'หญิงหน่อย' ลั่นกลางเวทีอุบลฯ พร้อมเป็นนายกฯ แก้จนคนอีสานใน 3 ปี!

ชาวอุบลฯ แห่เชียร์สุดารัตน์นั่งนายกฯ ดูแลคนอีสาน บอกมั่นใจ หญิงหน่อยพร้อมทำงาน ไม่ใช่นอมีนีใคร เจ้าตัวประกาศเดินหน้าดูแลชาวอีสานให้หายจนหมดหนี้ มีรายได้ยั่งยืนภายใน 3 ปี

27 เม.ย.2566 - คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ หัวหน้าพรรคไทยสร้างไทย (ทสท.) และแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรค พร้อมด้วยสิทธิชัย โควสุรัตน์ ประธานคณะกรรมการอำนวยการเลือกตั้งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และผู้สมัคร ส.ส.จังหวัดอุบลราชธานี พรรคไทยสร้างไทยลงพื้นที่จ.อุบลราชธานี โดยช่วงเช้าที่สนามบิน มีพี่น้องประชาชนมารอรับแน่นขนัด ส่งเสียงเชียร์ โดยระบุว่า นายกฯ หน่อย และ คุณหญิงสุดารัตน์ นายกฯ คนอีสาน"พร้อมมอบดอกไม้ให้กำลังใจ เข้ามาทักทายสวมกอด และถ่ายภาพเป็นที่ระลึกอย่างอบอุ่น

จากนั้นคุณหญิงสุดารัตน์ ได้ขึ้นเวทีปราศรัย 3 เวที ที่ อ.นาจะหลวย อ.บุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นเขตเลือกตั้งที่ 9 ของนางรำพูล ตันติวณิชชานนท์ เบอร์ 10 ทั้งสามเวที ที่คุณหญิงสุดารัตน์ ได้รับการต้อนรับจากชาวอุบลราชธานีอย่างอบอุ่นมากเช่นกัน โดยประชาชนแห่ฟังนโยบายแต่ละเวทีนับหมื่นคน พร้อมกับเสียงสะท้อนจากชาวอุบลฯที่มองว่า คุณหญิงสุดารัตน์เหมาะจะเป็นนายกฯ ในเวลานี้มากที่สุด เพราะเป็นคนมีความมุ่งมั่น ตั้งใจทำงานและมีประสบการณ์ทำงานยากๆ สำเร็จมาแล้ว ที่สำคัญ คุณหญิงสุดารัตน์สามารถทำงานได้ทันทีไม่ใช่นอมีนี จึงไม่ต้องรอฟังคำสั่ง หรือคำสั่งการจากใครคนใดคนหนึ่ง

ทั้งนี้ คุณหญิงสุดารัตน์ ขึ้นเวทีประกาศดูแลพี่น้องชาวอุบลฯและพี่น้องคนอีสาน ให้หายจน หมดหนี้ มีรายได้ยั่งยืนภายใน 3 ปี พร้อมยกระดับราคาสินค้าเกษตร โดยจะรับซื้อและประกันราคาพืชเศรษฐกิจหลัก เช่น ข้าว มันสำปะหลัง ข้าวโพด อ้อย ยางพารา ปาล์มน้ำมัน โดยข้าวหอมมะลิ จะต้องไม่ต่ำกว่า 20,000 บาท/ตัน ข้าวหอมจังหวัด 13,000 บาท/ตัน ข้าวเหนียว 14,000 บาท/ตัน ข้าวสารขาว 11,000 บาท/ตัน ส่วนราคาพืชผลอื่น มันสำปะหลัง 3 บาท/กก. ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 8 บาท/กก. ยางพารา 60 บาท/กก. ยางก้อนถ้วย 45 บาท/กก. ปาล์มน้ำมัน 5 บาท/กก. อ้อยโรงงาน 1,000 บาท/ตัน และจะมีการปรับโครงสร้างการผลิต บริหารจัดการพื้นที่เพาะปลูกพืชเกษตร (Zoning) โดยปรับระบบการใช้ที่ดินเพื่อผลิตสินค้าเกษตรให้สอดคล้องกับอุปสงค์ – อุปทาน (Demand – Supply) เพื่อยกระดับราคา เพิ่มรายได้ให้เกษตรกร พร้อมพัฒนาแหล่งน้ำ ตั้งแต่ระดับหมู่บ้านจนถึงการกักเก็บน้ำตามลำน้ำ ซึ่งจะมีโครงการ ขุดบ่อน้ำ 1 ล้านบ่อ ขุดน้ำบาดาล 1 แสนบ่อ วางระบบผันน้ำ โขง-เลย-ชี-มูล แม่น้ำสายสำคัญอื่น และจาก สปป. ลาว มาเติม ในยามที่ขาดน้ำ รวมทั้งพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคอย่างเพียงพอและมีคุณภาพทุกหมู่บ้าน

