หนาว! 'เรืองไกร' ร้อง 'ป.ป.ช.' สอบระนาว 47 ส.ส.ฝ่าฝืนจริยธรรม

“เรืองไกร” ร้อง “ป.ป.ช.”สอบระนาว 47 ส.ส. ฝ่าฝืนจริยธรรม หรือไม่ หลังศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ไม่รับคำร้องแปรญัติงบเอื้อบริษัท  พร้อมเรียกคำร้องมาเป็นพยานหลักฐานประกอบการพิจารณาด้วย

2 เม.ย.2566 –  นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ เปิดเผยว่า วันนี้ตนเองได้ส่งหนังสือทางไปรษณีย์ EMS เพื่อขอให้ ป.ป.ช. ตรวจสอบตามข่าวศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 10/2566 ว่า กรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ไม่รับคำร้องของ ส.ส. 47 คน เนื่องจากยื่นคำร้องโดยอ้างใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 144 วรรคสาม ไม่ได้แล้วนั้น การยื่นคำร้องดังกล่าวของ ส.ส. ทั้ง 47 คน จะเข้าข่ายฝ่าฝืนจริยธรรม หรือไม่

นายเรืองไกร ระบุว่า ในข่าวศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 10/2566 ลงวันที่ 31 มี.ค. 66 ซึ่งเป็นกรณีตามคำร้องของนายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล และ ส.ส. รวม 47 คน(ผู้ร้อง) ศาลรัฐธรรมนูญ ระบุผลการพิจารณาไว้ดังนี้ ผลการพิจารณา ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาข้อเท็จจริงตามคำร้องและเอกสารประกอบคำร้องแล้วเห็นว่า การยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 144 วรรคสาม ต้องอยู่ในระหว่างการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณของสภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภา เนื่องจากบทบัญญัติดังกล่าวให้ศาลรัฐธรรมนูญมีหน้าที่และอำนาจในการตรวจสอบระหว่างการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา และคณะกรรมาธิการ เสนอ แปรญัตติ หรือกระทำด้วยประการใด ๆ อันมีส่วนไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในการใช้งบประมาณรายจ่าย หรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ได้รับการพิจารณาเสร็จสิ้น และเป็นกฎหมาย ใช้บังคับแล้ว กรณีไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 144 วรรคสาม ประกอบ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 7 (7) ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์มีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย

นายเรืองไกร กล่าวว่า กรณีดังกล่าว เมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์มีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย จึงมีเหตุที่ควรตรวจสอบตามมาว่า ผู้ร้องอ้างใช้สิทธิโดยไม่สุจริต หรือไม่ เพราะผู้ร้องเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ จะอ้างว่าไม่รู้กฎหมายหรือบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ หาได้ไม่ กรณีจึงมีเหตุที่ควรขอให้ ป.ป.ช.ตรวจสอบตามมาว่า ส.ส. ทั้ง 47 คน มีการฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ มาตรา 234 (1) ในเรื่องมาตรฐานทางจริยธรรมฯ ข้อ 8 ข้อ 17 ข้อ 21 หรือไม่

“มาตรฐานทางจริยธรรมฯ ข้อ 8 ข้อ 17 ข้อ 21 ในส่วนที่เกี่ยวข้อง คือ ไม่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต หรือไม่ การกระทำดังกล่าวก่อให้เกิดความเสื่อมเสียต่อเกียรติศักดิ์ของการดำรงตำแหน่ง หรือไม่ และเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยไม่ยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรม ไม่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 144 วรรคสาม หรือไม่” นายเรืองไกร ระบุ  

นายเรืองไกร กล่าวต่อว่า ตนเองได้ขอให้ ป.ป.ช. เรียกคำร้องของนายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล และ ส.ส. รวม 47 คน (ผู้ร้อง) จากศาลรัฐธรรมนูญ และคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ  มาเป็นพยานหลักฐานประกอบการพิจารณาด้วย.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ตั้งป้อมชน 'ระบอบทักษิณใหม่' ประเดิม 18 ธ.ค. บุก ป.ป.ช. หึ่งล็อบบี้หนักล้มคดีชั้น 14

วงหารือฝ่ายต้านรัฐบาล ตั้งป้อมชน 'ระบอบทักษิณใหม่' นำร่อง 18 ธ.ค. บุกตึก ป.ป.ช. หลังได้กลิ่นล็อบบี้หนัก 3 กรรมการฯ ล้มคดีชั้น 14

มติเอกฉันท์! ศาลรธน. ตีตก 7 คำร้อง ขอให้วินิจฉัยเลือก สว. ไม่ชอบ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ไม่รับ 7 คำร้องที่มีการร้องขอให้วินิจฉัยเกี่ยวกับการเลือกสมาชิกวุฒิสภา ประกอบด้วยคำร้องของนายสมบูรณ์ ทองบุราณ,นายวัฒนา ชมเชย ,ว่าที่ร.ต.วิชชุกร คำจันทร์ นายจิรัฎฐ์ แจ่มสว่าง,นายปรีชา เดชาเลิศ,นางฤติมา กันใจมา,

รวมพลังไทย “สู้ให้สุด หยุดการโกง” ในวันต่อต้านคอร์รัปชันสากล (ประเทศไทย)

ฮอลล์ 7 อาคารศูนย์การประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี : 9 ธันวาคม 2567 - รัฐบาล ร่วมกับสำนักงาน ป.ป.ช. สำนักงาน ป.ป.ท. องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) และภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน

'สนธิญา' ยื่นหลักฐานเพิ่ม ร้องศาลรธน. สั่ง 'อิ๊งค์' หยุดปฏิบัติหน้าที่ แจกเงินหมื่นไม่ตรงปก

นายสนธิญา สวัสดี นำเอกสารหลักฐานไปยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยรัฐบาลดำเนินโครงการแจกเงินหมื่นแตกต่างจากนโยบายดิจิตอลวอลเล็ต 10,000 บาท