เอวัง! 'ชลน่าน' เผย 'ชัยธวัช' ตอบในที่ประชุม 8 พรรคไม่ได้มีเสียงส.ว.หนุน 'พิธา' เท่าไหร่ บอกแค่ 'พยายาม'

ไม่ได้รับคำตอบจากคุณชัยธวัช ซึ่งเราได้ถามในที่ประชุมไป คุณชัยธวัชก็บอกว่าพยายาม ส่วนจะครบหรือไม่ครบนั้น คุณชัยธวัชไม่ได้ยืนยันเป็นตัวเลข

11 ก.ค.2566 – ที่รัฐสภา นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน และหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงผลการประชุมแปดพรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาล ว่า เรื่องแรกที่เข้าสู่การประชุม ในการพิจารณาหารือ คือการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 12 ก.ค. และประชุมร่วมรัฐสภาในวันที่ 13 ก.ค. โดยการประชุมในวันที่ 12 ก.ค. เป็นการประชุมประเด็นที่มีในระเบียบวาระการประชุมสภา โดยทางแปดพรรคร่วมเห็นว่าสมัยประชุมสมัยแรกซึ่งตามรัฐธรรมนูญกำหนดวันแรกคือ พิธีเปิดสมัยประชุมเมื่อวันที่ 3 ก.ค. โดยมีระยะเวลา 120 วัน ซึ่งจะไปสิ้นสุดในวันที่ 30 ต.ค. ส่วนสมัยที่สองน่าจะกำหนดเริ่มประมาณวันที่ 12 ธ.ค. อีกแนวคิดเสนอเป็นวันที่ 1 ม.ค. 67 แต่ทางวิปจะเห็นด้วยหรือไม่นั้นก็ต้องไปพิจารณากัน นอกจากนั้น ที่ประชุมยังเห็นว่าจะให้เพิ่มวันประชุม จากเดิมที่มีแค่สองวันคือวันพุธและวันพฤหัสบดี โดยจะเพิ่มเป็นวันอังคาร เริ่มเวลา 13.30 น. เนื่องจากในช่วงเช้าจะเป็นการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)

นพ.ชลน่าน กล่าวต่อว่า ส่วนการประชุมร่วมรัฐสภา ในวันที่ 13 ก.ค.นั้น เพื่อลงมติให้ความเห็นชอบนายกรัฐมนตรี ทั้งแปดพรรคยืนยันชัดเจนให้ความเห็นชอบนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าและแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีพรรคก้าวไกล (ก.ก.) เป็นนายกรัฐมนตรี โดยที่ประชุมมอบหมายให้พรรคเพื่อไทยเป็นผู้เสนอชื่อ ดังนั้น ตนจะเป็นคนเสนอชื่อนายพิธาต่อที่ประชุมเอง โดยที่ประชุมร่วมรัฐสภาจะเปิดให้สมาชิกที่มีข้อซักถามสามารถซักถามคนที่มีชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีได้

เมื่อถามว่า ที่ประชุมได้พูดคุยถึงวิธีการโหวตนายกรัฐมนตรีหรือไม่ นพ.ชลน่าน กล่าวว่า ยอมรับว่าในที่ประชุมมีการหารือกันวิธีการโหวตนายกรัฐมนตรีโดยให้ ส.ส. 500 คนโหวตก่อน และให้ 250 ส.ว.โหวตต่อ แต่เห็นว่าหากเสนอเป็นญัตติให้ที่ประชุมรัฐสภาพิจารณาเรื่องนี้ ที่ประชุมเห็นว่าอาจจะทำให้บรรยากาศของการประชุมในวันดังกล่าวสร้างบรรยากาศที่ติดขัด สร้างความระแวงสงสัย จึงสรุปว่าอะไรที่จะทำให้บรรยากาศที่ประชุมไม่ดี เราจะหลีกเลี่ยง และยืนยันที่จะทำตามรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ในการโหวตโดยให้สมาชิกรัฐสภาโหวตเรียงตามอักษร

