'สุชาติ' สอน 'ก้าวไกล' ประธานสภาฯไม่มีสิทธิเลือกกฎหมายตามใจ

27 พ.ค.2566 - นายสุชาติ ตันเจริญ ว่าที่ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะอดีตรองประธานสภาฯ กล่าวถึงกรณีแถลงการณ์ของพรรคก้าวไกล และคำให้สัมภาษณ์ของแกนนำพรรคก้าวไกลเกี่ยวกับตำแหน่งประธานสภาว่า อาจทำให้สังคมเกิดความเข้าใจผิดได้ว่า ประธานสภาฯ และนายกฯสามารถใช้ดุลพินิจเกี่ยวกับการตรากฎหมายยิ่งกว่าเจตจำนงของ ส.ส.ที่เป็นตัวแทนของประชาชน และการอ้างว่าเป็นประเพณีที่พรรคการเมืองที่ได้คะแนนเสียงเป็นอันดับ 1 ในสภาฯ จะได้รับตำแหน่งประธานสภาฯ ก็ไม่ตรงตามข้อเท็จจริงเสียทีเดียว เพราะในประวัติศาสตร์มีหลายครั้งที่ประธานสภาฯ ก็ไม่ได้มาจากพรรคการเมืองที่มี ส.ส.มากที่สุด ที่ผ่านมาทุกสมัย ประธานสภาฯจะมาจากการเลือกของเพื่อน ส.ส.ในสภาฯ ไม่ใช่พรรคการเมืองพรรคใดพรรคหนึ่งเป็นผู้เลือก และการปฏิบัติหน้าที่ของประธานสภาฯ จะต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเป็นกลางตามกรอบที่รัฐธรรมนูญ ตลอดจนข้อบังคับการประชุมสภาฯกำหนด สำหรับการบรรจุวาการประชุมสภาฯ รวมไปถึงวาระการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ต่างๆ ประธานสภาฯ ไม่มีอำนาจเหนือรัฐธรรมนูญ และข้อบังคับการประชุมสภาฯ การจะบรรจุร่าง พ.ร.บ.ของพรรคที่ตนเองสังกัดก็ต้องบรรจุตามลำดับ ประธานสภาฯ ไม่มีสิทธิ์ที่จะเลือกบรรจุตามอำเภอใจได้ และไม่มีสิทธิ์ที่จะเลื่อนร่าง พ.ร.บ.ที่บรรจุไปแล้วขึ้นมาพิจารณา ซึ่งเป็นเรื่องของที่ประชุมสภาฯต้องตกลงกัน 
 
“เข้าใจว่า ขณะนี้มีความพยายามในการแย่งชิงตำแหน่งประธานสภาฯกันระหว่างพรรคอันดับ 1 และอันดับ 2 ซึ่งเป็นเรื่องการเจรจาต่อรองกันทางการเมืองที่เจรจากันเป็นการภายใน และพรรคก้าวไกลเองก็มีอดีต ส.ส.ร่วมทำหน้าที่ในสภาฯชุดที่แล้วหลายท่าน การกล่าวหาสภาฯในทางเสียหาย ก็เหมือนกับตำหนิการทำหน้าที่ของตัวเองด้วย จึงอยากให้ระมัดระวังการให้ข้อมูลที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับสภาฯ หรืออำนาจหน้าที่ของประธานสภาฯ ส่วนตัวผมก็มีคนเชียร์ว่า จะถูกเสนอชื่อเป็นประธานสภาฯ ในสภาฯชุดนี้ แต่ก็ขึ้นอยู่กับพรรคที่จะเสนอชื่อใคร และก็ต้องขึ้นอยู่กับที่ประชุมสภาฯด้วยว่า จะลงมติเลือกหรือไม่ แต่สาระสำคัญไม่ใช่อยู่ใครได้เป็นประธานสภาฯ เพราะความสำคัญอยู่ที่การที่สภาฯได้เริ่มทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาของพี่น้องประชาชนที่ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งมาได้เมื่อใดมากกว่า”  นายสุชาติ กล่าว
 
