'บัญญัติ' ออกโรงแจงยิบเหตุ 'ปชป.' เลือดไหล 'จุรินทร์' ไม่มีเสน่ห์

1 มี.ค.2566 - นายบัญญัติ บรรทัดฐาน ประธานกรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ทางไทยพีบีเอส ถึงกรณีที่นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรค ประกาศเทียบเชิญอดีต 3 หัวหน้าพรรคมาร่วมสู้ศึกเลือกตั้งว่า ได้คุยรายละเอียดคร่าวๆแล้ว แต่มองว่าเป็นปกติประเพณีของพรรค ว่าทุกครั้งที่มีการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งคนทุกรุ่นจะมาช่วยกัน ข้อบังคับพรรคเองก็เขียนไว้ชัดเจนว่าสมาชิกมีหน้าที่สนับสนุนส่งเสริมผู้สมัครรับเลือกตั้ง นายจุรินทร์ตั้งใจประกาศความเป็นสถาบันทางการเมืองที่ สืบทอดอุดมการณ์ทางการเมืองมาเป็นทอดๆ และให้คนทั้งประเทศรู้ว่าประชาธิปัตย์ เป็นตัวแทนคนทุกรุ่น

เมื่อถามว่าที่ผ่านมาพรรคประชาธิปัตย์เลือดเก่าไหลออกไปมากแต่เลือดใหม่ที่ไหลเข้ามาจะเพียงพอที่จะรักษาความเป็นสถาบันของพรรคให้แข็งแกร่ง ได้หรือไม่ นายบัญญัติ ยอมรับว่า วิกฤตครั้งนี้แรงกว่าทุกครั้ง แม้เรื่องเลือดไหลออก ไม่ใช่เรื่องใหม่ของประชาธิปัตย์ ตั้งแต่ตนอยู่พรรคมา 50 ปี มีเลือดไหลออกหลายครั้ง

แต่ครั้งนี้ที้ทำให้แฟนคลับอาจกังวลเพราะไหลไม่จบ ออกไปแล้วไม่จบกลับมาชักชวนคนที่อยู่ให้ออกไปด้วยเป็นระยะ จะด้วยสัมพันธ์ส่วนบุคคล หรือเป็นเจตนาที่จะใช้เป็นยุทธศาสตร์ในการใช้ทำลายความเชื่อถือของพรรคประชาธิปัตย์หรือไม่ จึงทำให้กองเชียร์ของพรรคหวั่นไหว แต่เชื่อว่าอีก 1-2 สัปดาห์ทุกอย่างจะจบ

ถามถึงสนามเลือกตั้งที่พรรคประชาธิปัตย์ต้องสู้กับคนคุ้นเคย นายบัญญัติ กล่าวว่า ตรงนี้ไม่ค่อยดี แต่จะทำอย่างไรได้เมื่อเกิดแล้วก็ต้องแก้ปัญหากันไป และไม่ใช่ครั้งแรกเกิดขึ้นมาหลายครั้งแล้ว ปรากฏว่าคนที่ออกไปท้ายที่สุดก็ไปไม่ไหวหลายพรรคก็หายไป แต่ประชาธิปัตย์ยังคงอยู่ ครั้งนี้ก็หวังว่าจะเป็นเช่นนั้น

“มั่นใจว่าเสียงตอบรับพรรคประชาธิปัตย์ของคนใต้ ดีขึ้น การเลือกตั้งครั้งที่แล้วที่พรรคเสียที่นั่งไปมากเพราะสถานการณ์พิเศษ คนกลัวระบอบทักษิณมาก เมื่อแกนนำพรรคลงพื้นที่หาเสียง ชาวบ้านพูดกับเราตรงๆว่าขอเลือกทหารเพื่อไปปราบระบอบทักษิณ ผมคิดว่าเราจะได้เพิ่มในหลายพื้นที่ที่เราเสียไป ทั้งในกทม. และภาคใต้ ” นายบัญญัติ กล่าว