ถามว่า ที่ประชุมมีการสอบถามเรื่องเสียงส.ว.ที่จะสนับสนุนนายพิธาหรือไม่ นพ.ชลน่าน กล่าวว่า มีการสอบถามกัน ซึ่งทางนายชัยธวัช ตุลาธน ส.ส.บัญชีรายชื่อ และเลขาธิการพรรคก.ก. ตอบในมุมที่อยู่บนพื้นฐานความพยายามที่จะประสานและหาเสียงสนับสนุนให้ได้มากที่สุด แต่ไม่ได้ระบุว่ามีจำนวนเท่าใด

ซักว่า หากฟังจากสิ่งที่นายชัยธวัชชี้แจง แสดงว่ายังได้เสียงสนับสนุนจากส.ว.ไม่ครบเท่าจำนวนที่ต้องการใช่หรือไม่ นพ.ชลน่าน กล่าวว่า ไม่ได้รับคำตอบจากนายชัยธวัช ซึ่งเราได้ถามในที่ประชุมไป นายชัยธวัชก็บอกว่าพยายาม ส่วนจะครบหรือไม่ครบนั้น นายชัยธวัชไม่ได้ยืนยันเป็นตัวเลข

เมื่อถามว่า ในที่ประชุมได้มีการพูดคุยถึงการรับมือกับกลุ่มผู้ชุมนุมที่จะมาติดตามสถานการณ์การโหวตนายกรัฐมนตรี หากวันที่ 13 ก.ค. ไม่สามารถโหวตได้หรือไม่ นพ.ชลน่าน กล่าวว่า เรื่องนี้ในที่ประชุมไม่ได้หยิบยกขึ้นมาพูดคุย เพียงแต่มีเรื่องแจ้งให้ทราบว่าในวันดังกล่าว ทางรัฐสภาจะเปิดโอกาสให้พี่น้องประชาชนเข้ามาร่วมฟังการประชุมโดยการจัดสถานที่ให้ ซึ่งจะใช้ฝั่งวัดแก้วฟ้าจุฬามณีเป็นหลัก ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นอาจจะขออนุญาตปิดถนนทหาร ให้เป็นที่อยู่ของประชาชนโดยยึดตรงนั้นเป็นหลัก ไม่อยากให้เข้ามาบริเวณอาคารรัฐสภา เพราะมีหลายกลุ่ม

ถามว่า หลายฝ่ายมองว่า ยิ่งมีคนมาชุมนุมยิ่งเป็นการกดดันส.ว.หรือส.ส. ที่ยังไม่แสดงความเห็นด้วย ทางพรรคร่วมรัฐบาลได้มีการคุยกับพรรค ก.ก. เรื่องดังกล่าวหรือไม่ นพ.ชลน่าน กล่าวว่า ไม่ได้ยกขึ้นมาเป็นประเด็น เพราะเป็นสิทธิเสรีภาพของประชาชน หากทุกอย่างอยู่ภายใต้กฎหมายก็เป็นไปโดยสิทธิเสรีภาพ ไม่ว่าเขาจะมาเท่าไหร่ เราก็จะอำนวยเรื่องสถานที่ ทั้งนี้ หากอยู่ภายใต้กรอบกฎหมายตนคิดว่าสามารถทำได้ ไม่ถือว่าเป็นการกดดันใดๆ

เมื่อถามว่า หากโหวตครั้งแรกนายพิธาไม่ผ่าน จะมีการปรับแผนหรือไม่ นพ.ชลน่าน กล่าวว่า เรื่องนี้ไม่ได้มีการหารือกัน เอาข้อเท็จจริงให้ปรากฏก่อน

