปกครองฯ