3 เหล่าทัพ ยิงสลุต 21 นัด เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี

3 มิ.ย.2566 - เวลา 12.00 น. เหล่าทัพ ประกอบด้วยกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศได้ทำการยิงสลุตหลวง จำนวน 21 นัด เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 2566 กองทัพบกได้ทำการยิงสลุตโดย กรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์ บริเวณท้องสนามหลวง , กองทัพเรือ โดย กองพันทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์ กรมทหารราบที่ 1 กองพลนาวิกโยธิน หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน ณ ป้อมวิไชยประสิทธิ์ พระราชวังเดิม กองทัพอากาศ โดย กรมทหารต่อสู้อากาศยานรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน ที่ลานอเนกประสงค์ โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช (ดอนเมือง)

กองประชาสัมพันธ์ กองทัพเรือ ให้ข้อมูลว่าการยิงสลุต ถือเป็นธรรมเนียมที่ทุกประเทศทั่วโลก ได้ยึดถือสืบทอดกันมาแต่ครั้งโบราณเพื่อเป็นการแสดงความเคารพให้แก่ชาติ หรือธง หรือบุคคล โดยยิงปืนใหญ่ด้วยดินดำหรือดินไม่มีควัน มีจำนวนนัดเป็นเกณฑ์ตามควรแก่เกียรติ หรือสิ่งที่ควรรับความเคารพ สำหรับในประเทศไทย การยิงสลุตครั้งแรกเกิดขึ้นที่ ป้อมวิไชยเยนทร์ หรือ ป้อมวิไชยประสิทธิ์ ซึ่งตั้งอยู่ภายใน กองบัญชาการกองทัพเรือพระราชวังเดิม ในปัจจุบัน ซึ่งในขณนั้นตรงกับรัชสมัยของ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีการรื้อฟื้นประเพณียิงสลุตขึ้นมาใหม่เป็นครั้งแรกในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2491 เนื่องในพระราชพิธีวันเฉลิมพระชนมพรรษา ของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

ส่วนหลักเกณฑ์การยิงสลุตในปัจจุบัน หากเป็นงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา งานพระราชพิธีฉัตรมงคล หรือวันพระราชสมภพสมเด็จพระบรมราชินี หรือสมเด็จพระยุพราช รวมถึงงานต้อนรับพระมหากษัตริย์หรือประมุขแห่งรัฐ ยิงสลุตจำนวน 21 นัด ถ้าเป็นระดับนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (ที่เป็นทหาร) ผู้บัญชาการทหารเรือ จอมพลเรือ และเอกอัครราชทูต ยิงสลุต 19 นัด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (ที่เป็นพลเรือน) พลเรือเอก และเอกอัครราชทูตพิเศษ ยิงสลุต 17 นัด พลเรือโท และอัครราชทูต ยิงสลุต 15 นัด พลเรือตรี และราชทูต ยิงสลุต 13 นัด (สามเหล่าทัพยศเท่ากัน ยิงสลุตเท่ากัน) อุปทูตยิงสลุต 11 นัด กงสุลใหญ่ ยิงสลุต 9 นัด

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.อ. เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้นำเหล่าทัพ ได้ร่วมลงนามถวายพระพรชัยมงคล ณ ศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวั นอกจากนั้น ยังมีการทำกิจกรรมจิตอาสาร่วมกับ ส่วนราชการ ภาคเอกชน เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เช่น พล.อ. ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.)เป็นประธานในการทำกิจกรรมที่วัดวัดมกุฏกษัตริยาราม โดยมีพิธีถวายราชสักการะ ถวายราชสดุดี ถวายพระพรชัยมงคล, และกิจกรรมพัฒนาพื้นที่วัด ฯ โดยรอบด้วย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ผบ.ทบ. เซ็น แต่งตั้ง-โยกย้าย ผู้บังคับกองพันทั่วประเทศ 461 นาย

การแจกจ่ายคำสั่งกองทัพบกที่ 442/ 2567 โดยมี พ.อ.พนา แคล้วปลอดทุกข์ ผู้บัญชาการทหารบก ลงนาม เมื่อวันที่ 20 พ.ย.2567 แต่งตั้งโยกย้ายนายทหารระดับผู้บังคับกองพันทั่วประเทศจำนวนทั้งสิ้น 461 นาย

ทร. เตรียมจัดเสวนาเรื่องเส้นเขตแดนทางทะเล ปม MOU 44 หวังสื่อสารให้สังคมเข้าใจ

พล.ร.อ.จิรพล ว่องวิทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) กล่าวภายหลังทำพิธีวันสถาปนากองทัพเรือ ครบรอบ 118 ปี เมื่อถามว่า อดีต ผบ.ทร. ได้ฝากถึงกรณี MOU 44

ทอ.ปรับโครงสร้างใหญ่ เตรียมเปลี่ยนชื่อเป็น 'กองทัพอากาศและอวกาศ'

พล.อ.ท.ประภาส สอนใจดี โฆษกกองทัพอากาศ แถลงภายหลังประชุมผู้บัญชาการเหล่าทัพ ครั้งที่ 1 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 ถึงการปรับโครงสร้างกองทัพอากาศ ตามที่ พล.อ.ทรงวิทย์ หนุนภักดี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้สั่งการ

'ภูมิธรรม' ไม่ขีดเส้นตาย 'ทัพเรือ' ชี้แจงเปลี่ยนเครื่องยนต์เรือดำน้ำเป็นของจีน

นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯ และ รมว.กลาโหม กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการเรือดำน้ำ หลังสั่งการให้กองทัพเรือไปจัดทำรายละเอียดเพิ่มเติม ในกรณีที่ต้องเปลี่ยนเป็นเครื่องยนต์ CHD620 ของจีน และการขยายสัญญา 1,217 วัน

ผบ.ทบ. ถอด 'คอแดง' ใส่ชุดฝึก 'คอเขียว' หลังปรับโครงสร้างหน่วยทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ 904

พล.อ.พนา แคล้วปลอดทุกข์ ผู้บัญชาการทหารบกและผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก นำคณะผู้บังคับบัญชาของกองทัพบก เดินทางไปตรวจเยี่ยมติดตามการดำเนินงานของหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ และศูนย์การบินทหารบก