โลกในยุคปัจจุบันมีนอกจากจะสนใจเรื่องเทคโนโลยีใหม่ ๆ แล้ว ยังมีแนวคิดถึงเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อมอีกด้วย จากเดิมที่การทำอุตสาหกรรมอาจจะสร้างผลกระทบให้กับธรรมชาติอย่างมาก ปัจจุบันก็หันมาสนใจการดูแลอนุรักษ์กันมากขึ้น เนื่องด้วยผลเสียที่เกิดขึ้นจากผลกระทบการทำลายสิ่งแวดล้อมนั้นเริ่มสะท้อนมามีบทบาทในการใช้ชีวิตของมนุษย์เพิ่มมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้น สภาพอากาศแปรปรวน รวมถึงมลภาวะทั้งทางอากาศ หรือของเสียต่าง ๆ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการทำอุตสาหกรรมในยุคสมัยใหม่
และเมื่อความต้องการที่จะพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ มารวมกับการดูแลสิ่งแวดล้อมจึงเกิดเป็นนวัตกรรมที่เข้ามาตอบสนองความต้องการของคนในสังคมได้อย่างตรงจุด และยังสามารถดูแลธรรมชาติไปพร้อม ๆ กันได้ เช่นเดียวกับการที่สังคมมีการพูดถึงรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า หรือที่รู้จักกันในนามรถอีวี ที่ปัจจุบันสามารถพัฒนาเทคโนโลยีให้กลายเป็นใช้ไฟฟ้าทั้ง 100% ได้แล้ว ซึ่งรถอีวีนั้นถือว่าเป็นรถยนต์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและไม่สร้างมลภาวะให้กับอากาศด้วย
ซึ่งเบื้องหลังของรถอีวีนั้นไม่ใช่แค่การสร้างหรือประกอบรถยนต์ แต่จำเป็นต้องมีเทคโนโลยีต่าง ๆ มาสนับสนุนการทำงานให้ครบถ้วน หนึ่งในนั้นคือเรื่องของการพัฒนาแบตเตอรี่กักเก็บพลังงาน ที่เดิมนั้นมีราคาสูงเทคโนโลยีมีจำกัด และยังไม่สามารถตอบโจทย์กับความต้องการของสังคมได้ แต่ในปัจจุบันนั้นที่มีความก้าวหน้าของเทคโนโลยีแล้วจึงมีการผลิตแบตเตอรี่รูปแบบต่าง ๆ มากขึ้น และยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอยู่ โดยมีเอกชนมากมายที่เข้ามาร่วมดำเนินการด้านนั้น หนึ่งในนั้นคือบริษัท อรุณ พลัส จำกัด (ArunPlus)
และล่าสุด Arun Plus ยังได้ลงนามสัญญาร่วมจัดตั้งโรงงานแบตเตอรี่Cell-To-Pack (CTP) ภายในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกจังหวัดชลบุรี ร่วมกับ Contemporary AmperexTechnology Co., Ltd (CATL) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการผลิตแบตเตอรี่ขั้นสูงที่นำเซลล์แบตเตอรี่มาประกอบกันเป็นแพ็กโดยตรง ไม่ต้องผ่านขั้นตอนการประกอบเป็นโมดูลทำให้แบตเตอรี่มีประสิทธิภาพความจุพลังงานสูงขึ้น น้ำหนักเบาและมีความปลอดภัยสูงเป็นการตอกย้ำความเชื่อมั่นของประเทศไทยในการเป็นศูนย์กลางการผลิต EV ของภูมิภาคอาเซียนในอนาคต ภายใต้ความร่วมมือกับ CATL ผู้นำในระดับสากลด้านเทคโนโลยีแบตเตอรี่ EV
โดย นายเอกชัย ยิ้มสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท อรุณ พลัส จำกัด (ArunPlus) กล่าวว่า ความร่วมมือระหว่าง Arun Plus กับ CATL ในครั้งนี้เป็นก้าวแรกที่สำคัญของการดำเนินธุรกิจแบตเตอรี่อย่างครบวงจรในอนาคต ด้วย CATLเป็นบริษัทที่มีการดำเนินธุรกิจแบตเตอรี่ครอบคลุมตลอดห่วงโซ่คุณค่า(Battery Value chain) ตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ การผลิตแบตเตอรี่ไปจนถึงการรีไซเคิลแบตเตอรี่ ตลอดจนธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
อีกทั้ง Arun Plus มุ่งมั่นที่จะสร้างความพร้อมในด้านโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการขยายระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศ โดยได้ร่วมกับ Honhai PrecisionIndustry Co., Ltd หรือ FOXCONN ก่อตั้งบริษัท ฮอริษอน พลัส จํากัด(Horizon Plus) เพื่อดำเนินการผลิต EV รองรับความต้องการที่สูงขึ้นทั้งภายในประเทศและในภูมิภาคอาเซียนโดยจะเริ่มเดินสายการผลิตในปี 2567 ด้วยกำลังการผลิตเริ่มต้นที่ 50,000 คันต่อปี และจะเพิ่มเป็น 150,000 คันในปี 2573 ซึ่งการก่อตั้งโรงงานแบตเตอรี่ CTP ในครั้งนี้จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับ โรงงานผลิต EV ดังกล่าว
และในอนาคต Arun Plus ยังศึกษาความเป็นไปได้ในการร่วมมือกับ CATLเพื่อนำเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับแบตเตอรี่ของ CATL มาใช้ในประเทศ อาทิเทคโนโลยีสลับแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า (Battery Swapping)เทคโนโลยีการรีไซเคิลแบตเตอรี่ (Battery Recycling)เทคโนโลยีแพลตฟอร์มรถยนต์ไฟฟ้าของ CATL (CATL IntegratedIntelligent Chassis : CIIC) พร้อมทั้งจะศึกษาแนวทางในการเป็นผู้ผลิตเซลล์แบตเตอรี่ในอนาคตความร่วมมือในการจัดตั้งโรงงานประกอบแบตเตอรี่ CTP นี้นอกจากจะช่วยเสริมศักยภาพด้านการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าของกลุ่ม ArunPlus แล้ว ยังเป็นการสนับสนุนเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนและสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับประเทศไทยต่อไป