คุณหญิงสุดารัตน์ยังปราศรัยว่า อุบลราชธานียังเป็นพื้นที่ที่สามารถเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งจะสามารถเพิ่มมูลค่าทางการค้าได้ไม่น้อยกว่า 3 เท่า โดยจะยกระดับจังหวัดอุบลราชธานีให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ Northeastern economic corridor สำหรับ Northeastern economic corridor ตรงข้ามอุบลราชธานี จะเป็นแขวงจำปาศักดิ์ ซึ่งเป็นแขวงหนึ่งของประเทศลาว ตั้งอยู่ทางตอนใต้สุดของประเทศ ติดอุบลฯและกัมพูชา มีนคร ปากเซเป็นเมืองหลักของแขวง ถือเป็นศูนย์กลางการเมืองการปกครองทางเศรษฐกิจ รวมไปถึงการท่องเที่ยวของลาวตอนใต้ เป็นบริเวณที่มีความอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากมีแม่น้ำโขงไหลผ่านกลาง ดังนั้น อุบลจึงเป็น corridor ที่เชื่อม 3 ประเทศ และขึ้นเหนือไปสู่จีนได้ ซึ่งจะเป็นสะพาน เชื่อมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยวได้อีกมิติหนึ่ง

สำหรับผู้สมัคร ส.ส.จังหวัดอุบลราชธานีของพรรคไทยสร้างไทย ประกอบด้วย
เขต 1 นายอดุลย์ นิลเปรม เบอร์ 1
เขต 4 นายอภิชาติ วรโชติวิวรรธน์ เบอร์ 2
เขต 6 นายบุญธรรม ภาคโพธิ์ เบอร์ 1
เขต 7 นายพิตติพัฒน์ นามอภัย เบอร์ 8
เขต 8 นายเสกสรรค์ กอคูณ เบอร์ 9
เขต 9 นางรำพูล ตันติวณิชชานนท์ เบอร์ 10
เขต 11 นายสุริยา ขันอาสา เบอร์ 2

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ทสท.จี้นายกฯ อิ๊งค์ขอโทษประชาชนปมคดีตากใบ

'ไทยสร้างไทย' เรียกร้อง นายกรัฐมนตรี แสดงความรับผิดชอบ ด้วยการขอโทษต่อประชาชน กรณีความสูญเสียที่ตากใบ กังวลใจท่าทีผู้มีอำนาจยังไม่ชัดเจน หวังรัฐจริงใจ ถอดชนวนความขัดแย้ง

'ปชน.' จัดเต็ม 13 ชม. ถลกนโยบายรัฐบาลอิ๊งค์ ยังไร้สัญญาณจาก 'พปชร.'

'ปกรณ์วุฒิ' พอใจฝ่ายค้านได้ 13 ชม. ถลกนโยบายรัฐบาล 'แพทองธาร' เผย 'พปชร.' ยังไม่มาคุยจัดสรรเวลา จี้ 'ครม.' ตอบให้ตรงคำถาม จ่อทวงความชัดเจน 'ดิจิทัลวอลเล็ต'

'ฐากร' แจง สส.ไทยสร้างไทย โหวตเห็นชอบ 'แพทองธาร' ยันไม่ได้ลอยแพหญิงหน่อย

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ สส.บัญชีรายชื่อพรรคไทยสร้างไทย ให้สัมภาษณ์ภายหลัง สส.ทั้งหมดของพรรค ลงมติ เห็นชอบ ให้นางสาวแพทองธาร ชินวัตร แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีจากพรรคเพื่อไทย

ปภ.ประสานจังหวัดอุบลราชธานี ดูแลชาวบ้าน ‘อ.เมือง-วารินฯ’ จากผลกระทบแผ่นดินไหว

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)ได้ติดตามสถานการณ์แผ่นดินไหวดังกล่าว พบว่าพื้นที่อำเภอเมืองอุบลราชธานี และวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

ไม่โอเค! ล้อเรื่อง 'คนอีสานกับปลาหมอคางดำ' เป็นการเอาวัฒนธรรมการกินมาเหยียด

ผศ.ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โพสต์เฟซบุ๊กถึงเรื่องดังกล่าวว่า