7 ธ.ค.2564 - ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ ผู้อำนวยการกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค แถลงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน ว่า ขณะนี้พบผู้ติดเชื้อเพิ่มเป็น 54 ประเทศ แบ่งเป็นติดเชื้อในประเทศ 19 ประเทศ พบในผู้เดินทางเท่านั้น 35 ประเทศ ทั้งนี้ไม่มีการรายงานผู้ป่วยที่มีอาการหนัก และผู้เสียชีวิตจากสายพันธุ์โอมิครอน อย่างไรก็ตามโอมิครอนยังไม่เป็นสายพันธุ์ที่น่ากังวลมากนัก แม้สายพันธุ์นี้จะแพร่เร็ว 2-5 เท่าแต่ยังไม่พบผู้ป่วยอาการหนัก หรือเสียชีวิต โดยสายพันธุ์ที่ระบาดหนักในประเทศ ยังเป็นสายพันธุ์เดลต้า (อินเดีย) วัคซีนจึงมีความสำคัญ โอมิครอนอาจส่งผลดีต่อการเปิดประเทศของไทย
นพ.จักรรัฐ กล่าวว่าผลการสอบสวนโรค ชายชาวอเมริกัน อายุ 35 ปี เดินทางมาจากประเทศสเปน ไม่มีผู้สัมผัสเสี่ยงขณะเดินทางบนเครื่องบิน มาถึงประเทศไทย วันที่ 30 พ.ย.64 เวลา 24.00 น. ตรวจเก็บตัวอย่างหาเชื้อแบบ Drive thrue ที่ รพ.คู่สัญญาแล้วกลับเข้าโรงแรมในโครงการ Test&Go ต่อมาวันที่ 3 ธ.ค.64 ผลตรวจยืนยันพบเชื้อสายพันธุ์โอมิครอน ขณะนี้ยังไม่มีอาการป่วย จะกักตัวจนครบ 14 วัน พร้อมตรวจหาเชื้อซ้ำ
สำหรับผู้สัมสัมผัสเสี่ยงต่ำ พนักงานในสนามบิน 2 คน ผลตรวจเป็นลบ พนักงานในโรงแรม 17 คน ผลตรวจเป็นลบ 16 คน อีก 1 คน เป็นพนักงานเสิร์ฟ เพศชาย อายุ 44 ปี สัญชาติไทย ทำหน้าที่เสิร์ฟอาหาร นำเอกสารไปให้ผู้วยป่วยเซ็น ได้รับวัคซีนแอสตราเซนเนกาครบ 2 เข็ม ตามมาตรฐาน SHA+ โดยวันที่ 1 ธ.ค.64 เวลา 12.00 น. เดินทางไปทำงานที่โรงแรม เวลา 21.30 น. เสิร์ฟอาหารให้กับผู้เดินทางชาวอเมริกัน และนำเอกสารให้เซ็น โดยใส่หน้ากากอนามัยทั้งคู่ หลังออกจากห้องกัก ได้ทำความสะอาดอุปกรณ์ วันที่ 2 ธ.ค. 64 ปฏิบัติงานในโรงแรม ต่อมาวันที่ 3 ธ.ค.64 เดินทางกลับบ้าน จ.อุบลราชธานี พร้อมครอบครัว 4 คนเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว และแวะรับญาติที่จ.นครราชสีมาอีก 1 คน มีแวะตลาดแถวบ้านโดยใส่หน้าอนามัยตลอดเวลา ที่ 4 ธ.ค.64 ได้รับแจ้งเป็นผู้สัมผัสผู้ป่วยโควิด วันที่ 5 ธ.ค.เข้ารับการตรวจเก็บตัวอย่างที่ รพ.พิบูลมังสาหาร ส่งตรวจที่ สถาบันบำราศนราดูร และเดินทางกลับ กทม. วันที่ 6 ธ.ค.64 ทราบผลตรวจสงสัยเป็นบวก เนื่องจากค่า CT เกิน 36 เข้ารับการกักตัวที่สถาบันบำราศนราดูร
นพ.จักรรัฐ กล่าวอีกว่า เมื่อตรวจซ้ำช่วงครบ 7 วัน ผลออกเวลา 12.00 น. วันนี้ (7 ธ.ค.64) ไม่พบเชื้อ หลังจากนี้จะตรวจซ้ำครั้งที่ 3 ในช่วง14 และกักตัวที่สถาบันบำราศนราดูร 14 วัน ส่วนผู้สัมผัสใกล้ชิดในครอบครัว ผลตรวจไม่พบเชื้อ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ศูนย์จีโนมฯ จับตาโอมิครอน KP.2.3/XEC ลูกผสมพันธุ์ใหม่ แพร่เร็วกว่าเดิม 2 เท่า
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โอมิครอน KP.2.3/XEC : ลูกผสมสายพันธุ์ใหม่แพร่เร็วกว่าเดิม 2 เท่า
ศูนย์จีโนมฯ แนะนำ JN.1.4 โอมิครอนตัวล่าสุดที่จะมาแทนที่ JN.1
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
ศูนย์จีโนมฯ อัปเดตผลทดลอง 'วัคซีนโควิด' รุ่นล่าสุด 'XBB.1.5 โมโนวาเลนต์'
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า องค์การอนามัยโลกระบุวัคซีนโควิด-19 เจนเนอเรชั่นล่าสุด “XBB.1.5 โมโนวาเลนต์”
'ศูนย์จีโนม' ผวา! พบโอมิครอน 'กลายพันธุ์คู่-พลิกขั้ว' เพิ่มอีกตำแหน่ง
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า น่ากังวล! กลุ่มโอมิครอนกลายพันธุ์คู่-พลิกขั้ว “L455F + F456L”
ผวา! โอมิครอน BA.2.86 ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกยกระดับเฝ้าใกล้ชิด
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ผลการทดลองจากหลายห้องปฏิบัติได้ออกมายืนยันตรงกันว่าโอมิครอน BA.2.86
ศูนย์จีโนมฯ ไขข้อข้องใจ! โควิด EG.5.1 ระบาดรุนแรงแทนที่ XBB.1.16 หรือไม่
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โอมิครอน EG.5.1 (XBB.1.9.2.5.1) จะมีการระบาดเกิดอาการรุนแรงและเข้ามาแทนที่ XBB.1.16 หรือไม่