‘ตำบลดงเดือย’ จัดการน้ำแก้แล้ง-ท่วม สู่ต้นแบบชุมชนเข้มแข็ง

ฤดูแล้งมาเยือนหลายชุมชนเผชิญภาวะวิกฤตภัยแล้ง แต่ชุมชนตำบลดงเดือย อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย กลับมีน้ำอุดมสมบูรณ์ เกิดจากแนวทางพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน  มุ่งเน้นการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการกักเก็บน้ำและขุดบ่อทำแก้มลิงในพื้นที่ โดยแนวทางจัดการน้ำชุมชนได้รับคำปรึกษาจากมูลนิธิอุทกพัฒน์ในพระบรมราชูปถัมภ์   นำมาสู่การจัดตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำชุมชน ซึ่งมีภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา เข้ามามีส่วนร่วมกับชุมชน  เกิดการพัฒนาความรู้สู่การจัดการน้ำอย่างยั่งยืน ชาวบ้านมีน้ำใช้ ทำนาได้ 2 รอบต่อปี   น้ำที่เคยท่วมล้นเข้าพื้นที่ฤดูน้ำหลากกลับน้อยลง ลดความเสียหายทางการเกษตร

ในพื้นที่ชุมชนมีการบริหารจัดการน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด แนวทางสำคัญเน้นฟื้นฟู พัฒนาแหล่งน้ำ และระบบนิเวศชุมชน โดยการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนและน้ำสำรองให้มีความมั่นคง มีโครงการสำคัญอย่างการขุดลอกคลองกล่ำคลองธรรรมชาติที่มีสภาพตื้นเขินให้กว้างและลึกขึ้น เพื่อเก็บกักน้ำได้มากขึ้นและรองรับน้ำในฤดูน้ำหลาก จัดทำวังปลา พัฒนาคลอง ปล่อยพันธุ์ปลาลงแหล่งน้ำ ปลูกหญ้าแฝกริมคันคลอง   รวมถึงวางระบบส่งน้ำเพื่อใช้ในการเกษตร โดยมีโครงการพัฒนาชุมชน บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด(มหาชน)  กับมูลนิธิอุทกพัฒน์ฯ มาร่วมพัฒนา ในฐานะ ส่วนหนึ่งของคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำชุมชน นอกจากนี้ ได้ขับเคลื่อนงานสร้างตัวอย่างเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริในหลวง รัชกาลที่ 9 เพิ่มความมั่นคงด้านอาหาร อาชีพ และเศรษฐกิจชุมชน

ปัจจุบันชาวบ้านดงเดือยส่วนหนึ่งปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตจากการทำนา  เป็นการปลูกพืชน้ำน้อย เพื่อลดความเสี่ยงจากน้ำแล้ง พร้อมขุดบ่อปลาเลี้ยงปลา จับปลาขาย เพาะพันธุ์ลูกปลาขายทั้งปลีกและส่ง น้ำจากบ่อปลายังนำกลับมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้ ชุมชนมีน้ำไว้ใช้ตลอดปี และกลายเป็นพื้นที่เลี้ยงปลาหมอขนาดใหญ่ในภาคเหนือ  มีแบรนด์”ปลาหมอดงเดือย” เนื้อแน่น ตัวใหญ่ สร้างชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในตลาด สร้างอาชีพให้ชุมชน

คุณกิฎตินันท์  อัมพะวัน คณะกรรมการบริหารจัดการน้ำชุมชน ต.ดงเดือย อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย  ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลาหมอดงเดือย  เล่าให้ฟังว่า  เดิมชุมชนประสบปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งซ้ำซากเป็นประจำทุกปี จุดเปลี่ยนสำคัญเมื่อมูลนิธิอุทกพัฒน์ฯ เข้ามาในพื้นที่เมื่อ 10 ปีก่อน ให้พัฒนาแหล่งน้ำพร้อมกับทำเกษตรทฤษฎีใหม่ เน้นใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า และชุมชนต้องอยู่กับน้ำให้ได้  เป็นแรงผลักดันให้ชาวบ้านร่วมฟื้นฟูแหล่งน้ำ กักเก็บน้ำไว้ใช้ทำเกษตรและเลี้ยงปลา  ใช้บริโภคในครัวเรือนและจำหน่าย ดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ช่วยลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ในครัวเรือน ตนเองมีทักษะเลี้ยงปลา หลังผ่านอบรมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของกรมประมง จึงเริ่มเปลี่ยนที่นาส่วนหนึ่งมาขุดบ่อเลี้ยงปลา ขอบคันนาก็ปลูกพืชผัก ทำให้มีอยู่มีกิน มีคนมาซื้อปลาถึงที่ จากนั้นนำความรู้ ความชำนาญถ่ายทอดให้เกษตรกรที่สนใจเลี้ยงปลา

