2 เม.ย.2566-สำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง นายกฯ ของประชาชน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศอายุ 18 ปีขึ้นไป ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) รวมจำนวน 1,378 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 25 มีนาคม ถึง 1 เมษายน พ.ศ.2566 โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนจากขนาดตัวอย่างบวกลบร้อยละ 5 ในช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95
เมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนต่อ นายกรัฐมนตรีต้องลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ในระบบบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองด้วย พบว่า จำนวนมากที่สุดคือร้อยละ 43.0 ระบุ ผู้ที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีต้องลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองด้วย เพราะเป็นผู้แทนประชาชน ใกล้ชิดประชาชน รู้ปัญหาจริง ใช้อำนาจประชาชนต้องมาจากประชาชน ไม่เอานายกฯ คนนอก ต้องมาจากการเลือกตั้งเท่านั้น ในขณะที่ ร้อยละ 33.6 ระบุ ไม่ต้องเป็น ส.ส. เพราะขอเป็นคนดี ซื่อสัตย์สุจริต มือสะอาด ไม่จำเป็นต้องเป็น ส.ส. ใครก็ได้ทั้งนั้น ไม่ต้องสังกัดอะไรเป็นอิสระ ไม่ติดกับดัก และร้อยละ 23.4 ไม่แน่ใจ
ที่น่าสนใจคือ เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อ บัตรสองใบ ว่าจะเลือกคนที่รัก เลือกพรรคที่ชอบคู่กันไปทั้งสองใบหรือแยกกัน พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 41.9 ระบุ เลือกคนที่รัก เลือกพรรคที่ชอบ คู่กันไปทั้งสองใบ ในขณะที่ร้อยละ 26.4 ระบุเลือกแยกกัน และร้อยละ 31.7 ไม่แน่ใจ
ที่น่าพิจารณาคือ นโยบายพรรคที่ประชาชนเชื่อว่าทำได้จริง แบ่งระหว่างกลุ่มแฟนคลับพรรคร่วมฝ่ายรัฐบาลและกลุ่มแฟนคลับพรรคร่วมฝ่ายค้าน พบว่า ในกลุ่มแฟนคลับพรรคร่วมฝ่ายรัฐบาลร้อยละ 41.9 ระบุพรรคภูมิใจไทย รองลงมาคือร้อยละ 37.8 ระบุพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 35.5 ระบุ พรรครวมไทยสร้างชาติ และร้อยละ 32.2 ระบุ พรรค พลังประชารัฐ ในขณะที่ กลุ่มแฟนคลับพรรคร่วมฝ่ายค้านส่วนใหญ่หรือร้อยละ 47.0 ระบุพรรคเพื่อไทย และร้อยละ 41.8 ระบุ พรรคก้าวไกล และร้อยละ 35.6 ระบุอื่น ๆ
ซูเปอร์โพล ระบุว่า ผลการศึกษาชิ้นนี้พบว่าประชาชนจำนวนมากที่สุดต้องการเห็นว่า นายกรัฐมนตรีเป็นนายกฯ ของประชาชนอย่างแท้จริง ผู้ที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีต้องลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองด้วย นั่นเพราะนายกรัฐมนตรีต้องเป็นตัวแทนของประชาชน ใช้อำนาจที่ประชาชนมอบให้ในการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาเดือดร้อนทุกข์ยากของประชาชนและบริหารความขัดแย้งระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ
นอกจากนี้ ประชาชนจำนวนมากที่สุดตั้งใจจะเลือกคนที่รักเลือกพรรคที่ชอบไปพร้อม ๆ กัน โดยในกลุ่มแฟนคลับฝ่ายรัฐบาลเชื่อมั่นนโยบายพรรคภูมิใจไทยทำได้จริงมากที่สุดรองลงมาคือ พรรคประชาธิปัตย์ พรรครวมไทยสร้างชาติและพรรคพลังประชารัฐโดยค่าสัดส่วนไม่แตกต่างกันมากนัก เช่นกัน ในกลุ่มแฟนคลับพรรคร่วมฝ่ายค้าน พรรคเพื่อไทยและพรรคก้าวไกลเกาะกลุ่มกันในความเชื่อมั่นของประชาชนต่อนโยบายว่าจะทำได้จริง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'อังกินันทน์' ชนะขาด! ประกาศผลนับคะแนนเลือกตั้ง 'นายก อบจ.เพชรบุรี'
องค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบุรี รายงานผลการนับคะแนนเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบุรี (อย่างไม่เป็นทางการ) ณ เวลา 23.59 น. โดยนับครบแล้วทั้ง 734 หน่วยเลือกตั้ง
ประกาศผลนับคะแนนเลือกตั้ง 'นายก อบจ.อุดรธานี' อย่างไม่เป็นทางการ
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) รายงานผลการนับคะแนนอย่างไม่เป็นทางการ ของการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) อุดรธานี
โค่นแชมป์เก่า! 'วาริน' คว้าชัย 'นายก อบจ.เมืองคอน' ทิ้งห่าง 'กนกพร'
ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) นครศรีธรรมราช อย่างเป็นทางการ ประกาศว่า นางสาววาริน ชิณวงศ์ ผู้สมัครหมายเลข 2 จากทีมนครเข้มแข็ง
กลัวครหา! อนุทิน ไม่ลงช่วยผู้สมัคร นายกอบจ.สุรินทร์ หาเสียง แค่ส่งกำลังใจ
'อนุทิน' แจง ไม่ลงไปช่วยผู้สมัครนายกอบจ.สุรินทร์ ได้แต่ส่งกำลังใจ หวั่นมีข้อครหาเยอะ กำชับ ปลัดมท.สั่งข้าราชการฝ่ายปกครอง ต้องทำตัวเป็นกลาง บอกติดตลก เลือกตั้งครั้งหน้าทุกพรรคกวาดเก้าอี้เกิน200 เสียง คงมีสส.ในสภาฯ 2000 คน
ตอกยํ้าดีลฮ่องกง ลิ่วล้อแจงแทนนาย ‘พรรคส้ม’ ยากเป็นรัฐบาล
ตอกย้ำดีลฮ่องกงเหลว! "ณัฐวุฒิ" ขยายความ "ทักษิณ" คุย "ธนาธร" แค่เล่าชะตากรรม ไม่มีการพาดพิง ม.112 กับก้าวไกล เผยตั้งแต่โหวต "พิธา"
'พิธา' คุยพรรคประชาชนแข่งเลือกตั้งมีแต่ชนะกับพัฒนา ไม่มีคำว่าแพ้
ที่จ.อุดรธานี แกนนำ สส. และผู้ช่วยหาเสียงพรรคประชาชน ร่วมเวทีปราศรัยหาเสียงเลือกตั้งนายก องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) อุดรธานี ที่จะมีการเลือกตั้งในวันที่ 24 พ.ย. 2567 ซึ่งพรรคประชาชนได้ส่ง คณิศร ขุริรัง เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นนายก