นายสุชาติ ยังได้กล่าวถึงวาระของ พรรคก้าวไกล ที่ต้องการทำให้สภาฯมีความโปร่งใส เปิดเผย ตรวจสอบได้ว่า ในสภาฯชุดที่ผ่านมา การประชุมสภาฯ จะมีการถ่ายทอดสดการประชุมทุกครั้งทางสถานีวิทยุรัฐสภาคลื่น FM 87.5 เมกกะเฮิร์ต และถ่ายทอดทางโทรทัศน์รัฐสภา TPTV ช่อง 10 รวมทั้งผ่านทางแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆตลอด 4 ปี ส่วนการประชุมของคณะกรรมาธิการนั้น จะมีทั้งข้อมูลที่เปิดเผยได้ และเปิดเผยไม่ได้ การประชุมใดจะเป็นการลับ หรือเป็นการเปิดเผยจึงขึ้นอยู่กับมติของสมาชิกคณะกรรมาธิการนั้นๆ
 
เมื่อถามว่า ตามกระแสข่าวหากพรรคเพื่อไทยได้โควตาประธานสภาฯจริง นายสุชาติ อาจได้รับการเสนอชื่อ นายสุชาติ กล่าวว่า การลงมติเลือกผู้ทำหน้าที่ประธานสภาฯ ไม่ใช่เรื่องของพรรคการเมืองใด แต่เป็นการลงมติร่วมกันของ ส.ส.ทั้งสภาฯ ทั้งรัฐบาล และฝ่ายค้าน ส่วนตัวไม่ได้ยึดติดกับตำแหน่งและไม่อยากให้เรื่องนี้เป็นอุปสรรคที่อาจทำให้การจัดตั้งรัฐบาลล่าช้า เพราะปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนรอไม่ได้ จึงอยากฝากไปถึงให้ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้เร่งพิจารณาประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง เพื่อให้สภาฯเดินหน้าการทำงานได้โดยเร็ว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สส.เพื่อไทย ดี๊ด๊า ประเทศไทยมีระบบที่เป็นมาตรฐาน!

นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่าประชาชนที่ติดตามเรื่องนี้คงสบายใจขึ้นที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับ

สาวกเพื่อไทย ยื่นศาลรธน.สอบ 'ธนพร' ละเมิดอำนาจศาล

ที่บริเวณ​หน้าศาลรัฐธรรมนูญ​ นายนิยม นพรัตน์ หรือเค สามถุยส์ และนายทันกวินท์ รัฐวัฒก์อังกูร เดินทางมายังสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อยื่นหนังสือร้อง นายธนพร ศรียากูล ผู้อำนวยการสถาบันวิเคราะห์

'ชูศักดิ์' เผย 'เพื่อไทย' ได้รับความเป็นธรรม ศาลรธน. ไม่รับคำร้องปมล้มล้างการปกครอง

นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงภายหลังที่ศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้องนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ทนายอิสระ ที่ขอให้ศาลมีคำสั่งให้นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย(พท.) ยุติการกระทำที่เข้าข่ายล้มล้างการปกครองจะผูกพันไปยังกรณีที่มีการยื่นคำร้องเดียว

'อิ๊งค์' ยิ้มรับ 'พ่อ-เพื่อไทย' รอดล้มล้างปกครอง ชาวเน็ตชี้จากนี้ไป 'ทักษิณ' ใส่เกียร์เหลิง

จากกรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย คำร้องที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ

2 ตุลาการศาลรธน.เสียงข้างน้อย รับคำร้อง 'ทักษิณ' สั่งรัฐบาลเอื้อประโยชน์ฮุนเซน น่าจะเกิดผลใช้สิทธิล้มล้างปกครองฯ

จากกรณีนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 10 ต.ค.2567 ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 กล่าวอ้างว่า นายทักษิณ ชินวัตร (ผู้ถูก

'แก้วสรร' แนะ 'ธีรยุทธ' ปรับยุทธวิธี เสริมความแกร่งของสำนวนมุ่งไปที่ กกต.-ปปช.

หลังตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย กรณีที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