กกต.เคาะแล้ว 14 พฤษภาคมเลือกตั้งส.ส. 3-7 เมษายนเปิดรับสมัคร

21 มี.ค.2566 - เวลา 16.00 น. ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นายแสวง บุญมี เลขาธิการกกต. แถลงผลการประชุมกกต.ภายหลังมีการประกาศพระราชกฤษฎีกายุบสภา ว่า วันนี้ที่ประชุมกกต.มีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานกกต.ได้เสนอดังนี้ 1.เห็นชอบร่างแผนจัดการเลือกตั้งส.ส. โดยกำหนดวันเลือกตั้งส.ส.เป็นวันที่ 14 พ.ค.2566 วันลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าในเขตและนอกเขตเลือกตั้งวันที่ 7 พ.ค. วันรับสมัครรับเลือกตั้งส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งวันที่ 3-7 เม.ย. 2566 วันรับสมัครรับเลือกตั้งส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ และพรรคการเมืองแจ้งบัญชีรายชื่อบุคคลที่แต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ณ ห้องบางกอก อาคารไอราวัตพัฒนา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานครวันที่ 4-7 เม.ย.2566 วันสุดท้ายเพิ่มชื่อ ถอนชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 3 พ.ค.2566 และวันแจ้งเหตุที่ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง 7-13 และ 15-21 พ.ค.2566

นายแสวง กล่าวว่า นอกจากนี้ที่ประชุมได้เห็นชอบร่างประกาศกกต.ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งส.ส.จำนวน 5 ฉบับ ซึ่งต้องใช้สำหรับการเลือกตั้งในครั้งนี้ ประกอบด้วย 1.ร่างประกาศกกต.เรื่องกำหนดวันเลือกตั้ง วันรับสมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง วันรับสมัครเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ และสถานที่ที่พรรคการเมืองจะส่งบัญชีรายชื่อผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ โดยมีรายละเอียดตั้งแต่คุณสมบัติ หรือลักษณะต้องห้าม สถานที่รับสมัคร รวมถึงวันและเวลาการรับสมัคร

2.ร่างประกาศกกต.เรื่องจำนวนส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่แต่ละจังหวัดจะพึงมี และจำนวนเขตเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัด โดยใช้ข้อมูลตามประกาศกกต.เรื่องจำนวนส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จำนวนเขตเลือกตั้ง และท้องที่ที่ประกอบเป็นเขตเลือกตั้ง ฉบับลงวันที่ 16 มี.ค.2566 3.ร่างประกาศกกต. เรื่องการรับสมัครรับเลือกตั้งส.ส. 4.ร่างประกาศกกต. กำหนดวันและเวลายื่นคำขอลงทะเบียนใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนก่อนวันเลือกตั้ง โดยกำหนดให้ยื่นคำขอลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 27 มี.ค.-13 เม.ย.2566 และ5.ร่างประกาศกกต.เรื่องกำหนดวัน และเวลาออกเสียงลงคะแนนก่อนวันเลือกตั้ง ณ ที่เลือกตั้งกลางในเขตเลือกตั้ง ที่เลือกตั้งกลางนอกเขตเลือกตั้ง และที่เลือกตั้งกลางสำหรับคนพิการหรือทุพพลภาพ ผู้สูงอายุ

ทั้งนี้สำนักงานกกต.จะส่งประกาศดังกล่าว ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาในวันพรุ่งนี้ (22 มี.ค.)

เมื่อถามถึงแผนรับมือหากศาลปกครองมองว่าการแบ่งเขตเลือกตั้งมีปัญหา นายแสวง กล่าวว่า ตอนนี้ยังไม่เห็นเอกสารจากศาล แต่ในส่วนสำนักงานกกต.ทำงานไปตามกฏหมาย คาดว่าไม่น่าจะมีปัญหา ซึ่งเรื่องดังกล่าวได้มีการประชุม และที่ประชุมได้มีการเตรียมการไว้พอสมควร

ผู้สื่อข่าวถามว่า ช่วงนี้พรรคการเมืองและว่าที่ผู้สมัครส.ส.ลงพื้นที่หาเสียงกันต่อเนื่อง จะมีการกำชับเรื่องใดเป็นพิเศษเพื่อป้องกันกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งหรือไม่ นายแสวง กล่าวว่า ขอความร่วมมือทุกคนที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง หากอยากเห็นการเลือกตั้งเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ขอให้เคารพกฎหมายในการแข่งขัน ตั้งแต่กกต. พนักงานกกต. กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง (กปน.) ขณะเดียวกันรัฐบาลรักษาการต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และระเบียบกกต. ซึ่งเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 169 กำหนดไว้ ส่วนข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐ ต้องไม่ใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบให้คุณหรือโทษแก่ผู้สมัคร ทั้งนี้ สำนักงานฯกกต.ได้เตรียมมาตรการที่จะดูแลเพื่อให้ทุกคนอยู่ในที่ควรจะอยู่ อย่างไรก็ตาม หลังจากมีพระราชกฤษฎีกายุบสภาแล้วก็จะเกิดเงื่อนไขใหม่เริ่มนับหนึ่งการเลือกตั้ง ช่วงแรกการหาเสียงอาจจะยังไม่เข้มข้น แต่เมื่อว่าที่ผู้สมัครส.ส.รู้เขตเลือกตั้ง รู้พื้นที่ และรู้วันเลือกตั้ง แล้ว เชื่อว่าการหาเสียงน่าจะมีความน่าสนใจยิ่งขึ้น ส่วนประเด็นคำร้องเรียนช่วง 180 วันก่อนวันเลือกตั้งนั้น กกต.ยังคงดำเนินการตรวจสอบตามกฎหมาย

