29 เม.ย.2566 - รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(มธ.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Harirak Sutabutr ว่า Dr. Agnes Callamard เลขาธิการองค์การนิรโทษกรรมสากลหรือ Amnesty International มาเมืองไทยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ในช่วงเวลาก่อนการเลือกตั้งทั่วไป และได้แสดงปาฐกถาเกี่ยวกับประเทศไทย ซึ่งคนไทยควรได้รับรู้เพื่อได้รู้จักองค์การระหว่างประเทศนี้ให้มากขึ้น
ความจริงคุณเปลว สีเงินในคอลัมน์ "คนปลายซอย" ได้เขียนเรื่องนี้ ซึ่งครอบคลุมประเด็นต่างๆไว้แล้ว แต่เมื่อได้อ่านข้อความที่ Dr. Callamard แสดงปาฐกถาแล้ว เกิดความอีดอัดจนอดรนทนไม่ได้ ต้องออกมาเขียนตามคุณเปลว สีเงิน อีกคน
ขอนำข้อความส่วนหนึ่งที่ Dr. Callamard ได้แสดงปาฐกถาไว้มาให้อ่านดังนี้
“A highlight of my trip was meeting with young people who have been involved in protests. They believe in Thailand and want to build a strong and fair country. Yet when asked what future they see for themselves, they told me ‘there is no future for us here’. That worries me a lot, and I think it should be of great concern to Thailand’s leaders. Many young people feel that because of repression, inequality, corruption and injustice, they have no future here — and that must change."
“Hundreds of children and young people, along with political activists and human rights defenders, are facing criminal charges in Thailand simply for exercising their rights to freedom of expression and peaceful protest. Many have been deprived of their liberty and may face the stain of a criminal record, including a 15-year-old who as of my visit to the country was still being held in juvenile detention after several weeks.”
ถอดความในย่อหน้าแรกได้ว่า
"ช่วงสำคัญของการมาเมืองไทยครั้งนี้ คือการพบกับเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมประท้วง พวกเขาต้องการสร้างประเทศที่แข็งแกร่งและเป็นธรรม แต่เมื่อได้ถามว่า พวกเขาได้มองอนาคตของตัวเองไว้อย่างไร เขาตอบว่า 'ไม่มีอนาคคสำหรับเราที่นี่' นั่นทำให้ดิฉันมีความกังวลอย่างมาก และคิดว่า ผู้นำประเทศควรมีความห่วงใยอย่างมาก เยาวชนคนรุ่นใหม่จำนวนมาก มีความรู้สึกว่า พวกเขาไม่มีอนาคตก็เพราะการถูกปราบปราม ความไม่เท่าเทียมกัน การทุจริตคอรัปชั่นและความไม่ยุติธรรม และสิ่งเหล่านี้ต้องเปลี่ยนแปลง"
ถอดความในย่อหน้าที่ 2 ได้ว่า
