เปิดเบอร์ปาร์ตี้ลิสต์ ภท.เฮงได้เลข 7 พรรคลุงตู่ เบอร์ 22 'ลุงป้อม' บันดาลได้ 37 ปชป.26 พท.29 กก.31

4 เม.ย.2566- ที่อาคารไอราวัฒพัฒนา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้เริ่มกระบวนการการรับสมัคร พบว่ามี 49 พรรคการเมือง เดินทางมาถึงก่อนเวลา 08.30น. และทุกพรรคไม่สามารถตกลงเรื่องลำดับการยื่นเอกสารกันได้ นายอิทธิพร บุญประคอง ประธานกกต.จึงได้ดำเนินการจับสลากชื่อพรรคการเมืองเพื่อจัดลำดับพรรคการเมืองที่มีสิทธิจับสลากลำดับในการยื่นเอกสารใบสมัครก่อนให้หัวหน้าพรรคหรือผู้แทนจับสลากเพื่อให้ได้ลำดับในการยื่นเอกสารการสมัคร ซึ่งหมายเลขที่ได้จะถือว่าเป็นหมายเลขประจำพรรคที่ใช้ในการหาเสียงเลือกตั้ง

เมื่อหัวหน้าพรรคขึ้นจับสลาก และได้รับหมายเลขใด ก็จะมีเสียงโห่ร้องแสดงความยินดีของตัวแทนพรรคที่เข้าร่วมในการจับสลาก รวมทั้งมีการแจ้งไปยังผู้สนับสนุนที่ปักหลักอยู่บริเวณลานช้าง ต่างก็โห่ร้องแสดงความยินดี ซึ่งพบว่าการจับสลากครั้งนี้พรรคการเมืองขนาดเล็กส่วนใหญ่จะได้รับหมายเลขหลักเดียวซึ่งจะง่ายต่อการหาเสียง ส่วนพรรคการเมืองขนาดใหญ่จะได้รับหมายเลข 2 หลัก

โดยพรรคเป็นธรรม เป็นพรรคลำดับแรกที่จะได้การจับสลาก และโดยรับหมายเลข 3

พรรคไทยรวมไทย ได้หมายเลข 12

พรรคท้องที่ไทย ได้หมายเลข 4

พรรคใหม่ ได้หมายเลข 1

พรรครวมไทยสร้างชาติ ได้หมายเลข 22

พรรคเปลี่ยน ได้หมายเลข 20

พรรครักษาผืนป่าประเทศไทย ได้หมายเลข 49

พรรคไทยชนะ ได้หมายเลข 13

พรรคราษฎร์วิถี ได้หมายเลข 44

พรรคมิติใหม่ ได้หมายเลข 39

พรรคภูมิใจไทย ได้หมายเลข 7

พรรคแรงงานสร้างชาติ ได้หมายเลข 8

พรรคพลังสยาม ได้หมายเลข 16

พรรคไทยภักดี ได้หมายเลข 21

พรรคเพื่อชาติไทย ได้หมายเลข 36

พรรคถิ่นกาขาวชาววิไล ได้หมายเลข 46

พรรคประชาชาติ ได้หมายเลข 11

พรรคไทยพร้อม ได้หมายเลข 28

พรรคชาติไทยพัฒนา ได้หมายเลข 18

พรรคเพื่อไทรวมพลัง ได้หมายเลข 38

พรรคครูไทยเพื่อประชาชน ได้หมายเลข 6

พรรคเพื่อไทย ได้หมายเลข 29

พรรคก้าวไกล ได้หมายเลข 31

พรรคเพื่อชาติ ได้หมายเลข 24

พรรคแผ่นดินธรรม ได้หมายเลข 34

พรรคเสมอภาค ได้หมายเลข 17

พรรคอนาคตไทย ได้หมายเลข 10

พรรคชาติพัฒนากล้า ได้หมายเลข 14

พรรครวมใจไทย ได้หมายเลข 23

พรรคไทยเป็นหนึ่ง ได้หมายเลข 33

พรรคเพื่ออนาคตไทย ได้หมายเลข 48

พรรคไทยธรรม ได้หมายเลข 41

พรรคประชาธิปัตย์ ได้หมายเลข 26

พรรคพลัง ได้หมายเลข 9

พรรคแนวทางใหม่ ได้หมายเลข 45

พรรคพลังสหกรณ์ ได้หมายเลข 43

พรรคพลังประชารัฐ ได้หมายเลข 37

พรรคพลังธรรมใหม่ ได้หมายเลข 27

พรรคพลังสังคมใหม่ ได้หมายเลข 5

พรรครวมแผ่นดิน ได้หมายเลข 47

พรรคกรีน ได้หมายเลข 15

พรรคไทยสร้างไทย ได้หมายเลข 32

พรรคไทยศรีวิไลย์ ได้หมายเลข 42

พรรคประชาธิปไตยใหม่ ได้หมายเลข 2

พรรคเสรีรวมไทย ได้หมายเลข 25

พรรครวมพลัง ได้หมายเลข 35

พรรคประชาภิวัฒน์ ได้หมายเลข 40

พรรคภาคีเครือข่ายไทย ได้หมายเลข 19

พรรคทางเลือกใหม่ 30

หลังจากนั้นตัวแทนของแต่ละพรรคก็จะยื่นเอกสารต่อเจ้าหน้าที่ อย่างไรก็ตามหากพรรคการเมืองใดเอกสารไม่ครบถ้วนจนไม่สามารถสมัครได้ในวันนี้ ทางเจ้าหน้าที่ก็จะเลื่อนลำดับพรรคถัดไปขึ้นมาแทน ซึ่งก็จะมีผลให้ลำดับหมายเลขที่พรรคการเมืองจับ ขยับจากอันดับเดิม

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'แก้วสรร' แพร่บทความ 'นิติสงคราม' คืออะไร?

นายแก้วสรร อติโพธิ นักวิชาการอิสระ อดีตรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ออกบทความเรื่อง “นิติสงคราม” คืออะไร???

'ธนกร' จี้ กกต. คุมเข้มเลือกตั้งนายก อบจ. ปูด 'เมืองคอน' เริ่มซื้อเสียง

'ธนกร' จี้ กกต. คุมเข้มหาเสียงเลือกตั้ง อบจ. หลายจังหวัด แนะทำงานเชิงรุก จับตา 'เมืองคอน' สู้ดุเดือด ชาวบ้านแจ้งเรียกเก็บบัตรประชาชนหลายพื้นที่ ขอตรวจสอบเข้มโปร่งใส

'สนธิรัตน์' หวั่นกกต.เปลี่ยนวันหย่อนบัตรนายกอบจ.อาจทำคนสับสน จี้อธิบายเหตุผล

นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รองหัวหน้าพรรค พปชร. ประธานคณะกรรมการด้านการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ ให้สัมภาษณ์ถึงทิศทางของพรรค พปชร. ในสนามเลือกตั้งท้องถิ่น

'พริษฐ์' ข้องใจเลือกตั้ง นายก อบจ. เป็นวันเสาร์ จี้ กกต. ทบทวนแผน

นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ และโฆษกพรรคประชาชน ให้ความเห็นถึงกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เห๋นชอบร่างแผนการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ส.อบจ.) และนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (นายก อบจ.)