คณะนิติราษฏรได้เสนอร่างแก้ไขมาตรา 112 ต่อสาธารณะ เนื้อหาสำคัญคือย้ายออกจากหมวดความผิดต่อความมั่นคงของรัฐ ลดโทษ เพิ่มบทยกเว้นความผิดและบทยกเว้นโทษ และให้สำนักราชเลขาธิการเป็นผู้ร้องทุกข์แทนพระมหากษัตริย์ ร่างกฎหมายดังกล่าวพัฒนามาเป็นร่างแก้ไขมาตรา 112 ที่ส.ส.พรรคก้าวไกลยื่นต่อสภาผู้แทนราษฎรเมื่อปี 2564 พรรคก้าวไกลยังคงนำหลักการทุกประการจากร่างฯดังกล่าวมาใช้หาเสียงในการเลือกตั้งปี 2566
4 ก.ค.2566- นายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกวุฒิสภา โพสต์เฟซบุ๊ก Kamnoon Sidhisamarn หัวข้อ ‘มาตรา 112 สอดคล้องกับหลักนิติธรรม’ ระบุรายละเอียดโดย เปิดคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 28-29/2555
มีคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญฉบับหนึ่งที่อรรถาธิบายความเป็น “มาตรา 112” ในฐานะกฎหมายลำดับรองของรัฐธรรมนูญบทคุ้มครองสถานะอันเป็นที่เคารพสักการะผู้ใดจะละเมิดมิได้ฯขององค์พระมหากษัตริย์ และเป็น 1 ใน 2 คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่สำนักการประชุม สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรอ้างถึงในความเห็นทางกฎหมายเมื่อปี 2564 ที่ระบุว่าร่างแก้ไขมาตรา 112 ของส.ส.พรรคก้าวไกลน่าจะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 6
นั่นคือ คำวินิจฉัยที่ 28-29/2555
คดีนี้เกิดขึ้นในยุคของรัฐธรรมนูญ 2550 ขณะนั้นบทคุ้มครองสถานะอันเป็นที่เคารพสักการะผู้ใดจะละเมิดมิได้ขององค์พระมหากษัตริย์บัญญัติอยู่ในมาตรา 8 ยุคปัจจุบันรัฐธรรมนูญ 2560 ได้ขยับขึ้นมาอยู่มาตรา 6
เป็นคดีที่โด่งดังพอสมควรในยุคนั้น
จำเลยในคดีอาญา 2 คดี 2 คนต่อสู้โต้แย้งในชั้นพิจารณาคดีในศาลว่าประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ที่พวกเขาถูกฟ้องว่ากระทำความผิดนั้นขัดรัฐธรรมนูญ 2550 หลายมาตราด้วยกัน ศาลอาญาจึงส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ามาตรา 112 ไม่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญตามที่โต้แย้ง
ขอลำดับความโดยสรุปโดยภาษาของผมเองประมาณนี้
- มาตรา 112 สอดคล้องและเสมือนเป็นกฎหมายลูกบทของรัฐธรรมนูญมาตรา 2 และมาตรา 8 (หรือมาตรา 6 ในรัฐธรรมนูญปัจจุบัน)
- พระมหากษัตริย์ทรงเป็นสถาบันหลักและคุณลักษณะประการสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงต้องมีกฎหมายคุ้มครอง มิให้ผู้ใดละเมิด
- การละเมิดพระมหากษัตริย์จึงเป็นความผิดต่อความมั่นคงของรัฐ
- มาตรา 112 จึงอยู่ในหมวดความผิดต่อความมั่นคงของรัฐ
- การคุ้มครองสถานะอันเป็นที่เคารพสักการะผู้ใดละเมิดมิได้ขององค์พระมหากษัตริย์จึงเป็นการคุ้มครองเด็ดขาด ไม่มีข้อยกเว้น
- ต้องบัญญัติโทษไว้พอสมควรแก่เหตุ
- มาตรา 112 เป็นการจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นเพื่อความมั่นคงของรัฐที่สามารถกระทำได้ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 45 (ปัจจุบันอยู่ในมาตรา 34)
- มาตรา 112 สอดคล้องกับหลักนิติธรรม
- ฯลฯ
คำต่อคำของคำวินิจฉัยท่อนท้ายที่สำคัญ ณ ที่นี้เพื่อความกระชับขอคัดจากฉบับย่อ
“รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯได้บัญญัติให้องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะที่ผู้ใดจะละเมิดมิได้ จะกล่าวหาหรือฟ้องร้องในทางใด ๆ มิได้ และด้วยพระเกียรติคุณของสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นการผดุงไว้ซึ่งเกียรติยศของประเทศและรักษาคุณลักษณะประการสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงมีความชอบธรรมที่ต้องมีกฎหมายคุ้มครองมิให้มีการละเมิดพระมหากษัตริย์ หลักการตามมาตรา 112 แห่งประมวลกฎหมายอาญาซึ่งให้ความคุ้มครองแก่สถาบันพระมหากษัตริย์จึงมีความสอดคล้องกับมาตรา 2 และมาตรา 8 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ การกำหนดบทลงโทษแก่ผู้กระทำความผิดจึงเป็นไปเพื่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนตามหลักนิติธรรม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 จึงเป็นบทบัญญัติที่สอดคล้องกับหลักนิติธรรม…”
