จะพยายามเดินหน้าปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นลำดับต่อไป จนพระมหกษัตริย์จะเป็นเพียงสัญญลักษณ์ ไม่มีบทบาทและไม่มีพระราชอำนาจใดๆ มีเสรีภาพน้อยกว่าประชาชนทั่วไป ไม่สามารถรับเงินบริจาคโดยเสด็จพระราชกุศลได้ ไม่สามารถแสดงความเห็นทางการเมืองในที่สาธารณะได้ และอาจไปถึงขั้นการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ลงในที่สุด
6 มิ.ย.2566- รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊ก Harirak Sutabutr ว่า ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 กำลังเป็นชนวนเหตุของการขัดแย้งครั้งใหญ่ระหว่างคนไทยด้วยกัน ฝ่ายที่ต้องการให้แก้ไข/ยกเลิก และนิรโทษกรรม อ้างเหตุผลเรื่องเสรีภาพในการแสดงออก แต่ก็น่ามีเหตุผลที่ซ่อนเร้นอยู่นั่นคือ ต้องการจะพูดถึงพระเจ้าอยู่หัวในที่สาธารณะอย่างไรก็ได้โดยไม่มีความผิด และต้องการให้ตัวเอง หรือเพื่อนร่วมขบวนการที่กำลังถูกดำเนินคดีให้พ้นผิด ได้ออกจากคุกหรือไม่ต้องติดคุก
ปฏิเสธไม่ได้ว่าแกนนำพรรคอนาคตใหม่ มาจนกระทั่งเป็นพรรคก้าวไกล ได้พยายามที่จะให้ยกเลิกมาตรา 112 มาตั้งแต่ต้น มีความมุ่งมั่น ตั้งใจ พยายามจะทำให้ได้อย่างน่าแปลกใจ และไม่เคยลดละพยายามตลอดมาตั้งแต่ปี 2562 จนถึงปัจจุบัน เพียงถอยก้าวเดียวคือเปลี่ยนเป็นแก้ไขไม่ยกเลิก เนื้อหาที่ต้องการแก้ไขเปลี่ยนแปลง แทบไม่ต่างจากเนื้อหาที่กลุ่มนิติราษฎร์เคยเสนอให้แก้ไขเมื่อปี 2554 ซึ่งประเด็นสำคัญมีดังนี้
1 . เอามาตรา 112 ออกจากหมวดความมั่นคงของราชอาณาจักรไทย ซึ่งเท่ากับว่าพระมหากษัตริย์ไม่มีส่วนอันใดต่อความมั่นคงของชาติ เพียงให้เป็นความผิดเกี่ยวกับพระเกียรติของ พระมหากษัตริย์ พระราชินี องค์รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
- แยกความคุ้มครองต่อพระมหากษัตริย์ พระราชินี องค์รัขทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ออกจากกัน มีอัตราโทษลดหลั่นกันลงมา
- กำหนดอัตราโทษให้ต่ำลง ไม่มีอัตราโทษขั้นต่ำ และให้มีโทษปรับ
- หากเป็นการติชม หรือแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต ถือว่าไม่มีความผิด หรือพิสูจน์ได้ว่า สิ่งที่พูดเป็นความจริงและเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ก็ไม่ถือเป็นความผืด
- ให้สำนักราชเลขาธิการ เท่านั้นเป็นผู้กล่าวโทษ
นี่คือหลักการที่ตรงกันอย่างไม่ผิดเพี้ยนระหว่างข้อเสนอของกลุ่มนิติราษฎร์และพรรคก้าวไกล แต่มีรายละเอียดที่แตกต่างกันอย่างสำคัญคือ กลุ่มนิติราษฎร์ให้กำหนดอัตราโทษจำคุกให้สูงกว่าความผิดคดีหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดา 1 ปี แต่คณะก้าวไกลเสนอให้กำหนดโทษจำคุกเท่ากับความผิดของบุคคลธรรดาคือไม่เกิน 1 ปี แต่กรณีพระราชินี องค์รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ให้ลดอัตราโทษจำคุกเหลือเพียงไม่เกิน 6 เดือน ซึ่งต่ำกว่าอัตราโทษของบุคคลธรรมดา จึงเสนอให้ลดอัตราโทษบุคคลธรรมดาลงให้เท่ากัน
