จากสภาพการณ์พลังงานโลกที่เปลี่ยนแปลง รวมถึงพฤติกรรมการใช้พลังงานไฟฟ้าของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป 3 องค์กรหัวหอกด้านพลังงานไฟฟ้าของไทย ได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ได้สั่งสมงานพัฒนานวัตกรรมต่าง ๆ อันหลากหลาย เพื่อตอบโจทย์ผู้ใช้ไฟฟ้า และเพิ่มประสิทธิภาพด้านพลังงานไฟฟ้าของประเทศ จึงร่วมมือกันโชว์ความพร้อมในการสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้กับประเทศ ผ่านการจัดแสดงผลงานนวัตกรรม (Show and Share, Innovation for the better life) เป็นครั้งแรก โดยมี นายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) นายวิลาศ เฉลยสัตย์ ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และนายศุภชัย เอกอุ่น ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ร่วมเปิดงาน และมีนักประดิษฐ์จากทั้ง 3 การไฟฟ้า พร้อมหน่วยงานด้านนโยบายและกำกับดูแลกิจการด้านพลังงาน หน่วยงานด้านวิจัยของประเทศ ภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม และประชาชนเข้าร่วมงาน ที่ห้องวิภาวดีบอลรูม โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ที่ผ่านมา
ภายในงานมีการจัดแสดงนิทรรศการผลงานของทั้ง 3 การไฟฟ้ากว่า 30 ผลงาน จากนักประดิษฐ์ ทั้งการพัฒนาและบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า งานด้านสังคมสิ่งแวดล้อมและธุรกิจใหม่ และงานบริการ ทำให้เกิดมิติใหม่ของการแลกเปลี่ยนความรู้ครั้งยิ่งใหญ่ สู่การพัฒนาต่อยอด ตอบโจทย์พฤติกรรมความต้องการใช้ไฟฟ้าของผู้บริโภคได้อย่างตรงจุด ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้ร่วมงานเข้าชมนวัตกรรมด้านต่าง ๆ อย่างคึกคัก
นอกจากนี้ ยังมีเวทีเสวนายุทธศาสตร์การพัฒนานวัตกรรมจาก 3 ผู้ว่าการ ในหัวข้อ "ยุทธศาสตร์การพัฒนานวัตกรรม 3 การไฟฟ้า ที่นำไปสู่ความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้าของประเทศ" ซึ่งทั้ง 3 องค์กรได้ร่วมมือกันพัฒนา 3 นวัตกรรมใหญ่ ซึ่งเป็นเทรนด์ที่กำลังมาแรง และเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่ผู้ใช้ไฟฟ้าในอนาคต ได้แก่ 1. การศึกษาการพัฒนาโรงงานรีไซเคิลและกำจัดซากโซลาร์เซลล์และแบตเตอรี่ 2. Sharing of Energy Information and Technology (Big Data) และ 3. โครงการความร่วมมือ 3 การไฟฟ้า EV Roaming
นายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการ กฟผ. เปิดเผยถึงยุทธศาสตร์ด้านนวัตกรรมของ กฟผ. ว่า ได้วางยุทธศาสตร์ด้านนวัตกรรมไว้ 4 ด้าน ได้แก่ 1. เพิ่มประสิทธิภาพธุรกิจปัจจุบันด้วยนวัตกรรม 2. นวัตกรรมขับเคลื่อนภารกิจอนาคต 3. นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน และ 4. สร้างคน กฟผ. ให้เป็นผู้สร้างนวัตกรรม ซึ่งเป็นหัวใจหลักที่จะขับเคลื่อนการดำเนินงานให้ก้าวหน้าต่อไปในอนาคต
ด้านนายนายวิลาศ เฉลยสัตย์ ผู้ว่าการ กฟน. กล่าวว่า กฟน. มีการวางยุทธศาสตร์ด้านบริหารจัดการนวัตกรรมไว้ 3 กลยุทธ์ เพื่อให้วิถีชีวิตเมืองมหานครดียิ่งขึ้น ได้แก่ 1. การวางโครงสร้างพื้นฐานให้เอื้อต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรม 2. การเสริมสร้างวัฒนธรรมที่มุ่งเน้นความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม และ 3. การพัฒนานวัตกรรมเพื่อตอบสนองลูกค้าผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและความยั่งยืนขององค์กร
นายศุภชัย เอกอุ่น ผู้ว่าการ กฟภ. กล่าวว่า กฟภ. สร้างบรรยากาศและทรัพยากรให้เพียงพอต่อการส่งเสริมผู้ปฏิบัติงานให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน ขยายผลสู่การใช้งานภายในองค์กรและเชิงพาณิชย์ จึงได้วางยุทธศาสตร์ด้านนวัตกรรมไว้ 3 ประการ ได้แก่ 1. การพัฒนายกระดับกระบวนการจัดการนวัตกรรม 2. การสร้างค่านิยมและเสริมสร้างวัฒนธรรมด้านความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม และ 3. การนำความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมมาใช้ประโยชน์