"เด็กๆและเยาวชนเป็นร้อยๆ รวมทั้งนักกิจกรรมทางการเมือง และนักปกป้องสิทธิมนุษยชน กำลังเผชิญกับการถูกดำเนินคดีทางอาญาในประเทศไทย เพียงเพราะการใช้สิทธิ เสรีภาพในการแสดงออก และการประท้วงอย่างสันติ จำนวนมากถูกลลิดรอนสิทธิเสรีภาพและอาจต้องเผชิญกับการถูกบันทึกลงประวัติอาชญากร รวมถึงเด็กอายุ 15 ปี ที่ยังคงถูกคุมตัวอยู่ในสถานพินิจมาเป็นเวลา 2-3 สัปดาห์แล้ว"
คงเป็นไปไม่ได้ที่คนระดับเลขาธิการองค์การนิรโทษกรรมสากลจะตื้นเขิน ไม่ค้นหาความจริงเพิ่มเติมก่อนที่พูดต่อหน้าสาธารณะเช่นนี้ ผู้ชุมนุมประท้วงพูดอะไรก็เชื่ออย่างสนิทใจเลยหรือ เพราะความจริงก็คือ เด็กๆกลุ่มที่ร่วมในการชุมนุมประท้วงเหล่านี้ เขามีชุดความคิดเหมือนกันหมด คือ
"ประเทศไทยไม่มีอนาคตสำหรับเขา ดังนั้นต้องสร้างสังคมที่ดีกว่า สังคมที่ดีกว่าก็คือ สังคมที่เท่าเทียมกัน ซึ่งต้องปราศจากสถาบันพระมหากษัตริย์ เพราะสถาบันพระมหาษัตริย์คือต้นแบบของความเหลื่อมล้ำ ดังนั้นจึงต้องยกเลิกมาตรา 112 "
ความจริงคือ ผู้ที่ถูกดำเนินคดีและถูกศาลตัดสินจำคุกทั้งหมดไม่ใช่ผู้ที่ร่วมชุมนุมอย่างสันติปราศจากอาวุธ แต่ถูกดำเนินคดีเพราะถูกตรวจค้นแล้วพบอาวุธ บางคนใช้อาวุธแล้วจึงถูกจับกุม หลายคน เผารถตำรวจ เผาทรัพย์สินส่วนรวม เช่น ตู้คอมพิเตอร์ควบคุมการจราจร หลายคนปาระเบิด ปาพลุใส่ตำรวจ หลายถูกดำเนินคดีเพราะดูหมิ่น หมิ่นประมาท ข่มขู่คุกคาม หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์ เช่น เผาพระบรมฉายาลักษณ์ ใช้คำหยาบคายกล่าวหาพระมหากษัตริย์ ใช้กิโยตินข่มขู่คุกคาม ซึ่งเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ทั้งหมดเป็นคดีอาญา ไม่มีคนไหนเลยที่ถูกจับกุมดำเนินคดีโดยไม่ได้ทำความผิดตามกฎหมาย
คงยังจำกันได้ว่า การชุมนุมประท้วง การทำความผิดตามมาตรา 112 เกิดขึ้นอย่างมากมายในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่พรรคอนาคตใหม่ถูกยุบเป็นต้นมา จนถึงปลายปีที่แล้ว การชุมนุมประท้วงค่อยซาลง เป็นเพราะการประท้วงแต่ละครั้งมีผู้ร่วมชุมนุมน้อยลงเรื่อยๆ แต่ความพยายามในการแก้ไขและยกเลิกมาตรา 112 ยังคงมีอยู่และมากขึ้นเรื่อยๆ
เป็นไปได้หรือที่ Dr. Agnes Callamard เลขาธิการ Amnesty International จะไม่มีข้อมูลเหล่านี้ จะไม่ได้รู้เลยหรือว่าความจริงคืออะไร สิ่งที่ท่านเลขาธิการฯพูดเป็นคำพูดชุดเดียวกันกับบรรดาแกนนำพรรคก้าวไกล แกนนำคณะก้าวหน้า และแกนนำที่ชุมนุมประท้วง ซึ่งเป็นการสอดรับกันอย่างเหมาะเจาะพอดี และช่วงเวลาที่เหมาะสมก็คือ ช่วงเวลาที่ใกล้จะถึงวันเลือกตั้งทั่วไป 14 พฤษภาคม 2566 ซึ่งแทบไม่ต้องอ่านระหว่างบรรทัด ก็ชัดเจนว่า Amnesty International ต้องการให้พรรคการเมืองพรรคใดขั้วใดชนะเลือกตั้งและได้จัดตั้งรัฐบาล
