'แสวง' รับคดีหุ้น 'พิธา' ซับซ้อนแต่ กกต. พร้อมฟันหากมีผลสรุป

'แสวง' รับขั้นตอนสอบหุ้นสื่อพิธาซับซ้อน ชี้เป็นอำนาจ คกก.ไต่สวนจะเชิญเข้าแจงหรือไม่ เผยยื่นช่อง ม.82 กกต.แค่เห็นก็ส่งศาลวินิจฉัย ไม่ขีดเส้นจบก่อนโหวตนายกฯ

29 มิ.ย.2566 - ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น นายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวถึงความคืบหน้าการตรวจสอบคดีหุ้นสื่อของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรค และแคนดิตเดนายกรัฐมนตรี พรรคก้าวไกล (ก.ก.) ว่า เรื่องนี้มีความซับซ้อนโดยเฉพาะตัวกฎหมาย เนื่องจากมีพื้นฐานมาจากคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้สมัคร ส.ส แต่เมื่อมาปรับใช้กับเหตุการณ์สามารถดำเนินการได้หลายวิธี โดยเงื่อนไขแรกห้วงเวลาก่อนการเลือกตั้ง คือการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้สมัคร ตามกระบวนการจะต้องส่งให้ศาลฎีกาพิจารณา โดยจะเชิญผู้สมัครมาชี้แจงหรือไม่มาชี้แจงก็ได้ ซึ่งมี 37 คดีที่ศาลได้วินิจฉัยแล้ว เงื่อนไขที่ 2 หลังการเลือกตั้ง กรณีที่เห็นว่าผู้สมัครมีคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามจะดำเนินการตามมาตรา 151 ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ซึ่งเป็นการดำเนินคดีอาญา ซึ่งจะต้องแจ้งให้กับผู้ถูกกล่าวหาเข้ามาชี้แจง โดยการดำเนินการจะต้องดูเอกสารหลักฐานอย่างครบถ้วนปราศจากข้อสงสัย แล้วดูเจตนาประกอบด้วย ส่วนเงื่อนไขหลังประกาศรับรองผลการเลือกตั้งวิธีการคือตรวจสอบข้อเท็จจริง ซึ่งกรณีนี้จะเชิญผู้ที่มีลักษณะต้องห้ามการเป็น ส.ส.มาชี้แจงหรือไม่ก็ได้ หากกกต.มีหลักฐานหรือเห็นเป็นความปรากฏ ซึ่งในชั้นนี้ผู้ที่สามารถวินิจฉัยได้คือศาลรัฐธรรมนูญไม่ใช่ กกต.

นายแสวง กล่าวว่า ส่วนจะเชิญนายพิธามาชี้แจงหรือไม่นั้น เป็นอำนาจของคณะกรรมการสืบสวนไต่สวนที่ กกต.ตั้งขึ้น ว่าจะพิจารณาให้มาชี้แจงให้ข้อมูลหรือไม่ แต่ถ้าดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 82 ซึ่งเป็นการตรวจสอบข้อเท็จจริงจะเชิญหรือไม่เชิญมาก็ได้ หากมีหลักฐานเพียงพอที่จะยื่นศาลรัฐธรรมนูญ

เมื่อถามว่ามีกระแสข่าวว่า กกต.จะเชิญนายพิธา เข้ามาชี้แจงข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร นายแสวง กล่าวว่า ยืนยันว่าเป็นอำนาจของคณะกรรมการสืบสวนไต่สวน เบื้องต้นคณะกรรมการสืบสวนยังไม่รายงานรายละเอียดการดำเนินการตรวจสอบให้ กกต.พิจารณา จนกว่าจะสืบสวนเสร็จ เนื่องจาก กกต.และสำนักงานไม่สามารถเข้าไปก้าวก่ายและแทรกแซงการทำงานของคณะกรรมการสืบสวนได้ ทั้งการตั้งรูปเรื่องการหาพยานเอกสารโดยกรอบการพิจารณา 20 วันแรกจะครบกำหนดกรอบแรกในวันที่ 3 ก.ค. แต่หากพิจารณาไม่เสร็จสามารถยื่นขอขยายเวลาดำเนินการอีก 15 วันผ่านเลขาธิการ กกต. เบื้องต้นยังไม่เห็นว่ามีการยื่นหนังสือขอขยายเวลาตรวจสอบ