สำหรับนวัตกรรมโดดเด่นของ กฟผ. ที่นำมาจัดแสดงมีหลากหลายผลงาน ซึ่งล้วนเป็นประโยชน์สำหรับการดำเนินภารกิจ และเป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวมอย่างเห็นได้ชัด เช่น ระบบแจ้งจุดขัดข้องในสายส่งแบบติดตั้งภายในสถานี (EGAT Line Fault Location) ซึ่งเป็นหนึ่งในนวัตกรรมที่มีความพิเศษ ที่สามารถบันทึกเหตุการณ์ของสายส่งได้อย่างแม่นยำ อีกทั้งสามารถควบคุมทางไกลเพื่อเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง มีการแจ้งเตือนไปยังโทรศัพท์มือถือเมื่อเกิดเหตุขัดข้อง จึงสามารถนำไปใช้กับงานตรวจสอบสายส่งไฟฟ้าก่อนใช้งาน งานบำรุงรักษาสายส่ง หรือการพยากรณ์ระบบสายส่ง ช่วยลดเวลาและกำลังคนในการเข้าถึงพื้นที่ในการตรวจหาจุดขัดข้อง เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับระบบไฟฟ้าของประเทศ และทำให้ประชาชนได้ใช้ไฟฟ้าอย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ
ขณะเดียวกัน กฟผ. ยังจัดแสดงชุดตรวจเชื้อแบคทีเรียโคลิฟอร์มในน้ำดื่มและน้ำแข็งแบบแคปซูล โดยสามารถนำมาตรวจเชื้อในน้ำดื่มและน้ำแข็งสำหรับการบริโภค ประชาชนใช้งานง่าย สามารถทราบผลรวดเร็วจากการเปลี่ยนสีของน้ำว่าสะอาดหรือมีเชื้อโรคปนเปื้อน มีราคาต้นทุนถูก เก็บรักษาในความเย็นได้นานกว่า 1 ปี ซึ่งปัจจุบัน กฟผ. นำมาใช้ตรวจการปนเปื้อนในน้ำที่สำนักงานใหญ่ กฟผ. และหน่วยงานภูมิภาคทั่วประเทศ รวมถึงส่งมอบให้โรงเรียน มหาวิทยาลัย และบริษัทในกลุ่ม กฟผ. ปีละ 6,000 ชุด โดยผลงานชิ้นนี้ได้รับความสนใจจากผู้ร่วมงานที่เข้ามาสอบถามข้อมูล และนำชุดตรวจเชื้อแบบทดลองไปทดสอบใช้ในหน่วยงานด้วย
อีกยังมีทั้งผลงานของอีก 2 การไฟฟ้า เช่น โครงการ Smart Metro Grid หรือผลงาน PEA VOLTA DC25 นับว่าการผนึกกำลังในครั้งนี้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก นอกจากการโชว์ผลงานความสำเร็จด้านการใช้พลังงานแล้ว ยังสามารถต่อยอดขยายความร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานในอนาคตอีกด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'โรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ' แบตเตอรี่ยักษ์กักเก็บพลังงานสะอาด
ความท้าทายในการก้าวข้ามขีดจำกัดของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่กำลังมีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้นในระบบไฟฟ้าเพื่อเดินหน้าสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนของประเทศ คือ การบริหารจัดการความผันผวนของพลังงานหมุนเวียนที่สามารถผลิตไฟฟ้าได้เพียงบางช่วงเวลา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
'โรงไฟฟ้า SMR' ตัวเปลี่ยนเกมพลังงานสะอาด
ภาวะโลกร้อนที่ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่องและแรงกดดันจากมาตรการทางการค้าถือเป็นปัจจัยสำคัญที่เร่งให้ทั่วโลกพยายามดำเนินมาตรการต่าง ๆ เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เดินหน้าเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น
Fitch Ratings คงอันดับความน่าเชื่อถือของ กฟผ. ในระดับสากลที่ระดับ 'BBB+'
บริษัท Fitch Ratings (Fitch) ประกาศผลการทบทวนการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของ กฟผ. ในระดับสากลที่ระดับ “BBB+” ซึ่งเป็นระดับเทียบเท่ากับอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย และให้มุมมองความน่าเชื่อถือ (Outlook) ของ กฟผ. อยู่ในระดับมีเสถียรภาพ (Stable)
“สวนผักทางไฟ” พลิกพื้นที่แห้งแล้งใต้แนวสายส่งไฟฟ้าสู่แหล่งอาหารบ้านโนนยาง
“เคล” ราชินีแห่งผักใบเขียว หรือคะน้าใบหยิก ที่กำลังเตรียมตัดขายในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า เป็นภาพที่เกษตรกรบ้านโนนยาง อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด
กฟผ. ร่วมส่งความสุขล้นใจแบบรักษ์โลก เป็นของขวัญปีใหม่ 2568 ให้คนไทยฉลองแบบแฮปปี้
กฟผ. เตรียมของขวัญปีใหม่ 2568 ให้คนไทยในรูปแบบ 3 ส่วนลดพิเศษ ส่วนลดผลิตภัณฑ์เบอร์ 5 30,000 สิทธิ์ ส่วนลดค่าชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า
กฟผ.หนุน'ยกน้ำหนัก–เรือพาย'ต่อ สร้างพลังใจดันนักกีฬาไทย สู่ระดับโลก
กฟผ. สนับสนุนงบประมาณ สมาคมยกน้ำหนักฯ สมาคมเรือพายฯ ต่อเนื่องอีก 4 ปี มุ่งพัฒนาศักยภาพนักกีฬาไทยสู้ศึกทั้งในไทยและต่างประเทศ เพื่อสร้างรอยยิ้ม และความสุขให้คนไทย