สิ่งที่เป็นไปได้มากกว่าคือ มีความพยายามในการแทรกแซงการเมืองในประเทศเราโดยต่างชาติมานานแล้วและยังดำเนินต่อไป แชตหลุดของพรรคก้าวไกล หากไม่ได้แปลกปลอม แสดงให้เห็นชัดเจนถึงความเชื่อมโยงของพรรคก้าวไกลกับแกนนำผู้ชุมนุมประท้วง ถ้าขุดให้ลึกลงไปก็จะพบความเชื่อมโยงกับองค์กรเอกชนบางองค์กรซึ่งได้รับเงินสนับสนุนจากองค์กรต่างชาติซึ่งได้รับเงินจากรัฐบาลต่างชาติ และพบสื่อหลายสำนัก ที่ทำงานสอดประสานกันอย่างเป็นขบวนการ
การเลือกตั้งในอีก 2 สัปดาห์ข้างหน้า เราจะต้องคิดให้ดีก่อนที่จะหย่อนบัตรเลือกตั้ง อย่าให้การหย่อนบัตรของเราทำให้ประเทศบางประเทศสามารถสั่งรัฐบาลของประเทศเราได้ อย่าลืมว่าประเทศเราตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ หากประเทศเรากลายเป็นเครื่องมือของประเทศมหาอำนาจบางประเทศ ในอนาคตที่ไม่นานมาก การที่ประเทศจะมีสภาพเหมือนประเทศยูเครน ก็ไม่ใช่สิ่งที่เป็นไปไม่ได้
ถึงวันนั้น ถึงจะมีความรู้สึกเสียใจ ก็สายเกินไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ทั่วโลกจับตา! 'คดีตากใบ' สะท้อนไทยล้มเหลว ปล่อยละเมิดสิทธิมนุษยชนซ้ำ
แอมเนสตี้ฯ ประเทศไทย หวั่นคดีตากใบหมดอายุความ กลายเป็นใบเบิกทางละเมิดสิทธิมนุษยชนซ้ำแล้วซ้ำเล่าอีก ชี้ชัด ทั่วโลกจับตาดูอยู่ เชื่อจะเป็นเรื่องที่ถูกพูดถึงบนเวทีสาธารณะระหว่างประเทศต่อเนื่อง
กสม.ชงนายกฯ ทบทวนปิดศูนย์การเรียนรู้เด็กต่างด้าว ห่วงผลกระทบเป็นลูกโซ่
'กสม.' มีหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ขอให้คุ้มครองสิทธิเด็กลูกหลานแรงงานต่างด้าวอย่างเป็นระบบ ทบทวนมาตรการปิดศูนย์การเรียนรู้เด็กต่างด้าว ห่วงผลกระทบกว้างขวางเป็นลูกโซ่
'หริรักษ์' ชี้เพื่อไทยขว้างงูไม่พ้นคอ เล่นเกมเขย่าแบงก์ชาติ แต่คนหน้าแหกคือ นายกฯอิ๊ง
รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร โพสต์เฟซบุ๊กว่า ระหว่างที่นายกรัฐมนตรี แพทองธาร ชินวัตร แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี นักข่าวตั้งคำถามเรื่อง
อดีตรองอธิการบดีมธ. เปิดไทม์ไลน์มัดแพทองธาร ต้องรับผิดชอบ ชี้ขบวนการปัดกวาดบ้านเมืองบัดนี้เริ่มทำงานแล้ว
รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่านักโทษเด็ดขาดชาย ทักษิณ
'แอมเนสตี้' ยกเหตุผลทำไมต้องแก้ พ.ร.บ.การชุมนุม
ในช่วง พ.ศ. 2563 - 2565 การชุมนุมทางการเมืองเป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายทั่วประเทศไทย ภายใต้หัวข้อการชุมนุมแ
อดีตรองอธิการบดี มธ. สะกิดคนผิดหวังการเมือง อย่าเพิ่งท้อ หมากรุกต้องมองหลายชั้น
เมื่อมีข่าวว่า น.ส.แพทองธาร ชินวัตร ได้เป็นนายกรัฐมนตรี หลายคนดีใจ และแสดงความยินดี แต่หลายคนก็รู้สึกหมดแรง ท้อแท้ สิ้นหวัง ตัดพ้อว่าประเทศไทยเป็นอย่างนี้ได้อย่างไร ก็ขอบอกว่า ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ก็คือปรากฏการณ์ของระบอบประชาธิปไตยของไทยที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า