เมื่อถามว่า กกต.ได้มีการพิจารณายื่นศาลรัฐธรรมนูญตาม มาตรา 82 บ้างแล้วหรือไม่ นายแสวง กล่าวว่า ก่อนที่กกต.จะส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้ สิ่งสำคัญ กกต.ต้องเห็นก่อนแต่ยังไม่ใช่การวินิจฉัย เพียงเห็นว่ามีข้อมูลเพียงพอเพื่อส่งศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา ซึ่งอาจใช้ข้อมูลจากคณะกรรมการสืบสวนไต่สวนก็ได้ หรืออาจตั้งคณะกรรมการเข้ามาดูเรื่องนี้โดยเฉพาะก็ได้ แต่ให้แยกว่าเป็นการตรวจสอบข้อเท็จจริงไม่ใช่การแจ้งข้อกล่าวหา เบื้องต้นขณะนี้มีผู้มายื่นร้องให้ กกต.ดำเนินการตาม มาตรา 82 แล้วดังนั้นต้องขึ้นอยู่กับที่ประชุม กกต.ว่าจะใช้วิธีการดำเนินการอย่างไร เพราะเป็นการตรวจสอบข้อเท็จจริงซึ่งจะแตกต่างจากระเบียบสืบสวนไต่สวน

เมื่อถามจะต้องมีการยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยในกรณีดังกล่าวก่อนการโหวตเลือกนายกฯหรือไม่ นายแสวง กล่าวว่า เมื่อ กกต.เห็นจะต้องมีการประชุมอย่างแน่นอน แต่ท่านจะต้องดูว่ามีข้อมูลพยานหลักฐานแค่ไหน เพียงพอที่จะส่งให้ศาลวินิจฉัยได้หรือไม่ ต้องมีพยานหลักฐานและต้องเห็นด้วย ส่วนจะต้องยื่นให้ศาลพิจารณาก่อนการโหวตนายกฯ นั้นไม่เกี่ยวกับประเด็นที่ กกต.ที่จะต้องมาพิจารณา

ถามย้ำอีกว่า กระบวนการทุกอย่างจะต้องแล้วเสร็จภายในเดือน ก.ค.หรือไม่ นายแสวง กล่าวว่า สำนักงาน กกต.ทำงานตามเวลาที่ควรจะเป็น ไม่ว่าจะเป็นกรณีการตรวจสอบตามมาตรา 151 ซึ่งต้องหาพยานหลักฐานให้ครบถ้วนรวมทั้งดูเจตนาด้วย เพราะเป็นคดีอาญา ส่วนรัฐธรรมนูญมาตรา 82 กกต.ประกาศรับรองผลได้เพียง 1 สัปดาห์ และเมื่อมีผู้มายื่นร้อง กกต.ก็คงจะพิจารณา

เมื่อถามว่านายเสรี สุวรรณภานนท์ ประธานคณะกรรมาธิการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา เข้าหารือเข้ามอบหลักฐานกับ กกต.กรณีนายพิธาเมื่อ 28 มิ.ย. ได้พูดคุยในเรื่องนี้อย่างไรบ้าง นายแสวง ว่า ท่านไม่ได้มาตามเรื่องพิธา แต่ท่านได้มาพูดเรื่องการเมือง การเลือกตั้งเกิดปัญหาต้องการการสนับสนุนอย่างไรบ้าง และได้นำหลักฐานประกอบคดีหุ้นนายพิธามามอบให้ ซึ่งจากนี้ สำนักงาน กกต.ก็จะนำหลักฐานไปประกอบการพิจารณาคดีทั้งกรณีรู้อยู่แล้วว่าไม่มีคุณสมบัติแต่ยังลงสมัครรับเลือกตั้ง ตามมาตรา 151 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. 2561 และรัฐธรรมนูญ มาตรา 82 กรณีสงสัยคุณสมบัติของ ส.ส.จะต้องมีการเข้าชื่อส่งศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งกรณีมาตรา 82 นั้นมีคนร้องเข้ามาแล้ว แต่ขณะนี้ ทางสำนักงานยังไม่ได้สรุปเรื่องส่งคณะกรรมการ

