20 พ.ค.2566 - นายแก้วสรร อติโพธิ นักวิชาการอิสระ ออกบทความเรื่อง "ก้าวไกล..ทำอะไรกับ 112?" มีเนื้อหาในรูปแบบถามและตอบ ดังนี้
ถาม วันนี้ ก้าวไกล เขายังยืนยันนะครับว่า เขาเสนอแก้ไข ๑๑๒ เท่านั้น ไม่ใช่ยกเลิก
ตอบ ถ้าเช่นนั้น ผมก็ต้องขอวิเคราะห์ฉายซ้ำให้เห็นกันอีกทีว่า จริงๆแล้วร่างกฎหมายที่เขาเคยเสนอนั้น มัน “ยกเลิก” หรือ “แก้ไข” กันแน่
ถาม ขอคำอธิบายก่อนครับว่า “ ความเป็น ๑๑๒” ในกฎหมายอาญาปัจจุบัน คืออะไร
ตอบ เรื่องความผิดทางวาจา ไปพูดจาใส่ความให้เขาเสียหาย หรือดูหมิ่นให้เสียศักดิ์ศรีนี้ กฎหมายเรามีสองระบบ คือระบบคุ้มครองคนธรรมดา กับระบบคุ้มครองสถาบัน เช่นถ้าดูหมิ่นคนธรรมดาก็โทษเบาแค่ลหุโทษ แต่ถ้าดูหมิ่นในหลวง ดูหมิ่นเจ้าพนักงาน ดูหมิ่นศาล ก็เป็นอีกระบบหนึ่งที่ถือเป็นความผิดต่อแผ่นดินข้อห้ามเคร่งครัดขึ้น หรือโทษหนักขึ้น เหตุเพราะมุ่งคุ้มครองสถาบัน ทั้งสถาบันประมุข สถาบันการปกครอง และสถาบันทางกฎหมาย
กฎหมายใหม่ของก้าวไกล คือเลิกไม่คุ้มครองในหลวงด้วยระบบคุ้มครองสถาบันอีกต่อไป ให้ถือเป็นคนธรรมดาที่เผอิญเกิดมาเป็นในหลวงเท่านั้น เมื่อเลิกคุ้มครองแบบสถาบัน การคุ้มครองแบบคนธรรมดาก็เข้ามาแทน แต่เวลาเขียนเป็นกฎหมาย ก็ต้องแยกบัญญัติกำหนดเงื่อนไขทางปฏิบัติไว้เป็นพิเศษบ้าง
ถาม แล้วการคุ้มครองในหลวงจากปากคนจะเปลี่ยนไปอย่างไร ด้วยกฎหมายก้าวไกล
ตอบ จะเปลี่ยนไปอย่างนี้ครับ
ถาม เทียบอย่างนี้แล้ว ในหลวงก็กลายเป็นคนธรรมดาด้วยกฎหมายก้าวไกล
ตอบ ถูกต้องครับ ต่อไปนี้คนเป็นในหลวงจะถูกเล็งเป้า เสียหายจากปากคนได้ทุกวัน สำนักพระราชวังต้องจ้างเหมาสำนักงานทนายความไว้คอยแจ้งความเลย ตรงนี้คุณชวน หลีกภัยทำถูกแล้ว ที่ไม่บรรจุร่างกฎหมายของก้าวไกลเข้าวาระประชุมสภาผู้แทน โดยเหตุที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญซึ่งระบุไว้ว่า ทรงเป็นที่สักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ แต่ถ้าภายหน้ามีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่จริง เขาคงเลิกบทนี้ด้วย
ถาม ทำไมเราถึงวิพากษ์ในหลวงไม่ได้
ตอบ สถาบันกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ เป็น “สติของประเทศ” ที่อยู่เหนือฝักฝ่าย การเมืองมาแล้วก็ไป ในหลวงไม่ไปไหน เราจึงให้พระราชอำนาจที่จะทรงยับยั้งร่างกฎหมายได้ เรียกรัฐบาลมาสอบถามหรือให้คำแนะนำได้ ราชการสำคัญที่ริเริ่มก็ต้องกราบทูลรายงานให้ทรงทราบด้วย บ้านเมืองแตกแยกจะฆ่าแกงกัน ก็ทรงเรียกมาพูดคุยหยุดจลาจลได้
พระราชอำนาจทั้งหมดนี้ จะคุ้มแผ่นดินได้จริง ก็ต้องคุ้มครอง “บารมี” ของในหลวงด้วย จะให้วิพากษ์กันจนเละไม่ได้ เหตุผลนี้นี่เอง ที่ ๑๑๒ ต้องเป็นความผิดต่อแผ่นดิน ใครที่ไม่ยอมรับองค์คุณเช่นนี้ของสถาบัน เขาก็ย่อมเห็นว่า ๑๑๒ เป็นกฎหมายที่ละเมิดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เป็นธรรมดา จึงต้องแก้กฎหมายให้ทรงเป็นคนธรรมดาที่วิพากษ์ได้ จนทรงรับเละในที่สุด