ได้ฟังคุณจตุพร พรหมพันธุ์ พูดในรายการ News Talk ของช่อง News One เร็วๆนี้ คุณจตุพรได้พูดถึงกรณีมาตรา 112 และให้ข้อมูลที่น้อยคนจะได้เคยรับรู้มาก่อน เนื้อหาที่คุณจตุพรพูดคือ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงพระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้องโทษในคดี 112 เกือบจะทุกราย รวมทั้งคนไทยและคนต่างชาติ ซึ่งในยุคก่อนรัชกาลที่ 10 มีผู้ถูกดำเนินคดีในมาตรา 112 น้อยมาก ซึ่งพระองค์ทรงมีพระราชดำรัสว่า การจัดการเกี่ยวกับคดีตามมาตา 112 ทำให้พระองค์ทรงเดือดร้อน ตรงนี้เราเคยได้ยินได้ฟังมาก่อน แต่ที่เราไม่เคยได้ยินได้ฟังมาเลย คือในรัชสมัยรัชกาลที่ 10 คุณจตุพร ให้ข้อมูลว่า พระองค์ก็ไม่ทรงโปรดให้มีใครถูกดำเนินคดีและถูกลงโทษตามมาตรา 112 และทรงมีพระราโชบาย ไม่ให้มีการดำเนินคดี หรือไม่ให้มีการสั่งฟ้อง หรือหากเรื่องอยู่ในศาลแล้ว ก็ไม่ทรงโปรดให้ลงโทษ และไม่ทรงโปรดให้ประกาศให้รับรู้โดยทั่วไป เท่ากับการมีกฎหมายแต่ไม่ต้องบังคับใช้ เป็นการกระทำอย่างไม่ให้เป็นข่าว จะเห็นว่าพระองค์ทรงล้ำหน้าไปกว่าพวกเรามานานแล้ว
เมื่อพระเจ้าอยู่หัวรัชการที่ 10 ทรงเป็นผู้เสียหายทรงไม่ประสงค์จะเอาเรื่อง คุณจตุพรกล่าวต่อว่า เรื่องใดที่อยู่ในขั้นการสอบสวนของตำรวจ ก็จะไม่ส่งต่อไปยังอัยการ เรื่องใดที่อยู่ในขั้นอัยการ ก็จะไม่ส่งฟ้องศาล เรื่องใดอยู่ในศาล ศาลก็ยกฟ้อง เรื่องใดที่ผู้กระทำผิดถูกจำคุก ก็ได้รับพระราชทานอภัยโทษตามลำดับ ในช่วง 3 ปีแรกของการครองราชย์ เหตุการณ์จึงสงบเรียบร้อย แทบจะไม่มีผู้ถูกดำเนินคดีเลย แต่ต้องขอย้ำว่า ผู้ที่กระทำความผิดตามมาตรา 112 ในช่วงเวลาดังกล่าว มีจำนวนน้อยมาก ไม่ได้มีมากเช่นในปัจจุบัน
วันที่ 15 มีนาคม 2563 ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคอนาคตใหม่ หลังจากนั้นเกิด flash mob บน sky walk แยกปทุมวัน มีการแอบตั้งใจแบบเนียนๆ ด้วยการถ่ายภาพตัวเองกระทำการที่ชั่วช้า ด้านหลังเป็นพระบรมฉายาลักษณ์พระเจ้าอยู่หัวรัชการที่ 9 ซึ่งอยู่บนบิลบอร์ด นำไปเผยแพร่ใน social media หลังจากวันนั้น ก็มีการกระทำอันเป็นการล่วงละเมิดสถาบันพระมหากษัตริย์มากขึ้น โดยเฉพาะใน social media ซึ่งก็มีสำนักข่าวบางสำนักสร้างโอกาสแบบเนียนๆ ให้คนที่ติดตามเข้ามาเขียนข้อความที่เป็นการจาบจ้วง บ่อยครั้งด้วยข้อมูลที่เป็นเท็จ ต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
วันที่ 16 มิถุนายน 2563 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เรียกร้องให้คนไทยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงไม่ให้ใช้กฎหมาย หมิ่นพระบรมเดชานุภาพมาดำเนินคดีกับผู้ล่วงละเมิดสถาบันพระมหากษัตริย์ การประกาศครั้งนี้ ทำให้คนทั่วไปอย่างพวกเราๆได้ทราบว่าพระเจ้าอยู่หัวราชการที่ 10 ทรงมีพระราโชบายเช่นนี้ ทั้งที่พระองค์ท่านทรงดำเนินนโยบายมาตั้งแต่ทรงครองราชย์ใหม่ๆ