ถามย้ำว่า มีการคุยกันหรือไม่ว่าจะเสนอชื่อนายพิธากี่รอบ ถ้าไม่ได้แล้วจึงจะเปลี่ยนให้ทางพรรค พท. ขึ้นมาเป็นแกนนำ นพ.ชลน่าน กล่าวว่า ยังไม่ได้คุย เหตุการณ์นั้นยังไม่เกิดขึ้น เอาเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 13 ก.ค. เป็นตัวหลักก่อน

เมื่อถามว่า กังวลว่าเสียงจะปริ่มน้ำหรือไม่ นพ.ชลน่าน กล่าวว่า ไม่ได้คิด เราก็ตั้งใจให้ผ่าน เพราะมติของเราทั้งแปดพรรคร่วม เว้นประธานรัฐสภา จะต้องลงคะแนนให้ทั้งหมด ทั้งนี้ ย้ำว่าเราตั้งใจจะให้ผ่านโดยจะทำหน้าที่ให้ดีที่สุดทั้งก่อนลงมติและขณะลงมติ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เทวดาแม้วของขึ้น! เปิดศึกขาประจำกว่า 10 คน รวม ‘แก้วสรร-แฝดน้อง‘

นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พ่อน.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงฉายา “ทวีไอพี” ของ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการ

'ทักษิณ' ถึงเชียงใหม่ ช่วยหาเสียงนายก อบจ. 'สว.ก๊อง' คึกมั่นใจชนะล้านเปอร์เซ็นต์

'ทักษิณ' ถึงเชียงใหม่ 'เจ๊แดง-สมชาย-พิชัย' ต้อนรับ แวะกินก๋วยเตี๋ยวร้านมิชเชอร์ลิน 7 ปีซ้อน ก่อนช่วงเย็นขึ้นปราศรัยหาเสียงช่วยผู้สมัครนายก อบจ. 'สว.ก๊อง' ลั่นมั่นใจล้านเปอร์เซ็นต์

'อิ๊งค์' ยิ้มร่ารับฉายา 'รัฐบาลพ่อเลี้ยง' แซวตัวเอง 'แพทองแพด' แฮปปี้ไม่เกลียดใคร

'นายกฯอิ๊งค์' ยิ้มแย้ม ไม่โกรธฉายา 'รัฐบาลพ่อเลี้ยง' ขอมองมุมดี พ่อมีประสบการณ์เพียบช่วยหนุน หยอกสื่อกลับ 'แพทองแพด' ไม่ใช่แพทองโพย บอกไม่ค่อยเกลียดใครมันเหนื่อย แฮปปี้เข้าไว้

'เท้ง' ลุ้น! ฉายาผู้นำฝ่ายค้าน เมินตอบ 'รัฐบาลพ่อเลี้ยง-แพทองโพย'

'เท้ง' ยิ้ม ปัดให้ความเห็น 'ฉายารัฐบาล-นายกฯ' บอกอยากฟังของตัวเองมากกว่า ชี้สื่อทำเนียบ-รัฐสภามีสิทธิ์ตั้งคำถาม พร้อมรับมาสะท้อนปรับปรุงการทำงาน

'รัฐบาลพ่อเลี้ยง' ฉายารัฐบาลปี67 นายกฯ'แพทองโพย' อนุทิน'ภูมิใจขวาง' วาทะแห่งปี'สามีเป็นคนใต้'

สื่อทำเนียบฯ ตั้งฉายาปี 67 'รัฐบาล(พ่อ)เลี้ยง' ส่วนฉายานายกฯ 'แพทองโพย' 7 รมต.ติดโผ 'บิ๊กอ้วน-อนุทิน-ทวี' พ่วง 3 รมต.โลกลืม

เหลียวหลังแลหน้า การเมืองไทย จาก 2567 สู่ 2568 ส่องจุดจบ ระบอบทักษิณภาค 2

รายการ"ไทยโพสต์ อิสรภาพแห่งความคิด"สัมภาษณ์ นักวิชาการ-นักการเมือง สองคน เพื่อมา"เหลียวหลังการเมืองไทยปี 2567 และแลไปข้างหน้า