“ ชุมชนตำบลดงเดือยเริ่มจากเลี้ยงปลาหมอชุมพร ก่อนพัฒนาสายพันธุ์ให้มีอัตลักษณ์เป็นปลาหมอดงเดือย เพาะขยายพันธุ์ปลาหมอดงเดือย  แรกจัดตั้งกลุ่มเลี้ยงปลาหมอ เริ่มจาก 4 คน  เพิ่มเป็น 8 คน  ตอนนี้มี 24 คน เกษตรกรสนใจมากเพราะอาชีพนี้สร้างรายได้ เราให้เทคนิคการเลี้ยง สร้างความรู้ความเข้าใจขั้นตอนต่างๆ จนสามารถออกไปประกอบอาชีพได้ เมื่อกลุ่มเติบโตจึงจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลาหมอดงเดือย ชุมชนพัฒนาอาชีพร่วมกับมูลนิธิอุทกพัฒน์และไทยเบฟ นอกจากนี้ โครงการพัฒนาชุมชน  มาช่วยพัฒนาศักยภาพชุมชนเพิ่มความรู้ความสามารถด้านการตลาดอีกด้วย “ ประธานวิสาหกิจชุมชนฯ กล่าวย้ำอีกครั้ง

ปลาหมอดงเดือยเป็นผลผลิตที่สำคัญของชุมชน วันนี้มีตลาดรองรับชัดเจน ไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง สร้างเศรษฐกิจชุมชน  คุณกิฎตินันท์  อัมพะวัน บอกว่า เดิมชาวบ้านเลี้ยงปลาส่งพ่อค้าคนกลาง ถูกเอารัดเอาเปรียบ นำมาสู่การวางแผนและขยายช่องทางการตลาดให้กับสมาชิก มีการแบ่งบทบาทหน้าที่ให้กับสมาชิก ประกอบด้วย ผู้เลี้ยงปลา ผู้ขนส่งปลา และผู้ขายปลา  เราเป็นพ่อค้าเสียเอง นอกจากลุ่มผู้เลี้ยงปลาแล้ว กลุ่มปลูกผักก็นำแนวทางบริหารจัดการลักษณะเดียวกันนี้ไปปรับใช้ จะวางแผนดูความต้องการตลาด ปรับปฏิทินการเพาะปลูก เพื่อป้องกันผลผลิตล้นตลาด ทำให้ราคาผลผลิตสูงขึ้น สร้างอาชีพและสร้างรายได้อย่างยั่งยืน

“ ปัจจุบันวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลาหมอดงเดือยขยายสมาชิกเป็นเครือข่ายกว่า 120 คน ยังมีสมาชิกเครือข่ายในจ.สุโขทัยอีก 140 คน ที่เราส่งลูกพันธุ์ปลามาตรฐานให้เพาะเลี้ยง ปัจจุบันแบรนด์ปลาหมอดงเดือยเป็นที่รู้จัก เรามีสูตรเลี้ยงปลาหมอดงเดือย 4 เดือน จับขาย สร้างรายได้ เน้นตลาดชุมชน ไม่ใช่ตลาดแพปลา  เดิมชาวบ้านทำนาอย่างเดียวได้ 6-7 หมื่นบาทต่อปี แต่เมื่อปลูกผัก เลี้ยงปลาด้วย รายได้เพิ่มขึ้น 3 เท่า หรือประมาณ 2.4 แสนบาทต่อปี เป็นผลสำเร็จจากการการพัฒนาที่เกิดจากความร่วมมือทุกภาคส่วน“ แกนนำชุมชนกล่าว

ขณะเดียวกันทิศทางการพัฒนาในพื้นที่ได้ส่งเสริมและเพิ่มโอกาสการมีงานทำของคนในชุมชน การส่งเสริมให้คนมีงานทำเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะทำให้ผู้มีรายได้น้อยหรือว่างงานสามารถยกกระดับคุณภาพชีวิตตัวเองได้อย่างยั่งยืน  รวมทั้งอยู่ในสังคมได้อย่างสมศักดิ์ศรี จากการขยายเครือข่ายการเลี้ยงปลาหมอดงเดือยและการขยายพื้นที่เกษตรปลูกพืชผัก สมาชิกที่มีทุน มีกำไรแล้ว แต่เกินกำลังจะทำ แก้ปัญหาด้วยวิธีการจ้างงาน ช่วยลดอัตราคนว่างงานในชุมชน รวมถึงช่วงโควิดที่ผ่านมา ส่งผลกระทบแรงงานจำนวนมากต้องตกงาน เก็บข้าวของออกจากเมืองกรุง กลับคืนบ้านเกิด ทางกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ ก็ชักชวนให้ร่วมทำแฟรนไชน์ขายปลาหมอ สำหรับคนที่ตั้งใจก็ขายดี มีกำไร และไม่กลับไปเป็นมนุษย์เงินเดือนอีกเลย

