ประชาธิปัตย์ลุ้น 'อภิสิทธิ์-ชัยวุฒิ' หวนกลับ ฟื้นฟูพรรค

16 พ.ค.2566- ผู้สื่อข่าวรายงานว่าวาระการดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ของนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หมดวาระลงในวันที่ 15 พ.ค. 2566 ครบ 4 ปี พอดีกับการดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค โดยได้ประกาศลาออกจากหัวหน้าพรรคเพื่อรับผิดชอบความพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อ 14 พ.ค. โดยตามระเบียบข้อบังคับพรรค ปชป. ต้องมีการเรียกประชุมเพื่อคัดเลือก กก.บห.ชุดใหม่

ขณะที่นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน เลขาธิการพรรค ที่ประกาศว่า หากเลือกตั้งแล้วได้ส.ส.น้อยกว่าเดิมคือ 52 ที่นั่ง จะเลิกเล่นการเมืองตลอดชีวิต ซึ่งเคยระบุกับสื่อขณะที่ไปร่วมเวทีปราศรัยหาเสียงที่ใต้สะพานพระราม8 ว่า หากเลิกเล่นการเมืองแล้ว ก็จะไปทำธุรกิจและเล่นหุ้น ทำให้ต้องหาบุคคลที่มีความพร้อมในการทำหน้าที่หัวหน้าคนใหม่ และเลขาธิการพรรคคนใหม่

โดยขณะนี้ในกก.บห.ชุดรักษาการบางส่วน และอดีตส.ส. รวมถึงสมาชิกพรรค มีการคุยในกลุ่มไลน์และ จับกลุ่มคุยกันนั้น มีชื่อของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตหัวหน้าพรรคที่เว้นวรรคการเมืองไป 4 ปี ด้วยจุดยืนที่ชัดเจน และนายชัยวุฒิ บรรณาวัฒน์ อดีตรองหัวหน้าพรรค อดีตรมว.อุตสาหกรรมและอดีตส.ส.ตาก ที่เลือกตั้งครั้งนี้ขอเว้นวรรคทางการเมืองถูกเอ่ยถึงในมวลหมู่สมาชิกพรรคปชป. ว่ามีความเหมาะสมที่จะมาฟื้นฟูวิกฤตศรัทธาพรรคที่ตกต่ำที่สุดสะท้อนผ่านผลการเลือกตั้งที่พรรคได้รับเลือกส.ส.มาแค่ 25 เก้าอี้จากส.ส.2 ระบบ โดยเหมาะสมในการเข้ามาเป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคเพื่อกอบกู้พรรคหรือรีแบรนดิ้งพรรคให้เป็นสถาบันการเมืองต่อไป

ขณะที่ น.ต.สุธรรม ระหงษ์ ผอ.พรรค ประชาธิปัตย์ ( ปชป.) เปิดเผยถึงความคืบหน้ากรณีการจัดประขุมใหญ่วิสามัยประจำปีเพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหาร(กก.บห.)พรรค ปชป. ชุดใหม่ รวมถึงหัวหน้าพรรคคนใหม่และการวางตัวเลขาธิการพรรคคนใหม่ว่า จากการหารือเบื้องต้นกับผู้บริหารพรรครักษาการ ได้ข้อสรุปแล้วว่า พรรคจะรอให้ คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต. )ประกาศรับรองผลการเลือกตั้งส.ส.ให้เรียบร้อยเสียก่อน แล้วค่อยจัดประชุมวิสามัญประจำปีเพื่อคัดเลือก คณะกก.บห.พรรคชุดใหม่

โดยเฉพาะการคัดเลือกบุคคลมาเป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่ ตามระเบียบข้อบังคับพรรค ระบุให้ต้องมีการแข่งขันเบื้องต้นโดยการทำไพรมารี่โหวตก่อน เป็นขั้นตอนแรก ที่จะเลือกผู้สมัครเป็นหัวหน้าต้องมีหยั่งเสียงเบื้องต้นก่อนมากกว่า 2 คน ยกตัวอย่าง ครั้งที่แล้ว ตอนที่เลือกนายจุรินทร์ มาเป็นหัวหน้าพรรค เนื่องจากเวลากระชั้นชิด กก.บห.ขณะนั้นได้มีมติให้ยกเว้นเว้นข้อบังคับบางข้อคือ ไม่ต้องทำไพรมารี่โหวต แต่กำหนดให้ต้องมีการแสดงวิสัยทัศน์ของผู้สมัครเป็นหัวหน้าพรรคแทน เพื่อความรวดเร็วขึ้น เพราะต้องรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งด้วย ครั้งนี้ก็เช่นกัน ต้องมีการหารืออีกครั้งว่า จะยกเว้นการทำไพรมารี่โหวตในชั้นแรกหรือไม่ เฉพาะในกรณีการเลือกหาผู้ที่มาเป็นหัวหน้าพรรคปชป. คนใหม่.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิดใจ 'ชวน' วางมือการเมืองหรือลงเลือกตั้งต่อ? เชื่อ 'อภิสิทธิ์' ไม่ไปไหนรอกลับมาช่วย ปชป.

นายชวน หลีกภัย ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ อดีตนายกรัฐมนตรีและอดีตประธานรัฐสภากล่าวถึงอนาคตทางการเมืองของตัวเอง หลังเป็นส.ส.มา 17 สมัยติดต่อกัน หลังมีกระแสข่าวทั้งพรรคประชาธิปัตย์อาจไม่ส่งนายชวน ลงสมัครส.ส.บัญชีรายชื่อของพรรคในการเลือกตั้งครั้งหน้าและกระแสข่าวเตรียมวางมือทางการเมือง

ปชป. ถาม 'เศรษฐา' ทำไมไม่รู้จักรดน้ำพรวนดินเศรษฐกิจ

นายชนินทร์ รุ่งแสง รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) และอดีตสส.กทม. กล่าวว่าจากการอภิปรายกฎหมายงบประมาณรายจ่ายประจำ ปี 68 พรรคประชาธิปัตย์และหลายฝ่ายได้แสดงความเป็นห่วง พูด

ฝ่ายค้านมีมติไม่รับหลักการ 'งบ 68' วาระแรก ร่าย 3 เหตุผล

ฝ่ายค้านมีมติไม่รับหลักการงบ 68 วาระแรก เหตุรัฐบาลเบียดบังงบ ดัน 'ดิจิทัลวอลเล็ต' เกินไป ชี้ยังให้โอกาสปรับถึงวาระสาม ขืนดื้อดึงขู่ร้องศาลสั่งระงับ 'ปกรณ์วุฒิ' มั่นในไม่มี สส.ก้าวไกล โหวตสวน

'ชัยชนะ' ตอกย้ำรัฐบาลนักวิ่งราว บี้นายกฯ ปรับสูตรอุดหนุนงบท้องถิ่น

'ชัยชนะ' ย้ำรัฐาลจัดงบ 68 เหมือนวิ่งราวทรัพย์ เตือนกู้แล้วเก็บระวังเข้าข่ายปล้น กระทุ้งอุดหนุนท้องถิ่นไม่เหมาะ แนะนายกฯ ปรับสูตร ส่วนกลาง 60 ท้องถิ่น 40

‘สรรเพชญ’ ซัดรัฐบาลกู้เงินสูงสุดเป็นประวัติการณ์ หวั่นก่อหนี้ก้อนใหญ่ในอนาคต

รัฐบาลชุดนี้มีอำนาจในการจัดสรรงบประมาณแทบจะ 100% สิ่งที่น่าเป็นห่วงสำหรับการจัดสรรงบประมาณในปี 2568 ที่มีการตั้งวงเงินกว่า 3.7 ล้านล้านบาท คือเรื่องของการกู้ขาดดุล

'ชัยชนะ' ย้ำจุดยืน ไม่นิรโทษ 'หมิ่นสถาบัน-คอร์รัปชัน-โกงเลือกตั้ง'

'ชัยชนะ' ค้านล้างผิดคดี 112 ย้ำ 3 จุดยืน ไม่นิรโทษกรรม 'หมิ่นสถาบัน-คอร์รัปชัน-โกงเลือกตั้ง' หนุนเฉพาะคดีชุมนุมการเมืองเรียกร้องประชาธิปไตย