นายบัญญัติ กล่าวว่า ส่วนผลสำรวจความเห็นของคนในภาคใต้ที่นายจุรินทร์ไม่ได้ติดอันดับต้นๆ นั้น ต้องยอมรับความจริงว่าในด้านการตลาดเราเป็นรอง การที่เราเจียมเนื้อเจียมตัวไม่ประกาศตั้งแต่ต้นว่าหัวหน้าพรรคเราพร้อมเป็นนายกรัฐมนตรี ปัจจัยนี้เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในเวลาที่โพลเขาถามว่าใครเหมาะจะเป็นนายกรัฐมนตรี และจนถึงตอนนี้เราไม่ได้พยายามถึงขนาดทะเยอทะยานจะเป็นนายกฯให้ได้ แต่พยายามเปรียบเทียบให้ชาวบ้านได้เห็นว่าคุณสมบัติของคนที่เป็นนายกรัฐมนตรีต้องมีคุณสมบัติประกอบด้วยอะไรบ้าง เพื่อให้ชาวบ้านเห็นว่าระหว่างคนของเรากับคนหลายพรรค ที่ บางคนอาจไม่อยู่ในวิสัยที่เป็นนายกรัฐมนตรีได้ เมื่อเปรียบเทียบแล้วทำให้เรามั่นใจว่านายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ไม่น่าจะเสียเปรียบใครอะไรเลย น่าจะมีคุณสมบัติโดดเด่นกว่าใครด้วย และมั่นใจว่านายจุรินทร์จะนำพาประชาธิปัตย์กลับมาสู่ยุคเฟื่องฟูได้และถือว่าที่ผ่านมา

"นายจุรินทร์ทำงานหนัก และประสบความสำเร็จ แต่นายจุรินทร์ มีข้อเสียคือการคร่ำเคร่งกับงานมากเกินไปไม่มีเวลาทำให้คนเห็นภาวะความเป็นจริงมากนัก และจากพฤติกรรมก้มหน้าก้มตาทำงานไม่สุงสิงกับใคร ก็เกิดมุกใหม่ว่านายจุรินทร์เป็นคนที่ไม่ค่อยมีเสน่ห์"

นายบัญญัติ ยังยอมรับเสียงวิจารณ์ที่ว่านายจุรินทร์ไม่สามารถดึงคนในพรรคไว้ได้ซึ่งอาจเป็นเพราะความเคร่งเครียด ของนักการเมืองที่มุ่งมั่นทำงานให้ประสบความสำเร็จไม่ใช่เรื่องที่น่ารังเกียจ แต่น่าชื่นชมและช่วงหลังนี้เข้าใจมากขึ้นความร่วมมือในพรรคก็มีมากขึ้น.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 34): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490

'กูรูใหญ่' แฉเบื้องลึก! ทำไมนักการเมืองยุคนี้ไม่กลัว 'ยึดอำนาจ'

นายไพศาล พืชมงคล นักกฎหมาย และอดีตกรรมการผู้ช่วยรองนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า การเมืองไทยกำลังเข้าสู่ทางตัน

ลุ้น! ผลนับคะแนนเลือกตั้ง นายกอบจ.ขอนแก่น มีร้องเรียนแล้ว 1 เรื่อง

ปิดหีบเลือกตั้ง นายก อบจ.ขอนแก่น แล้ว รอลุ้นใครได้เป็นพี่ใหญ่ท้องถิ่น ขณะที่ กกต.เผย รับเรื่องร้องเรียนแล้ว 1 เรื่องเกี่ยวกับการหาเสียงแบบผิดกฎหมายรอตรวจสอบตามขั้นตอน

เพจพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ปลื้ม ‘คนคุณภาพประชาธิปัตย์’ ได้เป็นขรก.การเมือง

เฟซบุ๊กเพจ พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความว่า ครม. เห็นชอบ แต่งตั้ง “คนคุณภาพประชาธิปัตย์” เป็นข้าราชการการเมือง สังกัด ทส. และ สธ.