17 มี.ค. 2566 – ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อช่วงค่ำวันที่ 16 มี.ค. ที่ผ่านมา เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้มีการเผยแพร่การประกาศใช้พระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 ความว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี
พระราชกำหนดนี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 26 ประกอบกับมาตรา 32 มาตรา 36 มาตรา 37 และมาตรา 40 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
เหตุผลและความจำเป็นในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพบุคคลตามพระราชกำหนดนี้ เพื่อคุ้มครองประชาชนผู้สุจริตซึ่งถูกหลอกลวงจนสูญเสียไปซึ่งทรัพย์สิน โดยผ่านโทรศัพท์หรือวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งแต่ละวันมีผู้ถูกหลอกลวงจำนวนมาก และมีมูลค่าความเสียหายสูงมาก สมควรมีมาตรการเพื่อป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมประเภทนี้ให้หมดไปโดยเร็ว อันเป็นกรณีฉุกเฉิน ที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ เพื่อรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ และความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งการตราพระราชกำหนดนี้สอดคล้องกับเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรา 26 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 172 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกำหนดขึ้นไว้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีการระบุเหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ โดยที่ปัจจุบันมีการใช้วิธีการทางเทคโนโลยีหลอกลวงประชาชนทั่วไปผ่านอุปกรณ์เทคโนโลยีต่าง ๆ จนท าให้ประชาชนสูญเสียทรัพย์สินเป็นจำนวนมากและผู้หลอกลวงได้โอนทรัพย์สินที่ได้จากการกระทำความผิดดังกล่าวนั้นผ่านบัญชีเงินฝาก บัตรอิเล็กทรอนิกส์หรือบัญชีเงินอิเล็กทรอนิกส์ของบุคคลอื่นต่อไปเป็นทอด ๆ อย่างรวดเร็ว เพื่อปกปิดหรืออำพรางการกระทำความผิดซึ่งแต่ละวันประชาชนผู้สุจริตถูกหลอกลวงจำนวนมากและมีมูลค่าความเสียหายสูงมาก และการหลอกลวงดังกล่าวซึ่งเป็นการกระทำความผิดได้เพิ่มมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้างและเป็นอันตรายร้ายแรงต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจ าเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ เพื่อประโยชน์ในอันที่จะต้องมีมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีดังกล่าว เพื่อรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ และความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้
สำหรับพระราชกำหนดฉบับนี้ มีทั้งหมด 14 มาตรา โดยมีสาระสำคัญ เช่น พระราชกำหนดฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไปมาตรา 10 ผู้ใดเป็นธุระจัดหา โฆษณา หรือไขข่าวโดยประการใดๆ เพื่อให้มีการซื้อขาย ให้เช่า หรือให้ยืม บัญชีเงินฝาก บัตรอิเล็กทรอนิกส์ หรือบัญชีเงินอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีหรือความผิดทางอาญาอื่นใด ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงห้าปี หรือปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับหรือที่เรียกกันว่า “บัญชีม้า” ที่เป็นการรับจ้างเปิดบัญชีเพื่อให้มีการหลอกลวงให้โอนเงินจากผู้เสียหายหรือเหยื่อ เป็นต้น
ทั้งนี้ พระราชกำหนดฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ซึ่งคือวันที่ 17 มีนาคม 2566
โดยมีรายละเอียดฉบับเต็ม ดังนี้ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/140A018N0000000000100.pdf
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โปรดเกล้าฯ พระราชทานยศข้าราชการในพระองค์ฝ่ายทหารชั้นสัญญาบัตร 16 นาย
ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศพระราชทานยศข้าราชการในพระองค์ฝ่ายทหารชั้นสัญญาบัตร
โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งข้าราชการในพระองค์ฝ่ายทหารชั้นนายพล จำนวน 5 นาย
ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศแต่งตั้งข้าราชการในพระองค์ฝ่ายทหารชั้นนายพล
โปรดเกล้าฯพระราชทานยศ ข้าราชการในพระองค์ ฝ่ายทหารชั้นสัญญาบัตร จำนวน 27 นาย
เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศพระราชทานยศข้าราชการในพระองค์ฝ่ายทหารชั้นสัญญาบัตร
ประกาศสำนักนายกฯ ไฟเขียวขายเหล้าเบียร์ '5 วันพระใหญ่' ในสนามบินนานาชาติ
เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดวันห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2567
โปรดเกล้าฯ ถอดยศตำรวจและเรียกคืนเครื่องราชฯ 18 ราย
เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ถอดยศตำรวจแล
ราชกิจจาฯ แพร่ประกาศ ก.ศป. 'โรค' ต้องห้ามเป็นตุลาการศาลปกครอง
ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศ ก.ศป.เรื่อง การเป็นโรคหรือการมีกายหรือจิตใจไม่เหมาะสมที่จะเป็นตุลาการศาลปกครอง