
23 เม.ย.2566-ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กเรื่อง “โควิด 19 ควรฉีดวัคซีนหรือไม่ เป็นคำถามบ่อย” ระบุว่า สถานการณ์ชั่วโควิด 19 มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ขณะนี้เข้าปีที่ 4 เริ่มต้น ความรุนแรงของโรคสูง จึงจัดว่าเป็นโรคติดต่ออันตรายร้ายแรง เราแย่งหาว่าวัคซีน ต่อมาเมื่อความรุนแรงของโรคลดลง ในอีก 2 ปีต่อมาก็เปลี่ยนเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง และในปัจจุบันนี้โควิด 19 ก็ได้เปลี่ยนมาเป็นโรคประจำฤดูกาล
การให้วัคซีนก็ปรับเป็นการให้วัคซีนแบบโรคประจำฤดูกาล จะให้ก่อนเข้าสู่ฤดูกาลของโรค และจะปรับเป็นปีละครั้งเช่นเดียวกันกับไข้หวัดใหญ่ ฤดูกาลของโรคที่จะมีการระบาดเพิ่มสูงขึ้น ในแต่ละประเทศจะไม่เหมือนกัน เช่นซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้ ที่มีฤดูหนาว การระบาดของโรคก็จะเกิดขึ้นในฤดูหนาว ประเทศไทยอยู่ในเขตร้อนชื้น ถึงแม้ว่าจะอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร แต่ก็ไม่มีฤดูหนาวที่แท้จริง มีร้อนมาก กับร้อนน้อย การระบาดของโรคในประเทศไทยจึงพบได้ตลอดปี แต่จะพบสูงสุดในต้นฤดูฝน หรือการเปิดเทอมแรกของนักเรียน
วัคซีนไม่สามารถป้องกันการติดโรคได้เช่นเดียวกับไข้หวัดใหญ่ แต่สามารถลดความรุนแรงของโรคได้ การให้วัคซีนจึงมุ่งเน้นในกลุ่มเสี่ยง กลุ่มเปราะบาง 608 ผู้คนที่อยู่หนาแน่นเช่นในเรือนจำ เรือนทหาร และบุคลากรทางการแพทย์ที่มีแนวโน้มที่จะเสี่ยงติดทั้งโรคง่าย ควรให้ตามฤดูกาลปีละ 1 ครั้ง
เวลาที่เหมาะสมในการให้วัคซีนสำหรับประเทศไทยก็คือก่อนที่จะมีการระบาดของโรคที่จะเกิดขึ้นในการเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายนเป็นต้นไป ดังนั้นเวลาที่ให้วัคซีนที่เหมาะสมประจำปีจึงเป็นปลายเดือนเมษายน พฤษภาคม ของทุกปี
ดังนั้นผู้ที่ได้รับวัคซีนมานานแล้วเกินกว่า 3-6 เดือนขึ้นไป และอยู่ในกลุ่มเสี่ยง ควรให้วัคซีนประจำฤดูกาลปีละ 1 ครั้ง ในปีนี้สามารถเริ่มให้ได้เลยก่อนที่จะมีการระบาดของโรค โดยใช้สายพันธุ์ที่ใกล้เคียงที่สุดที่มีอยู่ แล้วค่อยไปให้ปีหน้าอีก 1 ครั้ง ทุกอย่างก็จะคล้ายกับไข้หวัดใหญ่
ในคนปกติก็ขึ้นอยู่กับความสมัครใจเช่นเดียวกันกับไข้หวัดใหญ่ แต่ผู้ที่จะได้ประโยชน์สูงสุดคือกลุ่มเปราะบางดังที่ได้กล่าวมาแล้ว เพื่อลดความรุนแรงของโรค
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
‘หมอมนูญ’ เผยสถานการณ์ ‘ไข้หวัดใหญ่-โควิด’ ไวรัสทางเดินหายใจช่วงนี้พบบ่อย
เดือนมีนาคม 2568 ที่ผ่านมา ข้อมูลของโรงพยาบาลวิชัยยุทธที่ติดตามโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ
'หมอยง' ย้อน 'ไข้หวัดนก' ยุคแรกที่ระบาดในไทย เทียบกับอเมริกาทำไข่ทรัมป์ราคาพุ่ง
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า
'หมอยง' แจงโรค 'RSV' ความจริง 10 เรื่องที่ควรรู้
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า RSV ความจริงที่ควรรู้
‘หมอยง’ ระบายผลพวงวันซีนโควิด 19 โดน AI ปั่นอ้างชื่อหากิน แถมบอกเจอบริษัทยาฟ้อง
หลังจากที่โควิด เริ่มสงบ ก็มีการเอารูปของเรา ไปโฆษณาขายของกันมากมาย อ้างว่าเป็นคนบอกว่ามีสรรพคุณที่ดี เช่นโรคหัวใจ โรคต่างๆมากมาย ทั้งที่เราไม่เชี่ยวชาญเลย และไม่เป็นความจริง
อึ้ง! 'หมอธีระวัฒน์' เผยงานวิจัยกลุ่มที่ได้รับวัคซีน mRNA 'บูสเตอร์' มีแนวโน้มเข้ารักษารพ.เพิ่มขึ้น
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการแพทย์บูรณาการและสาธารณสุข และที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์เฟซบุ๊กว่า
'หมอเดชา' ยก 'อีลอน มัสก์' ประณาม USAID หนุนวิจัยอาวุธชีวภาพ หากยังมีคนเชื่อ mRNA ขอให้ไปที่ชอบๆ
นายเดชา ศิริภัทร ประธานมูลนิธิข้าวขวัญ เจ้าของสูตรน้ำมันกัญชา (ตำรับหมอเดชา) โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กว่า มีข่าวเกี่ยวกับอันตรายจาก วัคซีน โควิด-19 ชนิด mRNA มากมาย ทั้งไทยและทั่วโลก