ซูเปอร์โพล เปิดผลสะท้อน ประชาชนเบื่อหน่ายการการจัดตั้งรัฐบาล แย่งชิงผลประโยชน์ จนละเลยความเดือดร้อน พร้อมผิดหวัง จุดยืนของพรรคก้าวไกล ไม่ทำตามที่เคยหาเสียงไว้
28 พ.ค.2566 – สำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เสนอผลสำรวจศึกษาต่อเนื่อง เรื่อง ก้าวไกล กับ ราษฎร กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) รวมจำนวนตัวอย่างในการวิเคราะห์ทางสถิติทั้งสิ้น 1,035 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 25 – 28 พฤษภาคม พ.ศ.2566 โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนจากขนาดตัวอย่างบวกลบร้อยละ 5 ในช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95
ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 85.2 เบื่อหน่ายการเมือง จัดตั้งรัฐบาลหลังเลือกตั้ง เพราะมีแต่แย่งชิงตำแหน่ง อำนาจ ผลประโยชน์ ละเลยความเดือดร้อนของราษฎร การแพร่ระบาดของโควิด และปัญหาปากท้อง เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 14.8 ไม่เบื่อ เพราะ น่าสนใจติดตาม ใครจะได้เป็นนายกรัฐมนตรี พรรคอะไรจะได้เป็นรัฐบาลบ้าง พิธา จะได้เป็นนายกรัฐมนตรีหรือไม่ เป็นเรื่องธรรมดาของการเมือง เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 70.5 รู้สึกผิดหวังต่อจุดยืนของพรรคก้าวไกล ที่เคยหาเสียงไว้ เช่น พอได้เป็นแล้วเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ค่าแรง 450 ไม่ชัดเจน กฎหมาย 112 การปฏิรูปเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ และอื่น ๆ เป็นต้น ในขณะที่ ร้อยละ 29.5 ไม่ผิดหวัง เพราะ เพิ่งรวมตัวกันต้องให้เวลาก่อน ค่อยเป็นค่อยไป หนักแน่นในก้าวไกล เป็นต้น
ที่น่าสนใจคือ เมื่อถามถึงความเห็นต่อการถอนตัวของพรรคเพื่อไทย จากความขัดแย้งต่าง ๆ ในการเป็นพรรคร่วมรัฐบาลที่กำลังพยายามจัดตั้งโดยพรรคก้าวไกล พบว่า จำนวนมากหรือร้อยละ 44.9 ระบุ แล้วแต่เลย ถอนก็ได้ ไม่ถอนก็ได้ ในขณะที่ ร้อยละ 32.8 ระบุควรอยู่ต่อ และร้อยละ 22.3 ระบุควรถอนตัว ตามลำดับ
รายงานซูเปอร์โพล ระบุด้วยว่า ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ พบด้วยว่า ความรู้สึกของราษฎรเริ่มเบื่อหน่ายต่อการเมืองจัดตั้งรัฐบาลที่มองข้ามปัญหาเดือดร้อนของประชาชนผู้เป็นราษฎรประสบปัญหามากมายในเวลานี้ทั้งปัญหาการกลับมาแพร่ระบาดของโควิด ปัญหาปากท้อง ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ความขัดแย้งของคนในชาติที่เริ่มก่อตัวปะทุขึ้นอีก อย่างไรก็ตาม ประชาชนจำนวนไม่น้อยต้องการให้เวลาพรรคก้าวไกลอีกระยะหนึ่งในความพยายามจัดตั้งรัฐบาลให้สำเร็จ แต่หากมีความขัดแย้งระหว่างพรรคร่วมรัฐบาลประชาชนจำนวนมากระบุแล้วแต่เลยว่าพรรคเพื่อไทยจะถอนตัวหรือไม่ถอนตัวก็ได้ และยังให้ความเห็นว่าอย่าลืมความคาดหวังของประชาชน บ้างก็ว่า อยู่ได้ก็อยู่ อยู่ไม่ได้ก็ไป บ้างก็สรุปความเห็นให้ทุกฝ่ายเร่งแก้ปัญหาเดือดร้อนเพื่อความสุขของประชาชน.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'เอ็ดดี้ อัษฎางค์' มีคำตอบให้! 'พิธา' ไม่เข้าใจทำไมกลายเป็นศัตรูเพื่อไทย
เอ็ดดี้-อัษฎางค์ ยมนาค อินฟลูเอ็นเซอร์การเมือง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า "พิธา ลิ้มเจริญรัตน์" ไม่เข้าใจทำไมกลายเป็นศัตรูกับเพื่อไทย อัษฎางค์ ยมนาค มีคำตอบให้
'พิธา' คุยพรรคประชาชนแข่งเลือกตั้งมีแต่ชนะกับพัฒนา ไม่มีคำว่าแพ้
ที่จ.อุดรธานี แกนนำ สส. และผู้ช่วยหาเสียงพรรคประชาชน ร่วมเวทีปราศรัยหาเสียงเลือกตั้งนายก องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) อุดรธานี ที่จะมีการเลือกตั้งในวันที่ 24 พ.ย. 2567 ซึ่งพรรคประชาชนได้ส่ง คณิศร ขุริรัง เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นนายก
'พิธา' เย้ยกลับทักษิณอย่าลืมผลเลือกตั้ง 66 ลั่นอุดรฯคือเมืองหลวงประชาธิปไตย
นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ประธานที่ปรึกษาคณะก้าวหน้าและอดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล ในฐานะผู้ช่วยหาเสียง นายคณิศร ขุริรัง ผู้สมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานีจากพรรคประชาชน
'พิธา' เผยไม่ได้เห็นต่าง 'ทักษิณ' เรื่องเปลี่ยนโครงสร้าง เหน็บอย่ามัวแต่พูด ถึงเวลาต้องทำแล้ว
นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ประธานที่ปรึกษาคณะก้าวหน้าและอดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล กล่าวระหว่างลงพื้นที่เป็นผู้ช่วยหาเสียงนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ถึงกรณีที่นายทักษิณ ชินวัตร
ถึงคิว 'พิธา' ยกทัพตรึงอุดรฯ ร่วมงานลอยกระทง ขึ้นปราศรัย 3 เวทีใหญ่
ถึงคิว 'พิธา' ยกทัพตรึงอุดรธานี หลังโดน 'ทักษิณ-พท.' แย่งเรตติ้งสองวันติด ร่วมงานลอยกระทง ก่อนขึ้นเวทีปราศรัยใหญ่สามจุดวันเสาร์
จับตา “พ่อใหญ่แม้ว” เยือนอุดรฯ เป่ากระหม่อม24พ.ย.สู้ศึกอบจ.
ในวันที่ 24 พ.ย.ที่จะถึงนี้มีการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) อุดรธานี ซึ่งก่อนหน้านี้มี “วิเชียร ขาวขำ” นั่งเป็นนายก อบจ.อุดรฯ แต่เจ้าตัวลาออกอ้างปัญหาสุขภาพ จึงต้องทำให้มีการเลือกตั้งใหม่ภายใน 60 วัน และเป็นที่น่าจับตาว่า พรรคใหญ่ 2 พรรค ส่งคนสู้ศึกในครั้งนี้ใครจะเป็นผู้ชนะ