ทั้งนี้เมื่อถามเหตุใดกรณีนี้ถึงใช้เวลานาน นายแสวงได้เลี่ยงการตอบคำถาม

เมื่อถามว่า กรณีของนายพิธา กกต.สามารถดำเนินการกรณีความปรากฏต่อ กกต.ได้หรือไม่ นายแสวงกล่าวว่า ไม่ต้องมีความปรากฏเลย โช๊ะเลย แต่ต้องมีหลักฐาน กกต.ไม่ใช่ผู้ตัดสิน ก่อนเลือกตั้งจะต้องส่งให้ศาลฎีกา ถ้าไม่ได้รับการเลือกตั้งก็อยู่ในชั้นศาลยุติธรรม ส่วนได้รับเลือกตั้งแล้ว ก็ต้องส่งศาลรัฐธรรมนูญ เหมือน กกต.เป็นคนฟ้องว่าข้อมูลหลัก เหตุเพียงพอให้ฟ้องหรือไม่ ก็เหมือนกับกรณีส่งศาลฎีกาพิจารณากรณี 37 ผู้สมัคร ส.ส. ไม่ต้องเชิญใครมาชี้แจง ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องเดียวกัน เมื่อเห็นว่าพอฟ้อง มีหลักฐานก็ฟ้อง แต่ตอนนี้ กกต.ยังไม่เห็น แต่กรณี 37 ผู้สมัคร ส.ส.นั้น กกต.เห็นแล้วก็ส่งศาลฎีกา โดยไม่ได้เชิญใครมาชี้แจง แต่กรณีการดำเนินคดีอาญาตามมาตรา 151 เป็นระเบียบสืบสวนหากมีการกล่าวหาก็ต้องเชิญผู้ถูกกล่าวหามาชี้แจง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'อนาคตไกล' รับซื้อ 'ปลาหมอคางดำ' 20 ตันเพื่อกำจัด อัด 'พิธา' ตรรกะวิบัติอ้างคนจะเพาะเลี้ยงมากขึ้น

“พรรคอนาคตไกล” บรรเทาความเดือดร้อนพี่น้องเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและชาวประมง รับซื้อปลาหมอคางดำ 20 ตันเพื่อกำจัด อัด "พิธา-ก้าวไกล ตรรกะวิบัติ" อ้างคนจะเพาะเลี้ยงมากขึ้น

'ก้าวไกล' เปิดตัวผู้สมัครนายก อบจ. 'พิธา' อ้อนพี่น้องชาวลำพูนเชื่อในประชาธิปไตย

ก้าวไกลจัดสภากาแฟที่ลำพูน แลกเปลี่ยนปัญหาภาคเอกชน 'พิธา' ชี้เศรษฐกิจภาคเหนือมีแรงเฉื่อยลักษณะพิเศษโตช้า

'ดิเรกฤทธิ์' พ้อ! ไร้องค์กรตรวจสอบ กกต. ใช้อำนาจเบ็ดเสร็จ 'เลือก สว.'

นายดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม อดีตสมาชิกวุฒิสภา (สว.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า "ประชาธิปไตยต้องไม่มีอำนาจใดไม่ถูกตรวจสอบ"

อึ้ง!ปดิพัทธ์บอกยุบ 'ก้าวไกล' แสดงว่าไทยยังไม่เป็นประชาธิปไตยส่งผลสภานานาชาติ

'ปดิพัทธ์' ยอมรับมีชื่อเป็น กก.บห.ก้าวไกล เสี่ยงพ้น สส. หากพรรคถูกยุบจริง แต่เชื่อมั่นว่าการสู้คดีมีน้ำหนัก ไม่เสียดายตำแหน่งรองประธานสภา ชี้งานที่หาเสียงไว้ทำได้หมดแล้ว

'รังสิมันต์-มาริษ'โต้เดือดปมธนาคารไทยมีเอี่ยวช่วยซื้ออาวุธให้รัฐบาลเมียนมา!

'โรม' จี้ถามจุดยืนประเทศ หลังมีแฉธนาคารในไทย เอี่ยวใช้ธุรกรรมการเงินฆ่าชาวเมียนมา ซัด รบ.ต้องชัดเจน ด้าน 'รมว.กต.'โต้ไม่พบหลักฐานธนาคาร-รัฐบาลไทยเข้าไปเอี่ยว รับการคว่ำบาตรเป็นเรื่องยาก

'รอมฎอน' ลุยสังเกตการณ์ไต่สวนคดีตากใบข้องใจท่าที อสส.

'รอมฎอน' ลุยสังเกตการณ์นัดไต่สวนมูลฟ้องคดีตากใบ 19 ก.ค.นี้ รับกังวลหลัง 'อสส.' ขอญาติผู้สูญเสียยุติร้องเรียน ก่อนคดีหมดอายุความ