“มาตรา 112 แห่งประมวลกฎหมายอาญาซึ่งกำหนดลักษณะความผิดเป็นพิเศษเพื่อคุ้มครองสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งการกระทำความผิดดังกล่าวย่อมก่อให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ เพราะพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันหลักของการปกครองระบอบประชาธิปไตย มาตราดังกล่าวจึงเป็นบทบัญญัติเพื่อการรักษาความมั่นคงของรัฐหรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตามมาตรา 45 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ อันเป็นเงื่อนไขแห่งการจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น…”
“การกำหนดอัตราโทษตามมาตรา 112 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ก็เป็นการกำหนดเท่าที่จำเป็นและเหมาะสมกับลักษณะของการกระทำความผิดฐานดังกล่าว เพราะเป็นการกระทำความผิดที่มีความร้ายแรงมากกว่าการกระทำความผิดตามมาตรา 326 แห่งประมวลกฎหมายอาญา…”
“ประกอบกับเพื่อพิทักษ์ ปกป้องพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ มิให้ถูกล่วงละเมิดโดยการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดรายได้โดยง่าย จึงไม่มีการบัญญัติเหตุยกเว้นความผิดหรือยกเว้นโทษไว้…”
แน่นอน มีนักวิชาการบางคนแสดงความเห็นไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยนี้ โดยกล่าวว่าเป็นคำวินิจฉัยตามแนวกษัตริย์นิยม
อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญกำหนดให้คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญถือเป็นที่สุดและผูกพันทุกองค์กร
ในเวลาใกล้เคียงกันนั้นเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2564 คณะนิติราษฏรได้เสนอร่างแก้ไขมาตรา 112 ต่อสาธารณะ เนื้อหาสำคัญคือย้ายออกจากหมวดความผิดต่อความมั่นคงของรัฐ ลดโทษ เพิ่มบทยกเว้นความผิดและบทยกเว้นโทษ และให้สำนักราชเลขาธิการเป็นผู้ร้องทุกข์แทนพระมหากษัตริย์
ร่างกฎหมายดังกล่าวพัฒนามาเป็นร่างแก้ไขมาตรา 112 ที่ส.ส.พรรคก้าวไกลยื่นต่อสภาผู้แทนราษฎรเมื่อปี 2564
แต่ไม่ได้รับการบรรจุเข้าระเบียบวาระ เนื่องจากฝ่ายบริหารของสภาผู้แทนราษฎรเห็นว่าน่าจะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญมาตรา 6
พรรคก้าวไกลยังคงนำหลักการทุกประการจากร่างฯดังกล่าวมาใช้หาเสียงในการเลือกตั้งปี 2566
เหตุจากมาตรา 112 เดินทางมาถึงศาลรัฐธรรมนูญอีกครั้งในพ.ศ.นี้ โดยมีผู้ยื่นร้องต่ออัยการสูงสุดและศาลรัฐธรรมนูญว่าการเสนอแก้ไขมาตรา 112 ในลักษณะที่เป็นการลดการคุ้มครององค์พระมหากษัตริย์ของพรรคก้าวไกลเป็นการกระทำที่เข้าข่ายล้มล้างการปกครองตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49 ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้หยุดการกระทำนั้นเสีย แม้เนื้อหาของคดีจะแตกต่างกัน แต่ในสำนวนคดีน่าจะต้องมีคำวินิจฉัยที่ 28-29/2555 รวมอยู่ด้วย อย่างน้อยในเบื้องต้นก็ปรากฎอยู่ในความเห็นทางกฎหมายของสำนักการประชุม สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เมื่อปี 2564 ที่อยู่ระหว่างการจัดส่งไปยังอัยการสูงสุดตามร้องขอ
อัยการสูงสุดจะวินิจฉัยสั่งการคำร้องนี้อย่างไร ยก หรือส่งศาลรัฐธรรมนูญ ?