คุณกิฎตินันท์  อัมพะวัน  ย้ำอีกว่า แนวทางขับเคลื่อนวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลาหมอดงเดือยให้เข้มแข็ง นอกจากเลี้ยงปลาหมอทำเงินแล้ว ยังเตรียมต่อยอดไอเดีย แปรรูปปลาหมอเพิ่มมูลค่า ซึ่งจะไม่แปรรูปเฉพาะปลาหมอเท่านั้น ตอนนี้จัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจแปรรูปสัตว์น้ำบ้านวังศรีไพร ต.ดงเดือย ขึ้น เพื่อรองรับการสร้างผลิตภัณฑ์แปรรูปใหม่ๆ ซึ่งนักพัฒนาชุมชนไทยเบฟ จะร่วมวางแนวทางพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำและประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อมาพัฒนาทักษะและกรรมวิธีผลิตอาหารแปรรูปจากปลา ซึ่งจะเพิ่มช่องทางการทำอาชีพ สร้างอาชีพเสริมให้กับผู้ว่างงาน กลุ่มแม่บ้านในชุมชน ช่วยเพิ่มรายได้ ทำให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้

ปัจจุบันกลุ่มเลี้ยงปลาหมอดงเดือยยังเผชิญปัญหาอาหารปลาแพง ซึ่งทางชุมชนและไทยเบฟร่วมกันศึกษาวิเคราะห์หาแนวทางลดต้นทุนอาหารสัตว์น้ำ โดยมีแนวคิดจะสร้างอาคารผลิตอาหารปลาจำหน่ายให้กับสมาชิกเพื่อลดต้นทุนอาหารสำเร็จรูปที่เป็นภาระของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลา อาคารผลิตอาหารสัตว์น้ำแห่งนี้จะใช้พลังงานโซลาร์เซลล์ โดยจะมีการยื่นโครงการกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อขอรับงบประมาณสนับสนุนในอนาคต ถือเป็นการจัดการพลังงานที่ควบคู่กับการพัฒนาอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดความมั่นคงด้านพลังงาน ชุมชนมีพลังงานทางเลือกและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อีกทั้งมีแนวคิดสร้างชุมชนเข้มแข็งด้วยกองทุนสวัสดิการ โดยได้แรงบันดาลใจจากชุมชนตำบลดงขี้เหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี ชุมชนเครือข่ายของมูลนิธิอุทกพัฒน์ฯ มาเป็นต้นแบบในเรื่องนี้

ชุมชนตำบลดงเดือยถือเป็นตัวอย่างความสำเร็จการจัดการน้ำชุมชนอย่างมีส่วนร่วม ส่งผลให้ชุมชนมีความมั่นคงด้านน้ำ อาหาร และรายได้ สามารถพึ่งพาตัวเองได้อย่างยั่งยืน  ที่สำคัญชุมชนปรับตัว สู้ทุกวิกฤต อยู่รอดด้วยศาสตร์พระราชา

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“ซึ้งใจมาหาถึงบ้าน” คาราวาน “ผ้าห่มผืนเขียว” เดินทางข้ามหุบเขา มอบไออุ่นถึงมือพี่น้องชาวพิษณุโลก

หากเอ่ยถึงจังหวัดภาคเหนือนตอนล่าง พิษณุโลกเป็นจังหวัด ที่มีลักษณะเป็นเทือกเขาและที่ราบลุ่ม โดยเฉพาะตำบลบ่อภาค เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่เข้าถึงยาก

กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงเปิดงาน'ชัยพัฒนาแฟร์ สัญจร นครนายก'

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ไปยังเขื่อนขุนด่านปราการชล อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก ทรงเปิด “ศูนย์ฝึกอบรมสุดาเดือนเพ็ญและที่พักของมูลนิธิชัยพัฒนา” และงาน “ชัยพัฒนาแฟร์ สัญจร จังหวั

เตรียมปักหมุดสัมผัสลมหนาวใกล้เมืองกรุง ในงาน “ชัยพัฒนาแฟร์ สัญจร จังหวัดนครนายก” 12-15 ธันวาคม นี้

เตรียมปักหมุดเดินทางท่องเที่ยวสัมผัสลมหนาวใกล้เมืองกรุงฯ กันได้ในงาน “ชัยพัฒนาแฟร์ สัญจร จังหวัดนครนายก” ที่จะจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ ตั้งแต่วันที่ 12 -15 ธันวาคม นี้ ณ เขื่อนขุนด่านปราการชล

คาราวาน “ผ้าห่มผืนเขียว” ปีที่ 25 เดินทางสู้หนาว มอบรอยยิ้ม และไออุ่นถึงมือพี่น้องชาวหนองคาย

นับเป็นเวลา 25 ปี ที่คาราวาน "ผ้าห่มผืนเขียว" ในโครงการ “ไทยเบฟ..รวมใจต้านภัยหนาว" ได้ออกเดินทางส่งมอบรอยยิ้ม และความอบอุ่นไปยังพี่น้องผู้ประสบภัยหนาวในพื้นที่ห่างไกล