เมื่อถามว่า กกต.เตรียมรับมือการเลือกตั้งที่มีการใช้เงินหรือกระสุนทางการเมืองอย่างไร นายแสวง กล่าวว่า มาตรการที่จะทำให้ทุกคนอยู่ในที่ตั้งหรือที่ที่ควรอยู่ ซึ่งกกต.แสวงหาความร่วมมือกับทุกภาคส่วน ครั้งนี้น่าจะมีหลายภาคส่วนเข้ามาร่วมมือกับสำนักงานฯเพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

ผู้สื่อข่าวถามว่า นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ออกมาต่อต้านกัญชาเสรีของพรรคภูมิใจไทย (ภท.) เป็นสิทธิที่สามารถทำได้หรือไม่ นายแสวง กล่าวว่า ตามรัฐธรรมนูญคนไทยมีสิทธิและเสรีภาพ แต่การใช้สิทธิใดต้องเคารพกฎหมาย เบื้องต้นคงต้องดูข้อเท็จจริง ซึ่งเรื่องนี้กฎหมายมีอยู่แล้ว ต้องดูว่าเมื่อมีพระราชกฤษฎีกา คนทำได้แค่ไหน เพราะกฎหมายให้ความคุ้มครอง ซึ่งกกต.มีหน้าที่ตรวจสอบว่าสิ่งที่ดำเนินการนั้นผิดกฎหมายหรือไม่ หากไม่ผิดก็สามารถทำได้ตามปกติ ซึ่งต้องดูข้อเท็จจริงว่าเข้าเงื่อนไขหรือองค์ประกอบของกฎหมายหรือไม่

ถามว่า มีบางพรรคการเมือง รณรงค์ให้ประชาชนร่วมบริจาคเพื่อทำป้ายหาเสียงและใบปลิว สามารถทำได้หรือไม่ นายแสวง กล่าวว่า เบื้องต้นตรวจสอบแล้ว อาจจะเป็นรูปแบบหนึ่งในช่วงหาเสียงการเลือกตั้งตามมาตรา 68 ซึ่งผู้สมัคร หรือ พรรค สามารถรับบริจาคจากบุคคลได้เพื่อใช้ประโยชน์ในการเลือกตั้งช่วงมีพระราชกฤษฎีกา ถ้ารวมกันเกิน 10,000 บาทต่อ 1 วัน ต้องแจ้งกกต.ทราบภายใน 7 วัน

เมื่อถามว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ มีความพร้อมมากน้อยเพียงใด เลขาธิการกกต. กล่าวว่ามีความพร้อม 110 เปอร์เซ็นต์

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สส.เพื่อไทย ดี๊ด๊า ประเทศไทยมีระบบที่เป็นมาตรฐาน!

นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่าประชาชนที่ติดตามเรื่องนี้คงสบายใจขึ้นที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับ

'อิ๊งค์' ยิ้มรับ 'พ่อ-เพื่อไทย' รอดล้มล้างปกครอง ชาวเน็ตชี้จากนี้ไป 'ทักษิณ' ใส่เกียร์เหลิง

จากกรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย คำร้องที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ

'แก้วสรร' แนะ 'ธีรยุทธ' ปรับยุทธวิธี เสริมความแกร่งของสำนวนมุ่งไปที่ กกต.-ปปช.

หลังตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย กรณีที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ

ระทึกสุดขีด! 22 พ.ย. ศาลรธน.ลงมติ 'รับ-ไม่รับ' คำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง

คอนเฟิร์ม ศุกร์นี้ 22 พ.ย. 9 ตุลาการศาลรธน.นัดประชุมวาระพิเศษ หลังงดมาสองรอบ เตรียมนำหนังสือ-ความเห็นอัยการสูงสุด กางบนโต๊ะประชุม ก่อนลุ้นโหวตลงมติ”รับ-ไม่รับคำร้อง”คดีทักษิณ-เพื่อไทย โดนร้องล้มล้างการปกครองฯ

'แพทองธาร' โชว์วิชั่น การเมืองมีเสถียรภาพ ประเทศไทยจะดีขึ้น!

นายกฯ โชว์วิชั่น Forbes ไทยสงบ สันติ หวังรัฐบาลเปลี่ยน นายกฯเปลี่ยน แต่นโยบายเพื่อปชช.เดินหน้า บอกต่างชาติเจอคำถามแรกถามพ่อ-อาเป็นอย่างไร ย้ำการเมืองมั่นคง มีเสถียรภาพแน่นอน

ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 48: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)

ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476