จากวันนั้น การกระทำผิดตามาตรา 112 เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดในทุกรูปแบบ ในการชุมนุมของม็อบ 3 นิ้วเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2563 ที่อนุเสาวรีย์ประชาธิปไตย มีการปราศรัยโดยแกนนำจาบจ้วงสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างรุนแรง
วันที่ 10 สิงหาคม 2563 มีการชุมนุมม็อบ “ธรรมศาสตร์จะไม่ทน” ที่ลานพญานาค มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต มีทั้งการปราศรัยจาบจ้วง กล่าวหาโดยไม่มีหลักฐาน มีการขึ้นภาพล้อเลียน เหยียบย่ำ เย้ยหยัน องค์พระมหากษัตริย์ บน back drop บนเวทีปราศรัย แกนนำขึ้นประกาศว่าต้องการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ 10 ข้ออันลือลั่น แต่บน back drop กลับมีข้อความว่า ต้องการปฏิวัติไม่ใช่ปฏิรูป
หลังจากวันนั้นม็อบ 3 นิ้วต่างๆก็เกิดขึ้นตามมาและมีการล่วงละเมิด ล้อเลียน ไปจนถึงการใช เหยียบย่ำ ย่ำยีกันอย่างสนุกสนาน และมีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ต่อมาศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่า การจัดชุมนุม “ธรรมศาสตร์จะไม่ทน” เข้าข่ายเป็นการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และให้หยุดการกระทำเหล่านั้นเสีย
วันที่ 19 พฤศจิกายน 2563 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกาศว่าต่อจากนี้ไปจะบังคับใช้กฎหมายทุกฉบับรวมทั้งประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 แต่การจาบจ้วงล่วงละเมิดองค์พระมหากษัตริย์ก็ไม่ได้ลดลง กลับเพิ่มมากขึ้น รุนแรงขึ้น มีการสาดสีใส่ และเผาพระบรมฉายาลักษณ์ในที่ต่างๆ หลายครั้ง จนมีผู้ถูกดำเนินคดีทั้งหมดถึง 250 คน มากที่สุดยิ่งกว่ายุคใดๆ แต่ละคดีล้วนเข้าข่ายเป็นความผิดตามมาตรา 112 มิใช่เป็นเพียงการแสดงความเห็นที่แตกต่างอย่างที่พยายามพร่ำบอกกันแต่อย่างใด
หลังการเลือกตั้ง ความพยายามที่จะแก้ไข/ยกเลิกมาตรา 112 เป็นบูมเมอแรงย้อนกลับมาเป็นปัญหาต่อเส้นทางการจัดตั้งรัฐบาลและการไปสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของคุณพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ พรรคการเมืองที่ได้รับการทาบทามให้ร่วมจัดตั้งรัฐบาลล้วนมีเงื่อนไขไม่ขอเกี่ยวข้องกับการแก้ไขมาตรา 112 จึงไม่มีการบรรจุเรื่องนี้ใน MOU แต่เนื่องจากพรรคก้าวไกลและคณะก้าวหน้า ได้พยายามผลักดันเพื่อให้มีการยกเลิก และต่อมาเปลี่ยนเป็นแก้ไขมาตั้งแต่แรก และได้ใช้เรื่องนี้หาเสียงจนได้เสียงจากผู้ที่ได้รับการปลูกฝังว่า สถาบันพระมหากษัตริย์ไม่มีประโยชน์ต่อประเทศไทยทั้งยังเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณจากภาษีประชาชนด้วย มาเกือบทั้งหมด ดังนั้นคุณพิธาจึงต้องยืนยันว่า ถึงพรรคพันธมิตรทั้ง 8 พรรค จะไม่ร่วมด้วย แต่พรรคก้าวไกลจะดำเนินการผลักดันต่อไป