ศาลรัฐธรรมนูญยุคปัจจุบันจะรับเรื่องไว้วินิจฉัยหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นกรณีอัยการสูงสุดส่งมา หรือกรณีผู้ร้องใช้สิทธิยื่นโดยตรง ?
ถ้ารับไว้พิจารณา ผลการวินิจฉัยจะเป็นอย่างไร ?
อีกไม่นานจะมีคำตอบทั้ง 3 ประการแน่นอน !
จึงขอนำมาเล่าสู่กันฟังเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาในเบื้องต้น.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
’ห้าพันตารางกิโลเมตร‘ เท่ากับกี่ตารางนิ้ว ? เงื่อนตายของ MOU 2544 ?
MOU 2544 ไม่ใช่กรอบการเจรจาเพื่อหาข้อตกลง ”แบ่งผลประโยชน์(ปิโตรเลียม)“ เท่านั้น แต่หาข้อตกลง “แบ่งเขตแดน(ทะเล)“ ด้วย !
‘สาธิต’ ถาม 2 ผู้ยิ่งใหญ่ทางการเมือง ผู้นำจิตวิญญาณ จะเชื่อได้กี่โมง?
สาธิต ปิตุเตชะ อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) และอดีตสมาชิกพรรค ปชป. โพสต์เฟซบุ๊กหัวข้อ 'จะเชื่อได้? กี่โมงครับ'
คำนูณ ผ่าปม 2 ได้ 3 เสีย ถ้าไม่ยกเลิก MOU 2544
ความเคลื่อนไหวและการแสดงความคิดเห็นเรื่อง MOU 2544 ที่เชื่อมโยงถึงเกาะกูด, การหาแหล่งพลังงานแห่งใหม่ในพื้นที่อ้างสิทธิไทย-กัมพูชา ที่มีการประเมินกันว่ามีมูลค่าสูงถึง 10 ล้านล้านบาท ยั
ชำแหละ 'ทักษิณ' งัดกลยุทธ์ตอกย้ำสร้างปชน.เป็น 'ปีศาจใหม่' เพื่อให้พท.หลุดรอด 'ปีศาจเก่า'
'จตุพร' ซัด 'ทักษิณ' ปราศรัยหาเสียงอุดร ด้วยกระบวนท่า สทร. แต่ไม่เสนอนโยบายพัฒนาท้องถิ่น งัดกลยุทธ์ตอกย้ำสร้างพรรคประชาชนเป็น 'ปีศาจใหม่' เพื่อให้เพื่อไทยหลุดรอด'ปีศาจเก่า' โชว์ลีลาดาบตระบัดสัตย์ไร้ปรานีฟาดฟันนักร้อง แบ่งซีกดูถูกหยามเหยียด แยกคนอยู่ส่วนคน หมาอยู่ส่วนหมา
สว.ปฏิมา กังวลกระบวนการยุติธรรมไทยกำลังถูกสั่นคลอนหนัก!
นายปฏิมา จีระแพทย์ สมาชิกวุฒิสภา (สว.) โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า ปัจจุบันนี้ เราต่างทราบดีว่า การรักษาความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมของประเทศคื
ขึ้นต้นก็(เขียน)ผิดแล้ว ! ว่าด้วยเส้น “ละติดจูด” ที่ 11° “E” ในเอกสารแนบท้าย MOU 2544
เขียนและพูดเรื่อง MOU 2544 มาหลายปี หลากมุมมอง ล่าสุดช่วงนี้ก็จำแนกข้อดีข้อเสีย รวมทั้งส่วนที่จะได้และส่วนที่จะเสียหากเจรจาสำเร็จ ล้วนหนัก ๆ ทั้งนั้น .