'ศักดิ์สยาม' มีเสียว! ฝ่ายค้านจ่อยื่นศาลเพิ่ม ตัดสิทธิเลือกตั้ง

ฝ่ายค้านคึก! ล่าชื่อส่งศาล รธน.วินิจฉัย ‘ศักดิ์สยาม’ เพิ่มอีกหนึ่งคำร้องใหม่ หลังเคยยื่นแล้วโดนสภาฯ ตีกลับ รอบนี้มีตัดสิทธิลงเลือกตั้ง

6 มี.ค. 2566 – นายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ที่เป็นผู้อภิปรายไม่ไว้วางใจ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม กรณีเรื่อง หจก.บุรีเจริญคอนสตรัคชั่น จนนำมาสู่การยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย และศาลได้มีคำสั่งให้นายศักดิ์สยาม หยุดพักการปฏิบัติหน้าที่การเป็น รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า หลังจากศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งดังกล่าวเมื่อวันศุกร์ที่ 3 มีนาคมที่ผ่านมา ก็ได้ทำการติดต่อพูดคุยกับพรรคร่วมฝ่ายค้านด้วยกัน โดยฝ่ายค้านเห็นว่า ควรจะมีการล่าชื่อส.ส.ฝ่ายค้านยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยกรณีของนายศักดิ์สยาม อีกหนึ่งคำร้องเพิ่มเติม โดยเป็นการยื่นคำร้องเพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าความเป็นรัฐมนตรีและสมาชิกภาพความเป็น ส.ส.ของ นายศักดิ์สยาม สิ้นสุดลง และให้เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง กรณีอาจละเมิดตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 144 (บทบัญญัติว่าด้วยวิธีพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปี)

“การยื่นคำร้องดังกล่าว ต้องมี ส.ส.ฝ่ายค้านร่วมลงชื่อด้วยขั้นต่ำหนึ่งในสิบของจำนวน ส.ส. ที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ตอนนี้ ซึ่งจากการตรวจสอบยอดตัวเลข ส.ส.ปัจจุบัน พบว่า หนึ่งในสิบก็คือ สี่สิบคน ในการร่วมลงชื่อ แต่ปัญหาคือตอนนี้สภาปิดสมัยประชุมแล้ว และส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ แต่ฝ่ายค้านก็จะพยายามรวบรวมรายชื่อให้ได้ก่อนที่จะมีการยุบสภา โดยใจจริงก็อยากทำให้เสร็จภายในสัปดาห์นี้เลย แต่ยังไม่รู้ว่าจะได้ครบหรือไม่ ซึ่งหลังได้รายชื่อแล้ว ก็จะยื่นตรงไปที่ศาลรัฐธรรมนูญเลย ไม่ต้องผ่านประธานสภาฯ” นายปกรณ์วุฒิ ระบุ

สำหรับคำร้องที่ศาลรัฐธรรมนูญ สั่งให้นายศักดิ์สยาม หยุดพักการปฏิบัติหน้าที่นั้น ไม่ได้มีเรื่องของการตัดสิทธิการเมือง เพราะเป็นการยื่นตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 187 ประกอบ พ.ร.บ.การจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี ฯ ที่เป็นเรื่องการให้พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีและการให้เว้นวรรคจากการเป็นรัฐมนตรีสองปี แต่คำร้องที่จะยื่นใหม่ จะเป็นการยื่นตามช่องทางรัฐธรรมนูญมาตรา 144 ที่มีเรื่องของการเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งด้วย

อนึ่งก่อนหน้านี้ ฝ่ายค้านได้เคยร่วมกันลงชื่อยื่นคำร้องลักษณะดังกล่าว ให้กับนายชวน หลีกภัย ประธานสภาฯมาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อวันนี้ 25 ม.ค. 2566 แต่ต่อมา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ทำหนังสือถึงนพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทยในฐานะผู้นำฝ่ายค้านฯ โดยมีเนื้อหาโดยสรุปว่าการยื่นคำร้องดังกล่าว ที่ฝ่ายค้านใช้ช่องทาง มาตรา 82 ส่งเรื่องถึงประธานสภาฯ เพื่อขอให้ส่งต่อไปยังศาลรัฐธรรมนูญนั้น ทางสภาฯตรวจสอบแล้วพบว่า ไม่เข้าข่ายรัฐธรรมนูญ มาตรา 144 วรรคสอง ซึ่งไม่ใช่เหตุที่รัฐธรรมนูญตามมาตราดังกล่าวได้กำหนดไว้ อันจะทำให้ประธานสภาฯ สามารถเสนอเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยได้ ทางสภาฯจึงเสนอแนะให้ฝ่ายค้าน เสนอเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยได้โดยตรงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 144 วรรคสาม หรือการยื่นตรงไม่ต้องผ่านประธานสภาฯ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'อิ๊งค์' ยิ้มรับ 'พ่อ-เพื่อไทย' รอดล้มล้างปกครอง ชาวเน็ตชี้จากนี้ไป 'ทักษิณ' ใส่เกียร์เหลิง

จากกรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย คำร้องที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ

2 ตุลาการศาลรธน.เสียงข้างน้อย รับคำร้อง 'ทักษิณ' สั่งรัฐบาลเอื้อประโยชน์ฮุนเซน น่าจะเกิดผลใช้สิทธิล้มล้างปกครองฯ

จากกรณีนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 10 ต.ค.2567 ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 กล่าวอ้างว่า นายทักษิณ ชินวัตร (ผู้ถูก

'แก้วสรร' แนะ 'ธีรยุทธ' ปรับยุทธวิธี เสริมความแกร่งของสำนวนมุ่งไปที่ กกต.-ปปช.

หลังตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย กรณีที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ

ศาลรธน.ยกคำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง เอกฉันท์ 5 ประเด็นเว้นประเด็น 2

จากกรณีที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 10 ต.ค. ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย

'จตุพร' ตอกย้ำศาลรธน.รับคำร้องคดีล้มล้าง เพื่อหยุดอหังการอำนาจ เริ่มจุดเปลี่ยนบ้านเมือง

ลุ้นศาล รธน.พิจารณาคำร้อง 'จตุพร' เชื่อรับไว้วินิจฉัยเพื่อหยุดอหังการอำนาจ ลั่นจะเริ่มจุดเปลี่ยนบ้านเมือง เปิดความหวังประเทศก้าวเดินสู่ผลประโยชน์ชาติ