นอกจากพรรคพันธมิตรร่วมจัดตั้งรัฐบาลแล้ว การพยายามแก้ไขมาตรา 112 ยังเป็นข้ออ้างให้กับวุฒิสมาชิกที่มีความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ที่จะไม่ลงคะแนนให้คุณพิธา หรืองดออกเสียงเช่นเดียวกับผู้นำเหล่าทัพที่ประกาศชัดเจนไปแล้ว ทำให้เส้นทางไปสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของคุณพิธาค่อนข้างมืดมน ต่อให้ไม่มีกรณีถือหุ้น itv เข้ามาเกี่ยวข้องก็ตาม
ไม่ว่าพรรคก้าวไกลจะได้เป็นรัฐบาลหรือไม่ก็ตาาม หากเขาสามารถแก้ไขมาตรา 112 ได้สำเร็จ พรรคก้าวไกล และคณะก้าวหน้าคงไม่หยุดอยู่เพียงแค่นั้น แต่จะพยายามเดินหน้าปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นลำดับต่อไป จนพระมหกษัตริย์จะเป็นเพียงสัญญลักษณ์ ไม่มีบทบาทและไม่มีพระราชอำนาจใดๆ มีเสรีภาพน้อยกว่าประชาชนทั่วไป ไม่สามารถรับเงินบริจาคโดยเสด็จพระราชกุศลได้ ไม่สามารถแสดงความเห็นทางการเมืองในที่สาธารณะได้ และอาจไปถึงขั้นการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ลงในที่สุด
ประชาชนส่วนใหญ่ที่ยังคงเห็นว่า สถาบันพระมหากษัตริย์มีความสำคัญต่อความมั่นคงของประเทศไทย และควรที่จะคงอยู่คู่กับประเทศไทยต่อไป คงไม่ยอมให้พรรคก้าวไกลทำเช่นนั้น เมื่อใดที่การเข้าสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของคุณพิธาต้องสะดุดและไปต่อไม่ได้ ม็อบ 3 นิ้วย่อมต้องออกมาเต็มเมือง ม็อบฝ่ายที่ไม่ยอมก็ต้องออกมา สงครามกลางเมืองย่อยๆก็จะเกิดขึ้น จากนั้นอะไรจะเกิดขึ้นตามมาทุกคนคงทราบดี
พระสยามเทวาธิราชมีจริง ศักสิทธิ์จริง จะเกิดอะไรขึ้นพวกที่กล้าลบหลู่ท่าน เรามาคอยดูกัน.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ปลุกรุมบี้ 'รัฐบาลอิ๊งค์' ส่งศาล รธน. ชี้ขาด 'MOU 44'
รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ท่านที่ได้อ่านโพสต์ที่แล้วของผม คงจะมีความเข้าใจเกี่ยวกับที่มาที่ไป
'อ.หริรักษ์' สรุปข้อเท็จจริง MOU 44 ที่ทุกคนควรรู้ ทั้งเสียงคัดค้าน-ฝ่ายรัฐบาล
รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า
'ทักษิณ-พท.' อย่าเพิ่งตีปีก! ชั้น 14 ป.ป.ช. ใกล้งวด คดีครอบงำยิ่งชัด รอ กกต. เคาะ
รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า หน้าแตกกันไปตามๆ กัน เมื่อได้ทราบผลการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญว่าไม่รับวินิจฉัยคำร้อง
‘สาธิต’ ถาม 2 ผู้ยิ่งใหญ่ทางการเมือง ผู้นำจิตวิญญาณ จะเชื่อได้กี่โมง?
สาธิต ปิตุเตชะ อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) และอดีตสมาชิกพรรค ปชป. โพสต์เฟซบุ๊กหัวข้อ 'จะเชื่อได้? กี่โมงครับ'
ชำแหละ 'ทักษิณ' งัดกลยุทธ์ตอกย้ำสร้างปชน.เป็น 'ปีศาจใหม่' เพื่อให้พท.หลุดรอด 'ปีศาจเก่า'
'จตุพร' ซัด 'ทักษิณ' ปราศรัยหาเสียงอุดร ด้วยกระบวนท่า สทร. แต่ไม่เสนอนโยบายพัฒนาท้องถิ่น งัดกลยุทธ์ตอกย้ำสร้างพรรคประชาชนเป็น 'ปีศาจใหม่' เพื่อให้เพื่อไทยหลุดรอด'ปีศาจเก่า' โชว์ลีลาดาบตระบัดสัตย์ไร้ปรานีฟาดฟันนักร้อง แบ่งซีกดูถูกหยามเหยียด แยกคนอยู่ส่วนคน หมาอยู่ส่วนหมา