1 มี.ค.2566 - นายวันชัย สอนศิริ สมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.) โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กว่า โหวตนายกฯที่ก้าวข้ามความขัดแย้ง
ผมได้ร่วมประชุมกับแกนนำคนสำคัญของส.ว.กลุ่มหนึ่งเมื่อเร็วๆนี้ ณ ที่แห่งหนึ่ง มีการปรึกษาหารือกันเกี่ยวกับการโหวตนายกฯ ได้ข้อสรุปร่วมกันว่า
1. ตามรัฐธรรมนูญเขาให้ส.ส.เป็นคนเสนอชื่อนายก ส.ว.เป็นเพียงคนโหวตสนับสนุนเท่านั้น ไม่มีสิทธิ์ไม่มีอำนาจเสนอนายกโดยตรง ดังนั้น เมื่อใครหรือพรรคใดรวมเสียงส.ส.ส่วนใหญ่ได้มากเกินกว่ากึ่งหนึ่งและเสนอใครเป็นนายก พวกเราก็จะโหวตให้กับคนๆนั้น
2. เป็นไปตามหลักของประชาธิปไตยและตามความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่
3. เป็นความถูกต้องและถูกใจของประชาชน
4. ลดความขัดแย้ง ไม่ก่อให้เกิดปัญหากับประเทศ
5. เป็นผลดีกับทุกฝ่าย ทั้งส.ส. ส.ว.และประชาชน
การโหวตให้กับใครหรือพรรคใดที่ได้เสียงข้างน้อยเป็นนายก จะก่อให้เกิดวิกฤตกับประเทศ ไม่เป็นผลดีกับฝ่ายใดเลย... นี่คือความชัดเจนและแนวทางของการสร้างความปรองดอง ก้าวข้ามความขัดแย้งได้จริง...
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'จิรายุ' ตีปาก 'สส.โรม' อย่าพูดให้ประเทศเสียหาย ปมยิงอดีต สส.ฝ่ายค้านกัมพูชา
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้รับรายงานจาก พลตำรวจเอก กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กรณีมีอดีต สส. ของกัมพูชา ถูกยิงเสียชีวิตในประเทศไทยแล้ว
นายกฯ ยันไร้แผนปรับครม. ตอนนี้พรรคร่วม-รมต.ไม่มีใครดื้อ ไม่เสียใจ 'ทักษิณ' พูดนำก่อน
น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงนโยบายปรับลดค่าไฟตรงนี้ถือเป็นหลักประกันเก้าอี้ของ นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงานด้วยหรือไม่ ว่า อันนี้ไม่ทราบเลยว่าทำไม
‘สรวงศ์’ โต้รัฐบาลรับลูกพ่อนายกฯ อ้างเป็นแค่วิสัยทัศน์อดีตผู้นำ
ทำเนียบรัฐบาล นายสรวงศ์ เทียนทอง รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา ในฐานะเลขาธิการพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร การกา
‘รังสิมันต์’ ตบหน้ารัฐบาลไร้ประสิทธิภาพช่วย 4 ประมงไทย
นายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชาย
ดร.ณัฏฐ์ ชี้ร่างแก้ไขรธน.เพิ่มหมวด 15/1 ตั้งสสร.ร่างรธน.ฉบับใหม่ มีผลเท่ากับยกเลิกรธน.ทั้งฉบับ
ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ ดร.ณัฏฐ์ นักกฎหมายมหาชน กล่าวถึงกรณีพรรคเพื่อไทยเตรียมขอมติจากที่ประชุม สส.ของพรรค เห็นชอบกับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ฝ่ายกฎหมายของพรรคจัดทำไว้เสนอประกบกับร่างของ
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 42)
ที่ผ่านมา ผู้เขียนได้แสดงให้เห็นถึงการปกครองภายใต้คณาธิปไตยสืบทอดอำนาจของคณะราษฎรตลอดระยะเวลา 13 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2476-2489