8 ธ.ค.2564 - ที่ทำเนียบรัฐบาล พญ.สุมนี วัชรสินธุ์ ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค ในฐานะผู้ช่วยศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. แถลงสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศไทยว่าสำหรับสถานการณ์การระบาดของเชื้อโอมิครอนทั่วโลก มีผู้ติดเชื้อแล้ว56 ประเทศ โดยทั้ง 56 ประเทศยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตจากเชื้อดังกล่าว ส่วนผู้ติดเชื้อในไทยขณะนี้มีรายงานเข้ามา 3 ราย รายที่ 1 เป็นชายอายุ 35 ปี สัญชาติอเมริกัน ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้รายงานเมื่อวันที่ 6 ธ.ค. ไปแล้ว ซึ่งรายดังกล่าวไม่มีอาการและอยู่ระหว่างการกักตัวที่โรงพยาบาล
สำหรับวันนี้มีรายงานเพิ่มอีก 2 ราย เป็นกลุ่มล่ามที่เข้าร่วมประชุมคริสตจักรที่ประเทศไนจีเรียระหว่างวันที่ 13-23 พ.ย. ซึ่งในกลุ่มนี้มีผู้ร่วมคณะทั้งหมด 20 คน เป็นคนไทย 3 คน โดยผู้ติดเชื้อรายที่ 2 และ 3 เป็นหญิงไทยอายุ 36 ปี และ 46 ปี
สำหรับคนไทยอีกหนึ่งรายเมื่อประชุมเสร็จได้เดินทางต่อไปประเทศสวีเดน ทำให้มีผู้เดินทางเข้าประเทศไทยเพียง 2 ราย ทั้ง 2 รายได้ตรวจ RT-PCR ที่ไนจีเรียเมื่อวันที่ 21 พ.ย. ผลเป็นลบ จากนั้นวันที่ 23 พ.ย.ขณะที่จะเดินทางกลับเริ่มมีอาการเจ็บคอเล็กน้อยและไอ เมื่อเดินทางถึงไทยวันที่ 23 พ.ย.ได้เข้าสู่ระบบการกักตัวทันที เนื่องจากทั้ง 2 คนไม่ได้ฉีดวัคซีนและไม่ได้มาจาก 63 ประเทศต้นทาง เมื่อกักตัวผลตรวจ RT-PCR ผลเป็นบวกทั้งคู่ จึงย้ายไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลจนครบกำหนดวันที่ 5 ธ.ค. แต่เนื่องจากวันที่ 26 พ.ย. องค์การอนามัยโลก ประกาศให้เชื้อโอมิครอนเป็นสายพันธุ์น่ากังวล จึงนำตัวอย่างจากทั้ง 2 รายที่เดินทางจากทวีปแอฟริกามาตรวจเพิ่มเติม ผลพบว่ามีความเป็นไปได้สูงมาก ว่าจะติดเชื้อโอมิครอน ขณะนี้อยู่ขั้นตอนการถอดรหัสพันธุ์กรรมเพื่อยืนยันว่าเป็นโอมิครอน โดยผลจะออกภายใน 1-2 วันนี้ ระหว่างนี้กรมควบคุมโรคได้สอบสวนโรคเพิ่มเติมพบว่าทั้ง 2 ราย ระหว่างไปประชุมที่ไนจีเรียทำกิจกรรมโดยไม่สวมหน้ากากอนามัย ประกอบกับไม่ได้รับวัคซีนทั้งคู่ ทำให้มีโอกาสเสี่ยงสูงได้รับเชื้อ พร้อมกันนี้ได้สอบสวนผู้สัมผัสใกล้ชิดกับ 2 รายถ้ามีความคืบหน้าจะนำเรียนให้ทราบต่อไป
พญ.สุมนี กล่าวว่า แม้ว่าทั้ง 2 ราย จะรักษาตัวจนครบเมื่อวันที่ 5 ธ.ค.ที่ผ่านมา แต่เราได้มีการติดต่อให้คุมสังเกตตัวอีก 7 วันเพื่อสังเกตอาการ สำหรับหญิงไทยที่ร่วมคณะไปไนจีเรียและเดินทางต่อไปยังสวีเดน จากการตรวจสอบพบเชื้อด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตามการแพร่เชื้อโอมิครอนในปัจจุบันมาตรการส่วนบุคคลยังคงใช้ได้เสมอ จึงขอให้ประชาชนคุมเข้มมาตรการ เพราะเชื้อโรคไม่มีทางทะลุหน้ากากอนามัยออกมาภายนอกได้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ศูนย์จีโนมฯ จับตาโอมิครอน KP.2.3/XEC ลูกผสมพันธุ์ใหม่ แพร่เร็วกว่าเดิม 2 เท่า
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โอมิครอน KP.2.3/XEC : ลูกผสมสายพันธุ์ใหม่แพร่เร็วกว่าเดิม 2 เท่า
ศูนย์จีโนมฯ แนะนำ JN.1.4 โอมิครอนตัวล่าสุดที่จะมาแทนที่ JN.1
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
ศูนย์จีโนมฯ อัปเดตผลทดลอง 'วัคซีนโควิด' รุ่นล่าสุด 'XBB.1.5 โมโนวาเลนต์'
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า องค์การอนามัยโลกระบุวัคซีนโควิด-19 เจนเนอเรชั่นล่าสุด “XBB.1.5 โมโนวาเลนต์”
'ศูนย์จีโนม' ผวา! พบโอมิครอน 'กลายพันธุ์คู่-พลิกขั้ว' เพิ่มอีกตำแหน่ง
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า น่ากังวล! กลุ่มโอมิครอนกลายพันธุ์คู่-พลิกขั้ว “L455F + F456L”
ผวา! โอมิครอน BA.2.86 ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกยกระดับเฝ้าใกล้ชิด
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ผลการทดลองจากหลายห้องปฏิบัติได้ออกมายืนยันตรงกันว่าโอมิครอน BA.2.86
ศูนย์จีโนมฯ ไขข้อข้องใจ! โควิด EG.5.1 ระบาดรุนแรงแทนที่ XBB.1.16 หรือไม่
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โอมิครอน EG.5.1 (XBB.1.9.2.5.1) จะมีการระบาดเกิดอาการรุนแรงและเข้ามาแทนที่ XBB.1.16 หรือไม่