ถาม ผมอ่านร่างกฎหมายของก้าวไกลแล้ว ทำไมเขาเอื้อมมาแก้ไขกฎหมายหมิ่นประมาทและดูหมิ่นด้วย
ตอบ เป้าหมายของเขาจริงๆ อยู่ที่เลิก ๑๑๒ ให้ในหลวงถูกใส่ความได้วิพากษ์ได้เช่นคนธรรมดาทั่วไป แต่เพื่อให้ดูดีว่านี่คือการแก้กฎหมายเพื่อเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เขาจึงเอื้อมมาแก้กฎหมายลดโทษหมิ่นคนธรรมดา หมิ่นเจ้าพนักงาน หมิ่นศาลด้วย เช่นถ้าหมิ่นประมาทคนธรรมดา ก็เลิกโทษจำคุก ๑ ปี จน เหลือแต่โทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาทเป็นต้น ต่อไปจะด่าใครมีเงินสองหมื่นก็ด่าได้สบายไม่ต้องกลัวติดคุกแล้ว ดูหมิ่นเจ้าพนักงานก็เช่นกัน มีเงินก็ด่าได้แล้ว
ถาม เอื้อมมือมาลดโทษความผิดพวกนี้ ให้คนธรรมดาด่ากันเองได้สะดวกใจขึ้นทำไม มันไม่ใช่การส่งเสริมเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นที่ตรงไหนเลย ยกเลิก ๑๑๒ ให้คนวิพากษ์ในหลวงได้เช่นคนธรรมดาก็สมใจแล้ว ไม่ใช่หรือ
ตอบ มันเป็นม่านกำบังให้คนหลงเชื่อว่า ร่างกฎหมายนี้ก้าวไกลมุ่งขยายเสรีภาพโดยรวม ไม่ใช่จ้องแต่จะล้มสถาบันลูกเดียวอย่างที่พูดกัน
นี่คือเล่ห์กลอำพรางทางกฎหมายครับ เขาเชื่อจริงๆว่า คนไทยยังโง่อยู่
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
แก้วสรร : หลักคิดทางกฎหมายเรื่องอำนาจบริหารโทษของราชทัณฑ์
นายแก้วสรร อติโพธิ นักวิชาการอิสระ อดีตรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.)
'แก้วสรร' แพร่บทความ 'อนาคตรัฐบาลชินวัตร 4 ใต้กรอบกฎหมายไทย'
นายแก้วสรร อติโพธิ วิชาการอิสระ อดีตรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ออกบทความเรื่อง "อนาคตรัฐบาลชินวัตร 4 ใต้กรอบกฎหมายไทย"
ตั้งป้อมชน 'ระบอบทักษิณใหม่' ประเดิม 18 ธ.ค. บุก ป.ป.ช. หึ่งล็อบบี้หนักล้มคดีชั้น 14
วงหารือฝ่ายต้านรัฐบาล ตั้งป้อมชน 'ระบอบทักษิณใหม่' นำร่อง 18 ธ.ค. บุกตึก ป.ป.ช. หลังได้กลิ่นล็อบบี้หนัก 3 กรรมการฯ ล้มคดีชั้น 14
'แก้วสรร' แพร่บทความ คดีที่ดินเขากระโดง : กระโดงใคร?
นายแก้วสรร อติโพธิ เผยแพร่บทความในรูปแบบถาม-ตอบ เรื่อง "คดี “ที่ดินเขากระโดง”: กระโดงใคร? มีเนื้อหาดังนี้
'แก้วสรร' แพร่บทความ ปัญหาความเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองของ 'กิตติรัตน์ ณ ระนอง'
นายแก้วสรร อติโพธิ เผยแพร่บทความเรื่อง ปัญหา “ความเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง”ของนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง มีเนื้อหาดังนี้